x close

ศอ.บต. หนุนปลูกพืชพลังงาน สู่ความต้องการตลาดโรงไฟฟ้าในพื้นที่

        ศอ.บต. สนับสนุนปลูกพืชพลังงาน สู่ความต้องการตลาดโรงไฟฟ้าในพื้นที่ หวังให้มีการใช้พื้นที่ว่างเปล่าสร้างรายได้
ปลูกพืชพลังงาน

         ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 เห็นชอบในหลักการตามกรอบแนวทางการดำเนินโครงการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยแนวทางการส่งเสริมเกษตรผสมผสานผ่านการปลูกไผ่เศรษฐกิจ พืชแห่งอนาคตจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และภาคีภาคเอกชนจากประเทศเกาหลีใต้ ร่วมลงนาม

         ขณะที่ จ.ยะลา นำร่องไปแล้วกว่า 5,000 ไร่ รวมทั้งวางแผนที่จะจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนโดยสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยระยะแรกทางภาครัฐจะเป็นผู้สนับสนุนเงินทุน ภายใต้ชื่อ "Yala Bamboo" เป้าหมายพื้นที่ปลูกไม่น้อยกว่า 300,000 ไร่ ในปี 2565 กรอบเวลาดำเนินการ 21 ปี เพื่อการสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และผลักดันให้เป็นพืชพลังงานส่งออกโดยการพัฒนาแปรรูปเป็น เชื้อเพลิงพลังงานชีวมวลอัดเม็ด

ปลูกพืชพลังงาน

          ด้านพลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรในพื้นที่ทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว จึงมีรายได้ในครัวเรือนไม่เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิก การส่งเสริมให้ประชาชนปลูกพืชพลังงานมีเป้าหมายให้ประชาชนมีรายได้ทุกวัน เพื่อแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมา ศอ.บต. ได้ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกกาแฟและเลี้ยงปูทะเล แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงคิดมองหาพืชเศรษฐกิจเพื่อนำมาปลูกในพื้นที่ว่างของสวนยาง ซึ่ง "ไผ่" เป็นพืชที่ตอบโจทย์พื้นที่และความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ศอ.บต. จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาการส่งเสริมการปลูกไผ่ ซึ่งจะเป็นพืชพลังงานเพื่อจำหน่ายแก่โรงไฟฟ้าที่ต้องการการใช้พลังงานและพร้อมรับซื้อพืชพลังงานจากประชาชน

          ทั้งนี้นอกจากตัดลำไผ่ส่งโรงไฟฟ้าแล้ว ชาวบ้านยังสามารถนำต้นไผ่มาแปรรูปเป็นสินค้าต่าง ๆ ตามความต้องการของตลาด เพื่อสร้างรายได้รายวัน ก่อนได้รับโบนัสรายปีในช่วงที่ตัดลำไผ่ส่งจำหน่ายแก่โรงไฟฟ้า ซึ่งรับซื้อประมาณตันละ 800 บาท อย่างไรก็ดีวันนี้เราจะเดินหน้าขับเคลื่อนการเพาะปลูกพืชพลังงานเต็มสูบ และหวังว่าภายภาคหน้า ภาคใต้ตอนล่างจะเป็นศูนย์ของฐานพลังงานชีวภาพ เอสเคิร์ฟ (S-Curve) ของประเทศไทย

ปลูกพืชพลังงาน

         อย่างไรก็ตาม ภายหลังสำรวจพบว่า มี โรงไฟฟ้าชีวมวลที่มีอยู่แล้วในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีจำนวน 16 โรง กำลังผลิตรวม 210 MW โรงไฟฟ้าเครื่องจักรใหม่จะใช้เชื้อเพลิงทั้งสิ้นประมาณ กว่า 2 ล้าน ตัน/ปี โรงไฟฟ้าราคาถูกจะใช้เชื้อเพลิงทั้งสิ้นประมาณกว่า 3 ล้าน ตัน/ปี  ถ้าปลูกไผ่แบบผสมผสานในพื้นที่ 1 ไร่ ในระยะเวลา 1 ปี จะได้ผลผลิตจากไผ่ 15,000 กิโลกรัม หรือเฉลี่ย 15 ตัน/ไร่/ปี ซึ่งปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าขนาด 10 MW โรงไฟฟ้าเครื่องจักรใหม่ ใช้เชื้อเพลิงไม่เกินวันละ 300 ตัน/วัน เท่ากับ 109,500 ตัน/ปี และโรงไฟฟ้าราคาถูกใช้เชื้อเพลิงไม่เกินวันละ 400-500 ตัน/วัน เท่ากับ 146,000-182,500 ตัน/ปี 

         จะเห็นว่า ความต้องการไม้ชีวมวลของภาคเอกชนเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อรองรับการขยายตัวของโรงงานไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 256.7 MW ทั้งนี้เพื่อมั่นคงทางพลังงานในพื้นที่และสร้างงาน สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ให้ดีขึ้น นำมาซึ่งความสันติสุขอย่างยั่งยืน

ปลูกพืชพลังงาน

ปลูกพืชพลังงาน

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ศอ.บต. หนุนปลูกพืชพลังงาน สู่ความต้องการตลาดโรงไฟฟ้าในพื้นที่ อัปเดตล่าสุด 20 ตุลาคม 2563 เวลา 12:08:56 2,524 อ่าน
TOP