อุปนายกวิศวกรรมฯ เผยสาเหตุไฟไหม้บ้านในหมู่บ้านกฤษดานคร 31 ชี้หากมีเชื้อเพลิงเพิ่มความร้อน อุณหภูมิอาจสูงถึง 1,000 องศา แจงตามหลักของนิติวิศวกรรม ต้นตอการพังถล่มของตึกจะมีอยู่ 4 ข้อนี้

ภาพจาก สำนักข่าว INN
จากกรณีสลด ไฟไหม้บ้านในหมู่บ้านกฤษดานคร 31 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา ซึ่งกู้ภัยได้ระดมกำลังดับเพลิงจนไฟสงบ แต่ตัวบ้านเกิดพังถล่มทับชุดกู้ภัยขณะเข้าตรวจสอบภายในบ้าน จนเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ 5 ราย และบาดเจ็บ 6 รายนั้น
อ่านข่าว : เร่งตรวจกล้อง สืบต้นตอไฟไหม้บ้าน เอ มินเนี่ยน พบเคยถูกขู่วางเพลิง เซ่นติดป้ายการเมือง
![บ้าน เอ มินเนี่ยน พังถล่ม บ้าน เอ มินเนี่ยน พังถล่ม]()
ภาพจาก สำนักข่าว INN
วันที่ 4 เมษายน 2564 ข่าวช่องวัน รายงานว่า รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บ้านหลังนี้อายุ 10 ปี โดยส่วนตัวเชื่อว่า ตอนก่อสร้างมีการใช้วัสดุที่ได้มาตรฐาน แข็งแรง และทนไฟได้สูง แต่เมื่อเกิดเพลิงไหม้ โดยทั่วไปอุณหภูมิจะสูงประมาณ 500-600 องศาเซลเซียส หากภายในบ้านมีเชื้อเพลิงที่เพิ่มความร้อน เช่น สารเคมี หรือแอลกอฮอล์ อุณหภูมิก็อาจสูงถึง 900-1,000 องศาเซลเซียส ทำให้วัสดุต่าง ๆ จะรวมถึงโครงสร้างเสื่อมสภาพลงแทบจะทันที
รศ.สิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า ความร้อนทำให้โครงสร้างเหล็กภายในบ้านเกิดการหดตัว คล้ายกับการชักเย่อกันไป-มา ทุกอย่างจึงแยกออกจากกัน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้บ้านทั้งหลังถล่ม ส่วนคอนกรีตมีความแข็งแรงก็จริง แต่เมื่อโดนความร้อนสูงอย่างต่อเนื่อง ก็มีความเปราะบาง หากมีการแตกหักที่จุดใดจุดหนึ่ง ก็จะนำไปสู่การถล่มลงมาทั้งหมดทันที โดยหลังจากนี้ วสท. จะทำการถอดบทเรียน นำแบบของบ้านหลังนี้มาหาจุดอ่อน แล้วนำข้อมูลไปบอกต่อกับทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ
ขณะที่นายพรเลิศ เพ็ญพาส ผู้อำนวยการเขตทวีวัฒนา เปิดเผยว่า จะดำเนินการเก็บกู้เศษซากทั้งหมดออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุด สำหรับบ้านหลังนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2554 สร้างเสร็จเป็น 3 ชั้นตามคำขอ ซึ่งผ่านมาแล้ว 10 ปี หลังจากนี้จะต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่า มีการต่อเติมผิดไปจากแบบในตอนแรกหรือไม่ คาดว่าจะตรวจสอบเสร็จภายในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ตัวแทนจากสภาวิศวกร เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ทางสภาวิศกร จะลงพื้นที่มาตรวจสอบจุดเกิดเหตุ อย่างไรก็ตามตามหลักของนิติวิศวกรรม ต้นตอการพังถล่มของตึกจะมีอยู่ 4 ข้อ ดังนี้
1. ออกแบบผิดหรือไม่
2. ก่อสร้างตามแบบหรือไม่
3. ออกแบบถูก ก่อสร้างถูก แต่เปลี่ยนจากบ้านพักอาศัย กลายมาเป็นสำนักงาน จนทำให้น้ำหนักเกินกำหนดหรือไม่
4. ภัยธรรมชาติ
ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่องวัน

ภาพจาก สำนักข่าว INN
จากกรณีสลด ไฟไหม้บ้านในหมู่บ้านกฤษดานคร 31 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา ซึ่งกู้ภัยได้ระดมกำลังดับเพลิงจนไฟสงบ แต่ตัวบ้านเกิดพังถล่มทับชุดกู้ภัยขณะเข้าตรวจสอบภายในบ้าน จนเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ 5 ราย และบาดเจ็บ 6 รายนั้น
อ่านข่าว : เร่งตรวจกล้อง สืบต้นตอไฟไหม้บ้าน เอ มินเนี่ยน พบเคยถูกขู่วางเพลิง เซ่นติดป้ายการเมือง

ภาพจาก สำนักข่าว INN
วันที่ 4 เมษายน 2564 ข่าวช่องวัน รายงานว่า รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บ้านหลังนี้อายุ 10 ปี โดยส่วนตัวเชื่อว่า ตอนก่อสร้างมีการใช้วัสดุที่ได้มาตรฐาน แข็งแรง และทนไฟได้สูง แต่เมื่อเกิดเพลิงไหม้ โดยทั่วไปอุณหภูมิจะสูงประมาณ 500-600 องศาเซลเซียส หากภายในบ้านมีเชื้อเพลิงที่เพิ่มความร้อน เช่น สารเคมี หรือแอลกอฮอล์ อุณหภูมิก็อาจสูงถึง 900-1,000 องศาเซลเซียส ทำให้วัสดุต่าง ๆ จะรวมถึงโครงสร้างเสื่อมสภาพลงแทบจะทันที
รศ.สิริวัฒน์ กล่าวต่อว่า ความร้อนทำให้โครงสร้างเหล็กภายในบ้านเกิดการหดตัว คล้ายกับการชักเย่อกันไป-มา ทุกอย่างจึงแยกออกจากกัน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้บ้านทั้งหลังถล่ม ส่วนคอนกรีตมีความแข็งแรงก็จริง แต่เมื่อโดนความร้อนสูงอย่างต่อเนื่อง ก็มีความเปราะบาง หากมีการแตกหักที่จุดใดจุดหนึ่ง ก็จะนำไปสู่การถล่มลงมาทั้งหมดทันที โดยหลังจากนี้ วสท. จะทำการถอดบทเรียน นำแบบของบ้านหลังนี้มาหาจุดอ่อน แล้วนำข้อมูลไปบอกต่อกับทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ
ขณะที่นายพรเลิศ เพ็ญพาส ผู้อำนวยการเขตทวีวัฒนา เปิดเผยว่า จะดำเนินการเก็บกู้เศษซากทั้งหมดออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุด สำหรับบ้านหลังนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2554 สร้างเสร็จเป็น 3 ชั้นตามคำขอ ซึ่งผ่านมาแล้ว 10 ปี หลังจากนี้จะต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่า มีการต่อเติมผิดไปจากแบบในตอนแรกหรือไม่ คาดว่าจะตรวจสอบเสร็จภายในสัปดาห์หน้า
ทั้งนี้ตัวแทนจากสภาวิศวกร เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ทางสภาวิศกร จะลงพื้นที่มาตรวจสอบจุดเกิดเหตุ อย่างไรก็ตามตามหลักของนิติวิศวกรรม ต้นตอการพังถล่มของตึกจะมีอยู่ 4 ข้อ ดังนี้
1. ออกแบบผิดหรือไม่
2. ก่อสร้างตามแบบหรือไม่
3. ออกแบบถูก ก่อสร้างถูก แต่เปลี่ยนจากบ้านพักอาศัย กลายมาเป็นสำนักงาน จนทำให้น้ำหนักเกินกำหนดหรือไม่
4. ภัยธรรมชาติ
ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่องวัน