อธิบดีกรมทางหลวง เผยสาเหตุไม่ปิดถนนที่ซ่อมแซม ทำไมไม่ให้ใช้ทางเบี่ยง จนคานสะพานถล่มทับรถยนต์ประชาชน อุบัติเหตุสลดเสียชีวิต 2 คน ยอมรับผิดว่าประมาทจริง
จากอุบัติเหตุ สะพานกลับรถหน้าโรงพยาบาลวิภาราม กม.ที่ 34 ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่อยู่ระหว่างปิดซ่อมบำรุง พังถล่มลงมาทับรถยนต์ที่สัญจรบนถนนพระราม 2 ช่องทางด่วน ขาเข้ากรุงเทพฯ รถยนต์ได้รับความเสียหายหลายคัน มีผู้บาดเจ็บหลายคนและเสียชีวิต 2 คน เหตุเกิดคืนวันที่ 31 กรกฎาคม 2565
อ่านข่าว : เปิดนาที สะพานกลับรถถล่ม แผ่นปูน 5 ตัน ร่วงทับรถถนนพระราม 2 ดับ 2 ญาติเดือด !
อ่านข่าว : อธิบดีทางหลวง ยกมือไหว้ขอโทษผู้สูญเสีย เหตุสะพานกลับรถถล่ม รับประมาทเอง
วันที่ 2 สิงหาคม 2565 รายการข่าว 3 มิติ รายงานว่า สะพานนี้เริ่มซ่อมแซมตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 จากที่ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2536 จนถึงขณะนี้อายุเกือบ 30 ปีแล้ว ผ่านสมรภูมิการใช้งานมานาน จากการรองรับรถที่สัญจร และเคยเกิดเหตุการณ์สำคัญคือ เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกเชื้อเพลิงไฟไหม้บริเวณด้านล่าง ประกายไฟเผาทำลายด้านบนของสะพาน โดยขณะนั้นมีการตรวจสอบแล้วยืนยันว่า สามารถซ่อมและใช้งานต่อไปได้
โดยการซ่อมแซมครั้งนี้ทำอยู่ 2 ส่วน ในส่วนของฝั่งขาออก ซ่อมบำรุงเสร็จแล้ว แต่ส่วนที่มีอุบัติเหตุเป็นฝั่งขาเข้า ยังซ่อมแซมไม่เสร็จ ปัญหาคือ คานของสะพานมีอยู่ 5 ตัว คานตัวที่ 5 เกิดการทรุดตัวและพังลงมาทับรถยนต์ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า คานตัวนี้อาจรับน้ำหนักพื้นที่ที่กำลังเตรียมจะเทปูนไม่ไหว จึงพังลงมา และสาเหตุที่ 2 คือ การชำรุดและการเสื่อมสภาพของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มานาน
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง ชี้แจงเหตุผลที่ไม่ปิดกั้นเส้นทางระหว่างซ่อมแซม ระบุว่า บริเวณใต้พื้นสะพานถูกวางและตีด้วยไม้อัด เพื่อรองรับปูนเก่าและปูนใหม่ที่จะร่วงลงมา จะตกลงที่แผ่นไม้ที่ตีไว้เป็นพื้นด้านล่าง ทำให้ไม่ปิดการสัญจรบริเวณนี้ เช่นเดียวกับเหตุผลที่ไม่กั้นรถให้ไปใช้ทางเบี่ยง เพราะมีไม้ดังกล่าวรองรับใต้คานไว้ แต่ทว่า อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่ใช่แผ่นปูนที่จะร่วงลงมาบนแผ่นไม้อัด แต่เป็นคานสะพานซึ่งอยู่รอบนอกและเป็นตัวที่รับน้ำหนักสะพาน
การสันนิษฐานเบื้องต้น คาดว่าเมื่อเจ้าหน้าที่รื้อพื้นสะพานกลับรถอันเก่าออก เพื่อเตรียมจะเทปูนใหม่ อาจกระทบกับคานทั้ง 5 ตัว ที่เคยรับน้ำหนักร่วมกับแผ่นปูน และยิ่งมีฝนตกหนักช่วงที่มีการซ่อมแซมด้วย อาจกระทบกับคานปูนได้ เฉพาะตัวคานสะพาน มีน้ำหนัก 14 ตัน เมื่อรวมกับแผ่นพื้นและขอบปูน มีน้ำหนักราว 25 ตัน
โดยอธิบดีกรมทางหลวง ยอมรับในรายการโหนกระแสว่า เป็นความประมาทของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีการปิดกั้นการจราจร ต่อไปไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเล็กหรือซ่อมใหญ่ จะต้องไม่ให้มีรถสัญจรอยู่ใต้บริเวณที่ซ่อมแซมก่อสร้าง
สำหรับสะพานที่กำลังซ่อมแซมนี้ ดำเนินการโดยศูนย์สร้างและบูรณะที่ 3 ซึ่งกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการ ด้วยงบประมาณ 3 ล้านบาท ดำเนินการระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน 2565 กำหนดแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2565 แต่เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้นเสียก่อน
ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าว3มิติ
จากอุบัติเหตุ สะพานกลับรถหน้าโรงพยาบาลวิภาราม กม.ที่ 34 ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่อยู่ระหว่างปิดซ่อมบำรุง พังถล่มลงมาทับรถยนต์ที่สัญจรบนถนนพระราม 2 ช่องทางด่วน ขาเข้ากรุงเทพฯ รถยนต์ได้รับความเสียหายหลายคัน มีผู้บาดเจ็บหลายคนและเสียชีวิต 2 คน เหตุเกิดคืนวันที่ 31 กรกฎาคม 2565
อ่านข่าว : เปิดนาที สะพานกลับรถถล่ม แผ่นปูน 5 ตัน ร่วงทับรถถนนพระราม 2 ดับ 2 ญาติเดือด !
อ่านข่าว : อธิบดีทางหลวง ยกมือไหว้ขอโทษผู้สูญเสีย เหตุสะพานกลับรถถล่ม รับประมาทเอง
วันที่ 2 สิงหาคม 2565 รายการข่าว 3 มิติ รายงานว่า สะพานนี้เริ่มซ่อมแซมตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 จากที่ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2536 จนถึงขณะนี้อายุเกือบ 30 ปีแล้ว ผ่านสมรภูมิการใช้งานมานาน จากการรองรับรถที่สัญจร และเคยเกิดเหตุการณ์สำคัญคือ เกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกเชื้อเพลิงไฟไหม้บริเวณด้านล่าง ประกายไฟเผาทำลายด้านบนของสะพาน โดยขณะนั้นมีการตรวจสอบแล้วยืนยันว่า สามารถซ่อมและใช้งานต่อไปได้
โดยการซ่อมแซมครั้งนี้ทำอยู่ 2 ส่วน ในส่วนของฝั่งขาออก ซ่อมบำรุงเสร็จแล้ว แต่ส่วนที่มีอุบัติเหตุเป็นฝั่งขาเข้า ยังซ่อมแซมไม่เสร็จ ปัญหาคือ คานของสะพานมีอยู่ 5 ตัว คานตัวที่ 5 เกิดการทรุดตัวและพังลงมาทับรถยนต์ จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า คานตัวนี้อาจรับน้ำหนักพื้นที่ที่กำลังเตรียมจะเทปูนไม่ไหว จึงพังลงมา และสาเหตุที่ 2 คือ การชำรุดและการเสื่อมสภาพของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มานาน
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง ชี้แจงเหตุผลที่ไม่ปิดกั้นเส้นทางระหว่างซ่อมแซม ระบุว่า บริเวณใต้พื้นสะพานถูกวางและตีด้วยไม้อัด เพื่อรองรับปูนเก่าและปูนใหม่ที่จะร่วงลงมา จะตกลงที่แผ่นไม้ที่ตีไว้เป็นพื้นด้านล่าง ทำให้ไม่ปิดการสัญจรบริเวณนี้ เช่นเดียวกับเหตุผลที่ไม่กั้นรถให้ไปใช้ทางเบี่ยง เพราะมีไม้ดังกล่าวรองรับใต้คานไว้ แต่ทว่า อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่ใช่แผ่นปูนที่จะร่วงลงมาบนแผ่นไม้อัด แต่เป็นคานสะพานซึ่งอยู่รอบนอกและเป็นตัวที่รับน้ำหนักสะพาน
การสันนิษฐานเบื้องต้น คาดว่าเมื่อเจ้าหน้าที่รื้อพื้นสะพานกลับรถอันเก่าออก เพื่อเตรียมจะเทปูนใหม่ อาจกระทบกับคานทั้ง 5 ตัว ที่เคยรับน้ำหนักร่วมกับแผ่นปูน และยิ่งมีฝนตกหนักช่วงที่มีการซ่อมแซมด้วย อาจกระทบกับคานปูนได้ เฉพาะตัวคานสะพาน มีน้ำหนัก 14 ตัน เมื่อรวมกับแผ่นพื้นและขอบปูน มีน้ำหนักราว 25 ตัน
โดยอธิบดีกรมทางหลวง ยอมรับในรายการโหนกระแสว่า เป็นความประมาทของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีการปิดกั้นการจราจร ต่อไปไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเล็กหรือซ่อมใหญ่ จะต้องไม่ให้มีรถสัญจรอยู่ใต้บริเวณที่ซ่อมแซมก่อสร้าง
สำหรับสะพานที่กำลังซ่อมแซมนี้ ดำเนินการโดยศูนย์สร้างและบูรณะที่ 3 ซึ่งกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการ ด้วยงบประมาณ 3 ล้านบาท ดำเนินการระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน 2565 กำหนดแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2565 แต่เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้นเสียก่อน
ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าว3มิติ