เผยความเข้มข้นของสารสไตรีนในอากาศ หลังเกิดเหตุโรงงานหมิงตี้เคมีคอลไฟไหม้ พบในระยะ 1-5 กิโลเมตร ค่ายังสูงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แบบนี้คนกิ่งแก้วจะสามารถกลับบ้านได้ตอนไหน
ภาพจาก Lillian SUWANRUMPHA / AFP
จากกรณี เกิดเหตุเพลิงไหม้ บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด เป็นโรงงานเม็ดโฟมและพลาสติกขนาดใหญ่ ในซอยกิ่งแก้ว 21 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ก่อให้เกิดแรงระเบิดเป็นระยะ มีไฟลุกโชนอย่างรุนแรง ควันไฟโหมกระหน่ำจนต้องสั่งอพยพคนในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร เนื่องจากควันไฟมีสารเคมีปนเปื้อนด้วย และแม้ว่าเพลิงจะสงบลงแล้ว แต่ประชาชนยังไม่สามารถกลับบ้านได้
อ่านข่าว : ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว 6 ก.ค. 64 ล่าสุดจบแล้ว คุมเพลิงได้-ยังห้ามกลับบ้าน
อ่านข่าว : ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว 6 ก.ค. 64 ล่าสุดจบแล้ว คุมเพลิงได้-ยังห้ามกลับบ้าน
ล่าสุด (6 กรกฎาคม 2564) กรมควบคุมมลพิษ คำนวณค่าความเข้มข้นของสารสไตรีน โดยใช้ Box Model ซึ่งใช้ข้อมูลอัตราการระบายจากแหล่งกำเนิด มาประมวลผลร่วมกับสภาพอุตุนิยมวิทยาของพื้นที่ โดยคำนวณจากรัศมี ใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ 1 กิโลเมตร, 3 กิโลเมตร และ 5 กิโลเมตร ซึ่งจากการคำนวณจะได้ค่าความเข้มข้นของสารสไตรีน ดังนี้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมควบคุมมลพิษ
รัศมี 3 กิโลเมตร มีค่า 86.43 ppm
รัศมี 5 กิโลเมตร มีค่า 51.77 ppm
ทั้งนี้ ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง ค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลัน กำหนดค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลันของสารสไตรีนไว้ 3 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 มีค่า 20 ppm ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีในบรรยากาศ ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
ระดับที่ 2 มีค่า 130 ppm ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีในบรรยากาศ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไม่ร้ายแรง
ระดับที่ 3 มีค่า 1,100 ppm ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีในบรรยากาศ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง แต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต
นั่นแสดงว่า ในระยะ 1 กิโลเมตร ค่าความเข้มข้นของเคมีในบรรยากาศยังมีอยู่มาก และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ส่วนในระยะ 3 และ 5 กิโลเมตร ถือว่ายังมีความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศอยู่เช่นกัน ดังนั้นแนะนำว่า คนที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร อย่าเพิ่งรีบกลับบ้าน แนะนำให้รอฟังประกาศจากทางการก่อน
2 อาจารย์ดังเผย ข้อปฏิบัติของคนในพื้นที่ แนะใช้หน้ากาก N95-อย่าเพิ่งกลับบ้าน
ด้าน รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อ.อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า เหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้มีสารปนเปื้อนไปกับฝุ่นละอองสีดำที่กระจายไปในหลายพื้นที่ เป็นสารอันตรายและเป็นสารก่อมะเร็ง ขณะนี้กรมควบคุมมลพิษกำลังมอนิเตอร์อย่างต่อเนื่อง หากความเข้มข้นของสารเคมีโดยเฉพาะสารสไตรีนอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยคือ ระดับ 1 จึงจะสามารถประกาศให้ประชาชนกลับเข้าที่พักได้
ภาพจาก Lillian SUWANRUMPHA / AFP
ขณะที่ รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ อ.เจษฎ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ว่าในสถานการณ์ที่มีสารพิษปนเปื้อนมากับอากาศแบบนี้ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือหน้ากาก N95 ก็ไม่สามารถกรองไอระเหยสารเคมี ต้องใช้หน้ากากสำหรับป้องกันสารเคมีโดยเฉพาะเท่านั้น และเครื่องฟอกอากาศในบ้านก็ใช้กรองสารเคมีไม่ได้เช่นกัน จึงควรอพยพไปที่อื่นชั่วคราวเป็นการดีที่สุดครับ
ภาพจาก Lillian SUWANRUMPHA / AFP
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมมลพิษ, Thai PBS, เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant