อ.อ๊อด เผย สารเคมีรั่วไหลนครปฐม คือสารอะไร ชี้ผลเสียอันตรายกว่าที่คิด เพียงแค่ 1% ก็สามารถทำลายสี หมึก กาวได้ ส่วนสาเหตุที่สารเคมีลอยไปไกลจากนครชัยศรีถึงปิ่นเกล้า รวม 20 กิโลเมตร เป็นเพราะน้ำหนักเบา
ภาพจาก เที่ยงวันทันเหตุการณ์
จากกรณีที่โรงงานผลิตเส้นใยพลาสติก ในพื้นที่ ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีสารเคมีรั่วไหลส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว ที่น่าห่วงคือ ยังไม่สามารถระบุได้ว่า สารเคมีที่รั่วไหลดังกล่าวคือสารเคมีอะไร มีอันตรายต่อประชาชนรอบพื้นที่มากน้อยแค่ไหน รู้แค่ว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรง ถึงแม้จะปิดรอยรั่วแล้ว แต่กลิ่นเหม็นก็ยังกระจายเป็นวงกว้าง
อ่านข่าว : ด่วน ! สารเคมีรั่วไหล โรงงานพุทธมณฑลสาย 7 กลิ่นฟุ้งรุนแรง โรงเรียนดังสั่งปิดเรียนทันที
อ่านข่าว : ด่วน ! สารเคมีรั่วไหล โรงงานพุทธมณฑลสาย 7 กลิ่นฟุ้งรุนแรง โรงเรียนดังสั่งปิดเรียนทันที
ล่าสุด วันที่ 22 กันยายน 2565 เฟซบุ๊ก Weerachai Phutdhawong ของนายวีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการโพสต์ถึงสารเคมีดังกล่าวว่า ตอนนี้ทราบแล้วว่า สารที่รั่วไหลคือสารกลุ่ม Aromatic Benzene ที่ใช้ในการทำพลาสติก จึงคาดว่า สารนั้นคือ Toluene (โทลูอีน)
นอกจากนี้ อ.อ๊อด ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า โทลูอีน มีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างคล้ายเบนซีน (Benzene) เป็นพิษคล้ายกัน แต่อ่อนกว่าเบนซีน จึงมักถูกนำมาใช้แทนในการผลิต รูปลักษณ์ภายนอกของมันเป็นของเหลวใส มีกลิ่นคล้ายเบนซีน ไวไฟเหมือนกัน และเป็นส่วนประกอบหนึ่งในน้ำมันเบนซินด้วย
ความแรงของโทลูอีน รุนแรงมาก เพราะเป็นสารตั้งต้นหลายอย่าง
ความแรงโทลูอีน 1 เปอร์เซ็นต์ สามารถทำลายสี หมึก กาว หรือใช้เป็นสารสำหรับชะล้าง ดังนั้นในอุตสาหกรรมจะมีการใช้โทลูอีนเป็นสารตั้งต้นสำหรับสังเคราะห์สารอื่น ๆ มากมาย เช่น ใช้ทำโฟม, สังเคราะห์ผ้าสีย้อม, ผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง, ทำลายพยาธิปากขอ
ส่วนผลเสียต่อสุขภาพคือ ถ้าหากสูดดมนาน ๆ หรือเข้าผิวหนัง จะทำลายระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การดมกาว ส่วนปัญหาระยะยาวคือ มีผลต่อไขกระดูกและโลหิต อาจเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดและเกิดการกลายพันธุ์ได้
ถ้าหากสูดดมในระยะสั้น ๆ แบบไอระเหยจาง ๆ ก็ทำให้อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ความจำเสื่อม และในเยื่ออาหาร ถ้าหากสูดเข้าไปนิดเดียว แต่ถ้าไอเข้มข้นมากก็ทำให้วิงเวียน หมดสติ และอาจตายได้เพราะหายใจไม่ออก ซึ่งคนสูบบุหรี่กับเป็นพิษสุราเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงต่อพิษโทลูอีนมากกว่าคนทั่วไป
ส่วนผิวหนัง ถ้าถูกโทลูอีนเป็นเวลานาน ซ้ำ ๆ ที่เดิม ก็จะเป็นแผลอักเสบ เพราะโทลูอีนละลายไขมันตามธรรมชาติบนผิวหนัง และในที่ทำงานไม่ควรปล่อยให้มีโทลูอีนระเหยฟุ้งกระจาย ต้องระบายอาการให้บริสุทธิ์เสมอ ถ้าทำโทลูอีนหกก็ใช้ทรายซับ และเก็บในถังมิดชิด นำไปเผาทิ้งในที่ปลอดภัย แต่ก็อย่าลืมว่า โทลูอีนไวไฟ ต้องระวังไม่ให้มีการจุดไฟหรือมีประกายไฟในพื้นที่ใกล้เคียง
กลิ่นสารลอยไปไกลจากนครชัยศรีไปถึงปิ่นเกล้า
ภาพจาก เที่ยงวันทันเหตุการณ์
ไทยพีบีเอส รายงานว่า สำนักสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ 5-6 ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานดังกล่าว ซึ่งทางบริษัทแจ้งว่า เกิดเหตุรั่วไหลของน้ำมันถ่ายเทความร้อนตอน 06.15 น. แต่กลิ่นส่งผลกระทบในวงกว้าง และผลการตรวจสอบออกมาว่า มีการรั่วไหลของสารเคมี ชนิดไบฟีนิล และไดฟีนิลออกไซด์ 75% สารกลุ่มอะโรมาติกเบนซีน ปริมาณสารที่รั่ว 30 ลิตร แต่สารมีน้ำหนักเบา จึงลอยไปได้ไกล
ส่วนจุดเกิดเหตุอยู่บริเวณโรงกลั่นพลาสติก แพลนท์ 2 สามารถปิดวาว์ลที่รั่วได้แล้ว พบว่า สารดังกล่าวเป็น hotoil downterm DT1 เป็นสารแลกเปลี่ยนความร้อนของระบบหล่อเย็น (cooling) ผลกระทบในกรณีที่สูดดมเอาไอระเหยเข้าไป จะทำให้เกิดการระคายต่อเนื้อเยื่อในจมูก ทางเดินหายใจ
บริษัท ยินดีเยียวยาผู้เสียหาย
นางประไพ ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยรองประธานฝ่ายบริหารโรงงาน อินโดรามา โพลิเอสเตอร์ อินดัสตรี จำกัด เปิดเผยว่า จะเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ พร้อมแสดงความเสียใจขอโทษกับอุบัติเหตุครั้งนี้ ไม่มีเจตนาทำให้เกิดขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก เที่ยงวันทันเหตุการณ์, ไทยพีบีเอส