เพจ Darth Prin ยกเคสน้องบาส พลเมืองดีช่วยนักเรียนไฟดูดจมน้ำท่วม อธิบายตามหลักไม่ควรลุยช่วยคนไฟดูดจมน้ำ เผยอันตรายมาก แนะควรทำวิธีนี้แทน…

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Olivia Chloe
จากกรณีเกิดเหตุการณ์นักเรียนหลายรายใน จ.อุดรธานี ประสบเหตุไฟฟ้ารั่วขณะฝนตกน้ำท่วม ทำให้ถูกไฟฟ้าดูดจนล้มหมดสติ แต่ทั้งหมดไม่มีใครเสียชีวิต เนื่องจากได้รับการช่วยเหลือจากพลเมืองดีได้ทัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเหตุการณ์ของน้องโซดา ที่ถูกช่วยโดยน้องบาส หนุ่มในชุดกันฝนสีม่วง ที่ช่วยเหลือจนตัวเองก็ได้รับบาดเจ็บจากการถูกไฟดูดด้วยเช่นกัน
อ่านข่าว : ระทึก ! คนโดนไฟดูดกลางน้ำท่วม นอนล้มติดเสาไฟ พลเมืองดีลุยน้ำเร่งช่วย !
อ่านข่าว : น้องบาส เล่านาทีวัดใจช่วยเด็กถูกไฟดูด ยังไงก็จะช่วย อึ้งต้นตอไฟรั่วสูงถึง 9 แอมแปร์
อ่านข่าว : ระทึก ! คนโดนไฟดูดกลางน้ำท่วม นอนล้มติดเสาไฟ พลเมืองดีลุยน้ำเร่งช่วย !
อ่านข่าว : น้องบาส เล่านาทีวัดใจช่วยเด็กถูกไฟดูด ยังไงก็จะช่วย อึ้งต้นตอไฟรั่วสูงถึง 9 แอมแปร์

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Olivia Chloe
เกี่ยวกับเรื่องนี้ (18 กันยายน 2565) เพจเฟซบุ๊ก Darth Prin ได้มีการโพสต์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ยืนยันว่าการช่วยเหลือคนถูกไฟดูดที่น้องบาสทำนั้น เป็นเรื่องที่ไม่สมควร ไม่แนะนำให้ทำแบบนั้น เพราะการลงไปช่วยคนที่ถูกไฟดูดในน้ำควรต้องเป็นคนที่เชี่ยวชาญจริง ๆ ไม่เช่นนั้นคนที่ลงไปช่วยอาจจะกลายเป็นผู้ประสบภัยเพิ่มแทน แต่กรณีของน้องบาสนั้นถือว่าเป็นความโชคดีที่ไม่ได้รับอันตรายมาก
โดยระบุว่า ขออธิบายในแบบวงจรไฟฟ้าให้ดูว่าน้องบาสโชคดีขนาดไหน จากการลงไปช่วยคนโดนไฟดูดจมน้ำ ซึ่งอธิบายประกอบภาพคือ R1 ให้เป็นความต้านทานไฟฟ้าของกระแสที่ผ่านน้ำไปในทิศทางอื่น ความต้านทานจากน้ำถึงตัวคนคือ R2 และความต้านทานไฟฟ้าผ่านตัวคนคือ R3
คนนอนราบ จะเป็นสะพานไฟฟ้าชั้นดี กระแสไฟวิ่งผ่านตัวคนดีกว่าน้ำ นั่นคือ เคส Electric Shock Drowning ESD (คนถูกไฟช็อตจมน้ำ) ยังไม่ล้มคือพอประคองตัว ถ้าล้มก็คือเกม ถ้าซวยยังไง ก็พยายามล้มขวางทิศทางกระแส อย่าล้มเข้าหาแหล่งไฟ
การก้าวเท้ายาวสั้น มีผลต่อปริมาณกระแสไฟเช่นกัน เพราะเราคือสะพานไฟ คือทางด่วนของไฟฟ้า ยิ่งก้าวยาว ก็เป็นช่องทางให้ไฟฟ้าเดินทางผ่านได้มากขึ้น จังหวะการแตะตัวเพื่อช่วย วัตถุที่เข้าไปแตะตัวผู้ประสบภัยคือสะพานไฟ แตะปุ๊บเรากระตุกปั๊บ ถ้าเราล้มลงไป จากที่เหมือนจะทนไฟดูดได้ เราจะเป็นเหยื่อคนที่สอง
ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ลุยน้ำเข้าไปช่วยคนโดนไฟดูดในน้ำ นอกจากคุณจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ คนทั่วไปควรถือหลักการ Reach Throw Row but Don't go into water คือ หาของยื่นให้ โยนให้ หรือพายเรือเข้าหา ซึ่งระยะปลอดภัยคือ 100 เมตร แน่นอน จริง ๆ ถ้าเป็นน้ำจืด และเป็นไฟ Low volt ระยะอันตรายอาจแค่ 10 เมตร แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำมันเป็นน้ำจืด ไม่ใช่น้ำเสียมีเกลือมีเคมีปน หรือนั่นเป็นไฟ 220 ไม่ใช่ไฟแรงดันสูง ทางที่ดีคือควรป้องกันไม่ให้มีเหยื่อไปเพิ่มในน้ำ ไม่ลงไปเป็นผู้ประสบภัยเสียเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Darth Prin