x close

เมืองต้นแบบ สร้างงาน สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนชายแดนใต้

           การ "ยุติ" ปัญหาการก่อการร้าย ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้งบประมาณไปแล้วถึง 300,000 ล้านบาท ในการดับไฟใต้ แต่ก็ยังไม่สำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นการตัดสินใจใช้การ "พัฒนา" จึงเป็นทางออกในการ "ยุติ" ปัญหาไฟใต้ โดยมี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. เป็นหนึ่งฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อน เป็นหน่วยนำในการพัฒนา
เมืองต้นแบบ

           โดยทิศทางการพัฒนาของ ศอ.บต. ในปัจจุบันและในอนาคต คือ สร้างงาน สร้างรายได้ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนชายแดนใต้ให้ดีขึ้น  ผ่านนโยบายเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ และกระตุ้นให้เกิดการลงทุน รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียง

เมืองต้นแบบที่ 1 คือ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี "เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร"

เมืองต้นแบบ

           จุดเด่นของอำเภอหนองจิก คือ เป็นประตูเชื่อมสู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นชุมทางเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่ง มีผลิตผลทางการเกษตรจำนวนมาก เหมาะในการตั้งโรงงานเพื่อแปรรูปเพิ่มมูลค่า และพัฒนาการทำเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร
เมืองต้นแบบ

เมืองต้นแบบที่ 2 อ.เบตง จ.ยะลา "เมืองต้นแบบด้านการท่องเที่ยวและพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน"

เมืองต้นแบบ

           เบตงมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ปีละกว่า  3,000  ล้านบาท เพื่อขยายตัวของเศรษฐกิจในพื้นที่ จึงเกิดโครงการมากมายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เช่น โครงการสนามบินเบตง โครงการจุดชมวิวทะเลหมอกอัยเยอร์เวง หรือสกายวอล์ค โครงการชุมชนท่องเที่ยว เช่น บ่อน้ำร้อนนากอ
ชุมชนชาวจีนฮากกา ชุมชนเก่า 100 ปี เป็นต้น

           นายอารี หนูชูสุข  ปลัดองค์การบริหารส่วน ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา เล่าว่า "เบตง เป็นเมืองที่อยู่ในหุบเขา ธรรมชาติสวยงาม อาหารอร่อย ที่ผ่านมานักท่องเที่ยว ที่มาเบตง 70% เป็นชาวมาเลเซีย คนไทยหลายคนอยากมาแต่ติดปัญหาการเดินทาง เพราะเบตงอยู่ไกล สุดชายแดนไทย แต่ในอนาคต สนามบินเบตง เปิดให้บริการ นี่จะเป็นการปลดล็อdเลย เพราะการเดินทางจะสะดวกขึ้นและเชื่อว่าจะนำรายได้มาสู่ชาวเบตงเพิ่มขึ้น"

เมืองต้นแบบ

เมืองต้นแบบที่ 3 อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส "เมืองต้นแบบการค้าขายชายแดนระหว่างประเทศ"

เมืองต้นแบบ

           จะเน้นการพัฒนาศักยภาพของเมืองชายแดนไทยกับมาเลเซียในหลายมิติ เช่น การเปิดจุดให้บริการ One Stop Service ของด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการที่นำเข้าและส่งออกผ่านด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก แบบครบวงจร

           จากจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2559 ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาเมืองต้นแบบทั้ง 3 แห่ง ได้ก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ สร้างงาน สร้างรายได้  พัฒนาคุณภาพชีวิต ช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำคนชายแดนใต้ได้เป็นอย่างดี จึงนำมาสู่การต่อยอดพัฒนา เมืองต้นแบบที่ 4 โดยผลักดันให้ อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นศูนย์กลางระบบเศรษฐกิจแห่งใหม่ของภาคใต้ เป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต บนพื้นที่ 16,753 ไร่ ใน 3 ตำบลของ อ.จะนะ คือ นาทับ ตลิ่งชัน และสะกอม ใช้เงินลงทุนประมาณ 18,680 ล้านบาท เพื่อเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบด้วย พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ท่าเรือน้ำลึก ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้า มีโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด เช่น พลังงานลมและแสงอาทิตย์

เมืองต้นแบบ

           เมืองต้นแบบที่ 4  จะรองรับคนว่างงานกว่า 100,000 คน และผู้ที่จบการศึกษาปีละ 75,000 คน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ให้มีที่ยืน และเชื่อว่าจะเป็นประตูการส่งออกแห่งที่ 3 ที่จะสร้างความ "มั่งคั่ง" ให้กับประเทศชาติและสร้างความมั่นคงให้กับคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

สักริยา อะยามา ชาวบ้านตำบลนาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา บอกว่า นี่คือโอกาสของชาวบ้าน

เมืองต้นแบบ

มองเห็นโอกาสครั้งนี้นะครับว่าจะทำให้เด็ก ๆ เยาวชนที่เรียนจบ มีงานทำใกล้บ้าน พี่น้องชาวประมง จับปลามาได้ ก็ได้ขายราคาประมงที่ดีขึ้นเพราะว่าอะไรครับ
เพราะพี่น้องต่างถิ่นมาเยอะในบ้านเรา ทำให้เศรษฐกิจมันหมุนเวียน

           พล.ร.ต. สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เล่าถึงนโยบายการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ว่า "เมืองต้นแบบทั้ง 3 แห่งเดินหน้ามาแล้ว 4 ปี ตั้งแต่ปี 2559  ในการก้าวเดินในวันข้างหน้า เป้าหมายเราต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติคือ ขับเคลื่อนพาภาคใต้ทั้งหมดไปสู่ความมั่นคง ไปสู่ความมั่งคั่ง ไปสู่ความยั่งยืน เป้าหมายหลักของการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็คือต้องการที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจที่จะสร้างงาน สร้างอาชีพ แล้วก็กระจายรายได้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้"

           ศอ.บต. ได้ขับเคลื่อนและผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านนโยบายของรัฐบาลในโครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มีเป้าหมายสูงสุดที่จะพัฒนาและช่วยแก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้า สามารถทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเกิดความสันติสุขอย่างยั่งยืน

เมืองต้นแบบ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เมืองต้นแบบ สร้างงาน สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนชายแดนใต้ อัปเดตล่าสุด 26 ตุลาคม 2563 เวลา 16:23:16 5,187 อ่าน
TOP