x close

เพจดังวิเคราะห์ รัฐสั่งปิดรถไฟฟ้าหนีม็อบ เสียหายแค่ไหน แล้วใครเป็นผู้รับผิดชอบ ?!


          เปิดบทวิเคราะห์ หลังรัฐบาลออกคำสั่งหยุดให้บริการชั่วคราวรถไฟฟ้า เพื่อสกัดการชุมนุม ชี้สร้างความเสียหายอย่างไม่สมควร และคนที่จะต้องรับผิดชอบก็ไม่ใช่ใครที่ไหน...

สั่งปิดรถไฟฟ้า

          จากกรณีเยาวชน เหล่านักศึกษา และประชาชนรวมตัวกันชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ซึ่งพบว่าต่อมาภาครัฐเริ่มมีการดำเนินการสั่งปิดให้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะ ทั้งรถไฟฟ้า BTS, MRT หรือกระทั่งรถเมล์ ซึ่งคาดว่าเหตุผลคือเพื่อสกัดกั้นไม่ให้สามารถเดินทางมาชุมนุมของมวลชนได้นั้น

สั่งปิดรถไฟฟ้า

          เกี่ยวกับเรื่องนี้ (18 ตุลาคม 2563) เฟซบุ๊ก Bangkokbusclub.com ชุมชนคนรักรถเมล์ ได้มีการโพสต์ข้อความวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ดังกล่าว กรณีที่รัฐบาลออกคำสั่งไม่ให้บริการชั่วคราวของรถไฟฟ้า รวมถึงรถเมล์ที่มีคำสั่งห้ามวิ่งในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร ของพื้นที่ชุมนุม จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง รวมถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อรถหยุดวิ่งชั่วคราว

          ทางเพจวิเคราะห์ว่า "การหยุดให้บริการ นั่นคือการหยุดรับรายได้จากผู้โดยสารที่ใช้บริการ แต่ต้นทุนคือ ค่าบริหาร ค่าจ้างพนักงาน ค่าไฟ ค่าเช่า ค่าซ่อมบำรุง เหล่านี้ยังคงดำเนินต่อไป (ค่าให้เช่าพื้นที่โฆษณาอาจเป็นรายได้ทางเดียว แต่ก็นั่นละ เปอร์เซ็นต์คงน้อยกว่ารายได้หลักจากค่าโดยสาร) มาวันนี้เราจึงเห็นว่า BTS MRT จึงเลือกปิดบางสถานีแทน คาดว่าเมื่อวาน (17 ตุลาคม) คงชัดแล้วว่า ขาดทุนย่อยยับเป็นอย่างไร

          จึงน่าแปลกใจสำหรับการออกคำสั่งโดยไม่คำนึงถึงต้นทุน และยังไม่ทราบสถานที่ชุมนุมที่แน่ชัด ทำให้เดือดร้อนถึงประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้อง ทางภาครัฐก็ออกมาย้ำว่า การทำลายระบบขนส่งมวลชนเป็นความผิดตามกฎหมาย ซึ่งที่จริงยังไม่เกิดขึ้น ภาครัฐเองที่สั่งปิดล่วงหน้าไปก่อน

สั่งปิดรถไฟฟ้า

          ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ดูโครงสร้างของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกันออกไป การรับภาระต้นทุนที่แตกต่างกัน คือ...

          BTS <- กทม. <- กระทรวงมหาดไทย
          MRT (BEM) <- รฟม.  <- กระทรวงคมนาคม
          ARL <- บ.รฟฟท. <- รฟท. <- กระทรวงคมนาคม
          ขสมก. <- กระทรวงคมนาคม

          ดังนั้น BTS กับ BEM น่าจะหนักสุด เพราะเป็นเอกชนถือสัมปทาน ที่จะต้องรับความเสี่ยงไป ผู้ซื้อหุ้นก็หนาว ๆ ร้อน ๆ ไป ยกเว้นรัฐจะชดเชยให้ภายหลัง

          ส่วนที่เหลือสบาย ๆ ขาดทุนก็นำภาษีประชาชนผ่านงบประมาณประจำปี หรือเงินกู้ค้ำโดยคลัง มาอุดความขาดทุนได้ (อุ้ย อุ้ยอุ้ยอุ้ยอุ้ย) ประเทศเราหนี้สาธารณะพุ่งสูงอยู่แล้วนะ"

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Bangkokbusclub.com ชุมชนคนรักรถเมล์


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เพจดังวิเคราะห์ รัฐสั่งปิดรถไฟฟ้าหนีม็อบ เสียหายแค่ไหน แล้วใครเป็นผู้รับผิดชอบ ?! อัปเดตล่าสุด 19 ตุลาคม 2563 เวลา 11:05:06 30,568 อ่าน
TOP