ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้ จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นจนวิกฤต ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะขาดแคลนเตียงและโรงพยาบาลสำหรับรองรับผู้ป่วย ประชาชนจำนวนมากจึงไม่สามารถเข้าถึงการตรวจหาเชื้อ การรักษาที่ทันท่วงที จนเกิดเป็นความสูญเสียที่น่าเศร้า หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ จึงเร่งร่วมมือกันสนับสนุนและสร้างโรงพยาบาลสนามขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยในประเทศได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุด
และล่าสุดประเทศไทยได้มีจุดตรวจคัดกรองและโรงพยาบาลสนามแบบครบวงจร (End-to-End) โดย กลุ่ม ปตท. ถือเป็นต้นแบบที่ภาคธุรกิจจับมือกับภาครัฐในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แบบครบวงจร เราจึงอยากจะขอพาไปทำความรู้จักกับโครงการนี้กันให้มากขึ้น พร้อมแนะนำขั้นตอนในการเข้ารับการรักษาที่นี่ ต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันเลย
หน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End) ภายใต้ “โครงการลมหายใจเดียวกัน”
หน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End) เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการลมหายใจเดียวกัน” โดย กลุ่ม ปตท. ที่ต้องการสนับสนุนการแก้ปัญหาวิกฤตโควิด-19 ให้ความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินไปข้างหน้าได้พร้อม ๆ กัน ซึ่งที่ผ่านมาได้ใช้งบประมาณช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ไปแล้วกว่า 1,700 ล้านบาท อาทิ
- มอบเครื่องช่วยหายใจ เครื่องให้ออกซิเจนอัตราไหล สูงกว่า 400 เครื่อง พร้อมสนับสนุนออกซิเจนเหลวให้แก่โรงพยาบาลในพื้นที่วิกฤตและมีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อใช้ในการรักษาอาการผู้ป่วยโควิด-19 กว่า 300 แห่งทั่วประเทศ
- สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 7 แห่ง
- จัดหน่วยวัคซีนเคลื่อนที่เชิงรุกใน 4 พื้นที่เปราะบางและมีความเสี่ยงสูง ร่วมกับ กทม.
- เดินหน้าโครงการ Restart Thailand เพิ่มอัตราการจ้างงานไปแล้วกว่า 25,000 อัตรา
แต่เพราะสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันมีประชาชนยังคงรอความช่วยเหลืออีกเป็นจำนวนมาก กลุ่ม ปตท. จึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มูลนิธิโรงพยาบาลในเครือบางปะกอกฯ และโรงพยาบาลปิยะเวท จัดตั้ง “หน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End)” ขึ้นมาเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อจำนวนมากที่ยังคงรอการรักษา ลดการเสียชีวิต และหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อให้เร็วที่สุด เน้น “ตรวจเร็ว แยกเร็ว รักษาเร็ว” ซึ่งจะเป็นการตรวจรักษาแบบครบวงจรแห่งแรกของประเทศด้วย
ขั้นตอนเข้ารักษาที่หน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End)
จุดที่ 1 : หน่วยคัดกรอง โครงการลมหายใจเดียวกัน
จุดคัดกรองสำหรับกลุ่มเสี่ยง ตั้งอยู่ที่อาคาร EnCo Terminal หรือ EnTer ของบริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด กลุ่ม ปตท. ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ สามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้
- ลงทะเบียนจองคิวล่วงหน้า ผ่าน Application QueQ จำนวน 1,500-2,000 คนต่อวัน ไม่รับ Walk-in (Link ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Android และ iOS)
- เลือกเมนู “บริการสาธารณะ”
- เลือกสถานที่ “โครงการลมหายใจเดียวกัน หน่วยตรวจคัดกรอง”
- กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- เลือกจองวัน-เวลาที่ต้องการ โดยจะมีวันที่ระบุล่วงหน้า 1 วัน ตั้งแต่เวลา 08.00-14.00 น.
- Capture ถ่ายภาพหน้าจอสรุปวัน-เวลาจอง เก็บไว้เพื่อแสดงกับเจ้าหน้าที่
- ลงทะเบียนเพิ่มเติมตามคำแนะนำ และจดเลข 4 หลักไว้กรอกในวันจริง
- เริ่มต้นตรวจโดยใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit รอผล 30 นาที
- ถ้าผลเป็นลบ สามารถกลับบ้านได้เลย
- ถ้าผลเป็นบวก จะต้องตรวจ RT-PCR และ X-Ray ปอดต่อไป
- ผู้ป่วยในระดับสีเขียวที่สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นที่บ้านหรือในชุมชนได้ (Home Isolation) จะได้รับ “กล่องพลังใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน” ที่มีชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาฟาวิพิราเวียร์ และระบบติดตามอาการ ให้กลับไปรักษาตัวที่บ้าน
กล่องพลังใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน
หากผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อแล้วไม่สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ หรือเข้าข่ายระดับเหลืองและแดง จะถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสนามครบวงจร ที่สามารถรองรับการรักษาได้ทุกระดับความรุนแรง ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลปิยะเวท และมีความพร้อมด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากการระดมกำลังกันของกลุ่ม ปตท. เช่น
-
ปตท.สผ. สนับสนุนหุ่นยนต์ “CARA” ส่งอุปกรณ์ อาหาร แก่ผู้ป่วย และหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรค “Xterlizer UV Robot” เครื่องฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติด้วยแสงยูวี (UV)
-
GC สนับสนุนผลิตภัณฑ์นวัตกรรม อาทิ หมวกอัดอากาศความดันบวก PAPR ชุดป้องกันการติดเชื้อ PE Gown และชุดตรวจคัดกรอง Rapid Test
-
IRPC คิดค้นนวัตกรรมช่วยเหลือผู้ป่วย อาทิ เตียงสนามพลาสติกสำหรับผู้ป่วยสีเหลืองที่สามารถรองรับน้ำหนักได้สูง ชุดป้องกันการติดเชื้อ Cover All เพื่อความปลอดภัยของบุคลากร อุปกรณ์พลาสติก ๆ อาทิ ช้อน ส้อม ถังขยะ ถังขยะอันตราย กล่องอเนกประสงค์
-
ThaiOil สนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งเดินทางดูแลผู้ป่วยและบุคลากร
-
GPSC สนับสนุนชุดตรวจ Antigen Rapid Test นวัตกรรมภายใต้ความร่วมมือระหว่าง GPSC กับ สวทช.
-
OR สนับสนุนการดูแลบุคลากรทางการแพทย์ด้วยเครื่องดื่มจาก Café Amazon น้ำดื่มจิฟฟี่ รวมถึงหน้ากากอนามัยทางการแพทย์
-
EnCo สนับสนุนพื้นที่และการจัดการพื้นที่ อาคาร EnCo Terminal หรือ Enter ของ กลุ่ม ปตท. ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ เป็นหน่วยคัดกรองโควิด-19
-
PTT Digital Solution สนับสนุนระบบดิจิทัลสำหรับลงทะเบียน ณ หน่วยคัดกรองโควิด-19
-
BSA บริหารระบบการตรวจคัดกรองโควิด-19
จุดที่ 2 : โรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยระดับ “สีเขียว”
เปิดให้บริการในรูปแบบของ Hospitel กระจายไปในหลายโรงแรมทั่วกรุงเทพฯ มีจำนวนกว่า 1,000 เตียง สามารถรองรับผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากหน่วยคัดกรองได้อย่างเป็นระบบ
จุดที่ 3 : โรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยระดับ “สีเหลือง”
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการในระดับหนักขึ้น มีจำนวน 300 เตียง ในพื้นที่กรุงเทพฯ
จุดที่ 4 : โรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยระดับ “สีแดง”
ขอบคุณข้อมูลจาก
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)