พลิกปูมประวัติ อาจารย์ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศิลปินชื่อดังระดับโลก กับผลงานที่เคยถูกนำไปจัดแสดงมาแล้วที่ต่างประเทศ ชื่อเสียงโด่งดัง ก่อนที่คนจะรู้จักมากยิ่งขึ้นจากคลิปฉะคณบดี ปกป้องนักศึกษา และเสรีภาพของงานศิลป์
ภาพจาก ประชาคมมอชอ
จากเหตุดราม่าล่าสุด กรณีที่กลุ่มอาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดยคณบดี และรองคณบดี พร้อมกับเจ้าหน้าที่จากหอศิลป์ เอารถกระบะมาเก็บผลงานนักศึกษา โดยอ้างว่า นักศึกษากลุ่มดังกล่าวนำผลงานของตัวเองไปแสดงโชว์ในพื้นที่มหาวิทยาลัยโดยไม่ได้รับอนุญาต จนทำให้ ผศ.ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์จากคณะเดียวกัน ออกโรงปะทะแทนลูกศิษย์ จนกลายเป็นไวรัลดังที่คนสนใจในอาณาจักรทวิตเตอร์ #ทีมมช จนทำให้หลายคนเกิดความสงสัย และอยากรู้จักอาจารย์ทัศนัยผู้นี้ให้มากขึ้น
อ่านข่าว : ดราม่าอาจารย์ มช. ออกตัวไฝว้คณบดี ปมเก็บงาน นศ. ใส่ถุงดำ ฟาดใส่ เฮ้ย...อย่าปอด !
อ่านข่าว : ดราม่าอาจารย์ มช. ออกตัวไฝว้คณบดี ปมเก็บงาน นศ. ใส่ถุงดำ ฟาดใส่ เฮ้ย...อย่าปอด !
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thasnai Sethaseree
ประวัติทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาจารย์ทัศนัย เศรษฐเสรี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2511 ที่กรุงเทพมหานคร ประวัติการศึกษา จบปริญญาโทสาขา Visual Arts จากมหาวิทยาลัยชิคาโก (The University of Chicag) สหรัฐอเมริกา จากนั้นในปี พ.ศ. 2547 ได้ทำงานเป็นอาจารย์ ภาควิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน
ผลงานทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาจารย์ทัศนัย ถือเป็นศิลปินผู้หนึ่งที่มักจะสร้างผลงานที่ท้าทายความเป็นไปได้ใหม่ ๆ โดยใช้เทคนิคการเพนต์สีเพื่อสื่อความรู้สึก และสิ่งที่ต้องการสื่อสาร โดยเฉพาะทัศนคติทางสังคม ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่มีผลงานศิลปะออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่นในปี 2019 ได้แสดงนิทรรศการเดี่ยวที่ Yavuz Gallery ประเทศสิงคโปร์ ในผลงานชุด "Some Deaths Can’t Be Buried" เพื่อสะท้อนความคิดของตัวเองเรื่องการเมืองไทย โดยใช้การเพนต์สีสันสดใสสวยงาม แต่เบื้องหลังสะท้อนถึงความเจ็บปวดจากระบบการเมืองของไทย ที่ลดทอนคุณค่าในงานศิลป์ เชิดชูแต่เรื่องความรัก ความสามัคคี โดยไม่สนใจโครงสร้างของปัญหาที่เกิดขึ้น
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thasnai Sethaseree
นอกจากนี้ ผลงานของ อาจารย์ทัศนัย ยังเคยจัดแสดงที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน โดยเป็นภาพที่สื่อถึงการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง จนมีผู้เสียชีวิต 99 ศพ หรือแผนที่ท้องฟ้าในคืนวันรัฐประหาร 2564 อีกด้วย
โดยล่าสุด อาจารย์ทัศนัย อยู่ระหว่างการสร้างผลงานใหม่ที่มีความใหญ่โตจนต้องใช้โกดังสินค้าเป็นสตูดิโอ ที่มีชื่อว่า "Cold War : The Mysterious" ซึ่งเป็นผลงานสำรวจภาพกว้างยิ่งขึ้นของสงครามเย็น ที่ยังทิ้งผลร้ายตกค้างไว้ในปัจจุบัน โดยประเทศไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของมัน ไม่ได้พ้นห่างไปไหนไกลอย่างที่ใครอาจจะคิด โดยคาดว่าผลงานชิ้นนี้น่าจะเสร็จสมบูรณ์พร้อมแสดงในปี 2564
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thasnai Sethaseree
อาจารย์ทัศนัย ยืนยันว่า การที่จะมีกฎหมายมาควบคุมศิลปะ ต้องเป็นกฎหมายที่กว้างที่สุด ไม่ใช่กฎหมายที่แคบ เพราะไม่อย่างนั้น สังคมนั้นจะเป็นสังคมที่ล้าหลัง และไม่เชื่อว่าคนมีคุณค่าที่แตกต่างกัน ความคิดสร้างสรรค์ คือด่านแรกของนวัตกรรม และวิวัฒนาการของอารยธรรม หากความคิดสร้างสรรค์ถูกจำกัดด้วยคุณค่าอย่างใดอย่างหนึ่ง ความคิดสร้างสรรค์ก็จะไม่มีวันที่จะเจริญได้
คนที่ทำงานในด้านความคิดสร้างสรรค์ มักจะเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่จะสะท้อนปมปัญหาในสังคม หรือใช้ศิลปะสะท้อนชีวิตต่าง ๆ เสรีภาพในงานศิลป์ เกิดจากการที่คนมองว่า มนุษย์มีความเชื่อที่แตกต่างกัน ดังนั้น งานศิลป์ใด ๆ ไม่ควรถูกจำกัดด้วยคุณค่าแบบหนึ่งแบบใดได้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thasnai Sethaseree
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thasnai Sethaseree
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thasnai Sethaseree
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thasnai Sethaseree
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Thasnai Sethaseree