กระทรวงกลาโหม ยัน ตรวจสอบ GT200 งบ 7.5 ล้าน จำเป็นต้องทำเพราะเป็นสาระสำคัญของคดีในการเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย เป็นการรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
จากกรณีกระแสข่าวที่กองทัพบกทำสัญญาจ้างมูลค่า 7.5 ล้านบาทให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ไปตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 จำนวน 757 เครื่อง ตกเครื่องละ 10,000 บาท นั้น รศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นคนที่คัดค้านเรื่อง GT200 มาโดยตลอด ได้ออกมาระบุว่านอกจากหงุดหงิดกองทัพบกที่ถูกหลอกครั้งแล้วครั้งเล่าไม่เคยจำ ยังมาเสียงบประมาณให้กับเครื่องลวงโลกอีก ก็ยังหงุดหงิดกับองค์กรอย่าง สวทช. ที่มีคนจบ ดร. เป็นพันคน ไปรับเรื่องนี้กับเขาได้ยังไง
อ่านข่าว : แฉกองทัพผลาญงบ 7.5 ล้าน แงะเครื่อง GT200 - อ.เจษฎ์ จัดใหญ่ ไม้ล้างป่าช้ายังหากินได้ถึงปัจจุบัน
ล่าสุด (3 มิถุนายน 2565) เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า พล.อ. คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม
เปิดเผยกับทีมข่าวช่อง 3
ว่าทราบเรื่องจากกองทัพบกที่ตั้งงบประมาณไว้เนื่องจากเป็นไปตามคดีอาญา
ที่ทางกองทัพบกฟ้องบริษัทผู้ขายและพวก รวม 5 คน ฐานร่วมกันโกง
ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตัดสินชี้มูลมาแล้วว่าจำเลยมีความผิดปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
ขณะเดียวคดีในทางปกครองนั้น ศาลปกครองได้สั่งให้ผู้ขายชำระหนี้ให้กับกองทัพบกเป็นเงินกว่า 683,000,000 บาท แต่เมื่อต่อมา ทางบริษัทได้ยื่นอุทรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นว่า การตรวจเครื่อง GT200 ที่ไม่สามารถใช้งานได้ทุกเครื่อง ทั้ง 757 เครื่อง เป็นสาระสำคัญของคดี จึงมีความจำเป็นให้กองทัพบกตรวจสอบทุกเครื่องว่าใช้งานได้หรือไม่
ทั้งนี้ให้ตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญมีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบ ทั้งการวัดวัตถุไฟฟ้าสถิต การแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การวัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง การวิเคราะห์ผลรวมถึงการผ่าพิสูจน์ตัวเครื่อง กองทัพบกจึงได้ดำเนินการจ้างไปที่ สวทช. ตามที่เสนอราคามา โดยในปี 2564 ใช้งบประมาณประมาณ 3.2 ล้านบาท และในปี 2565 อีก 4.37 ล้านบาท เป็นการทยอยตรวจสอบ
พล.อ. คงชีพ ยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมดนั้นเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศไม่ให้เสียหายในการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ส่วนฝ่ายการเมืองที่มองว่าไม่จำเป็นต้องตรวจสอบเพราะไม่มีประโยชน์นั้น หากเราจะต้องเรียกค่าเสียหายซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุด มีความเห็นเช่นนี้ เราก็ต้องดำเนินการเพราะสาระสำคัญของคดี คือต้องตรวจเครื่องว่าไม่สามารถใช้งานได้ทุกเครื่อง ดังนั้นการที่เราจะได้เงินค่าเสียหาย เราจึงต้องทำตามขั้นตอนตามคำแนะนำของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
อ่านข่าว : แฉกองทัพผลาญงบ 7.5 ล้าน แงะเครื่อง GT200 - อ.เจษฎ์ จัดใหญ่ ไม้ล้างป่าช้ายังหากินได้ถึงปัจจุบัน
ขณะเดียวคดีในทางปกครองนั้น ศาลปกครองได้สั่งให้ผู้ขายชำระหนี้ให้กับกองทัพบกเป็นเงินกว่า 683,000,000 บาท แต่เมื่อต่อมา ทางบริษัทได้ยื่นอุทรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นว่า การตรวจเครื่อง GT200 ที่ไม่สามารถใช้งานได้ทุกเครื่อง ทั้ง 757 เครื่อง เป็นสาระสำคัญของคดี จึงมีความจำเป็นให้กองทัพบกตรวจสอบทุกเครื่องว่าใช้งานได้หรือไม่
ทั้งนี้ให้ตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญมีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบ ทั้งการวัดวัตถุไฟฟ้าสถิต การแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การวัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง การวิเคราะห์ผลรวมถึงการผ่าพิสูจน์ตัวเครื่อง กองทัพบกจึงได้ดำเนินการจ้างไปที่ สวทช. ตามที่เสนอราคามา โดยในปี 2564 ใช้งบประมาณประมาณ 3.2 ล้านบาท และในปี 2565 อีก 4.37 ล้านบาท เป็นการทยอยตรวจสอบ
พล.อ. คงชีพ ยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมดนั้นเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศไม่ให้เสียหายในการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ส่วนฝ่ายการเมืองที่มองว่าไม่จำเป็นต้องตรวจสอบเพราะไม่มีประโยชน์นั้น หากเราจะต้องเรียกค่าเสียหายซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุด มีความเห็นเช่นนี้ เราก็ต้องดำเนินการเพราะสาระสำคัญของคดี คือต้องตรวจเครื่องว่าไม่สามารถใช้งานได้ทุกเครื่อง ดังนั้นการที่เราจะได้เงินค่าเสียหาย เราจึงต้องทำตามขั้นตอนตามคำแนะนำของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว