x close

บันทึกเรื่องราวลมหายใจเดียวกัน ผ่าน E-Book ย้อนดูพลังใจของคนไทย ฝ่าวิกฤตโควิด-19

เพราะวิกฤตโควิด-19 ไม่ได้เป็นเพียงแค่โรคระบาด แต่ได้ทิ้งบทเรียนไว้ให้เราหลายอย่าง ทำให้ตระหนักรู้ถึงน้ำใจของคนไทยที่ร่วมด้วยช่วยกันฝ่าฟันสถานการณ์ลำบากมาได้ภายใต้ลมหายใจเดียวกัน

ลมหายใจเดียวกัน

ภาพจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

เมื่อก่อน “โควิด-19” เป็นไวรัสที่แทบจะไม่มีใครรู้จัก แต่ทุกวันนี้เมื่อทุกคนได้สัมผัสกับวิกฤตอันแสนจะโหดร้ายที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสนี้กันถ้วนหน้า เกิดความสูญเสียและความเสียหายมากมาย จนเรียกได้ว่าจดจำอย่างไม่มีวันลืม และแม้จะบอบช้ำ เจ็บป่วยกันทั้งร่างกายและจิตใจ แต่เหนือสิ่งอื่นใดหลังจากผ่านพ้นมาได้ ทำให้ทุกคนรู้ว่าคนไทยร่วมมือร่วมใจสานต่อน้ำใจและช่วยเหลือกันมามากขนาดไหน จนทำให้เราพ้นจากสถานการณ์โรคระบาด และหนึ่งในนั้นคือ โครงการลมหายใจเดียวกัน โดย กลุ่ม ปตท. ที่อยู่สู้เคียงข้างคนไทยมาตั้งแต่การระบาดระลอกแรก ๆ ซึ่งเราจะพาไปย้อนดูกันว่า จากความตั้งใจที่จะช่วยเหลือคนไทยตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการระบาดมาจนถึงในวันที่สถานการณ์คลี่คลาย ก่อเกิดเป็นความประทับใจที่เราร่วมใจสู้ด้วยลมหายใจเดียวกันมาอย่างไรบ้าง

ล็อกดาวน์ครั้งที่ 1 กับการเริ่มต้นสนับสนุนอุปกรณ์สู้โควิด-19

ตั้งแต่ในช่วงการระบาดเมื่อต้นปี 2563 เกิดการล็อกดาวน์ครั้งแรกในประเทศไทย ประชาชนหวั่นวิตกกับความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทางกลุ่ม ปตท. ได้เริ่มต้นสนับสนุนสิ่งของและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับต่อสู้กับโควิด-19 ที่กำลังขาดแคลนและเป็นของหายากมาก ๆ ในช่วงนั้น ให้กับประชาชนและโรงพยาบาลต่าง ๆ เช่น แอลกอฮอล์ทำความสะอาด, อุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ, Face Shield, อุปกรณ์สำหรับผลิตหมวกอัดอากาศ (PAPR) เป็นต้น

ลมหายใจเดียวกัน

ภาพจาก : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ลมหายใจเดียวกัน

ภาพจาก : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

การระบาดจากคลัสเตอร์ใหญ่ สู่การติดเชื้อที่กระจายไปทั่วประเทศ

ดูเหมือนสถานการณ์เริ่มดีขึ้น แต่ก็กลับเกิดคลัสเตอร์สถานบันเทิง ทำให้มีผู้ติดเชื้อมากขึ้น ในตอนนั้น ทางกลุ่ม ปตท. ได้ต่อยอดความช่วยเหลือด้วยการมอบเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยวิกฤต (ICU Ventilator), เครื่องออกซิเจนอัตราไหลสูง (High-flow Nasal Oxygen) และร่วมให้บริการฉีดวัคซีนในพื้นที่กรุงเทพฯ

ลมหายใจเดียวกัน

ภาพจาก : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

จุดเริ่มต้นของโครงการ ลมหายใจเดียวกัน
เมื่อการระบาดยังคงทวีความรุนแรง

ด้วยความที่จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ป่วยที่มีอาการหนักก็มีจำนวนมากขึ้น ทางกลุ่ม ปตท. จึงตัดสินใจก่อตั้งโครงการลมหายใจเดียวกันเพื่อเร่งช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยมีหน่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ พร้อมโรงพยาบาลสนามครบวงจร (End-to-End) ณ อาคาร EnCo Terminal โดยจัดสรรเตียงรักษาสำหรับผู้ป่วยทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ เขียว เหลือง แดง ตลอดจนบริการ “กล่องพลังใจ” บรรจุยาและของใช้จำเป็นให้ผู้ป่วยที่รักษาตัวแบบ Home Isolation พร้อมบริการสายด่วน End-to-End 1745 คอยช่วยเหลือและประสานงานตลอดเวลา เพื่อดูแลประชาชนตั้งแต่เริ่มต้นจนวิกฤตสุดท้าย

ลมหายใจเดียวกัน

ภาพจาก : บันทึกเรื่องราว ลมหายใจเดียวกัน

ลมหายใจเดียวกัน

ภาพจาก : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ลมหายใจเดียวกัน

ภาพจาก : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ลมหายใจเดียวกัน

ภาพจาก : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ลมหายใจเดียวกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

นอกจากจะมีหน่วยคัดกรอง โรงพยาบาลสนาม อุปกรณ์ดูแลผู้ติดเชื้อ ทางกลุ่ม ปตท. ยังเร่งหาและส่งมอบเครื่องช่วยหายใจให้กับโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเครื่องให้ออกซิเจนอัตราไหลสูง สนับสนุนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการปฏิบัติงานทางการแพทย์ ส่วนในภาคประชาชนทั่วไป คนไม่ได้ติดเชื้อก็ได้ลดและตรึงราคาขายปลีกก๊าซ NGV และลดราคาก๊าซหุงต้มให้กับผู้มีรายได้น้อยอีกด้วย

ดูแลอย่างครบวงจร วางแผนและนำ Crisis Management
ภายในองค์กรมาปรับใช้กับโครงการ

ทั้งการวิเคราะห์สถานการณ์ วางแผนการจัดการที่เป็นระบบ และลงมือทำทันที พร้อมมีการประเมินผลเป็นระยะ เพื่อดูแลประชาชนทุกคนอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างโรคไตเรื้อรังที่ต้องฟอกไตทุกวัน หญิงตั้งครรภ์ ไปจนถึงผู้มีโรคประจำตัวอื่น ๆ

ผนึกกำลังกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

โครงการลมหายใจเดียวกันเป็นโครงการที่หลอมรวมหัวใจอาสาสมัครด่านหน้าและด่านหลังเพื่อช่วยเหลือคนไทย ไม่ว่าจะภาครัฐ เอกชน พร้อมด้วยกองหนุนที่ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ เต็มกำลังที่มี นับเป็นความร่วมมือของภาคเอกชนและภาครัฐแบบครบวงจรแห่งแรกของประเทศ

โควิด-19 ยังไม่จบ และพลังใจคนไทยก็ยังไม่เหือดหายเช่นกัน

ทุกวันนี้เรายังต้องใช้ชีวิตร่วมกับไวรัสตัวร้าย และยังไม่มีใครรู้ว่าสถานการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร ทางกลุ่ม ปตท. ก็ยังคงหาเครื่องมือทางการแพทย์อย่างเครื่องช่วยหายใจ เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันต่ำ เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลใช้ในการดูแลผู้ป่วยต่อไปอย่างต่อเนื่อง และยังคงอยู่เคียงข้างคนไทยทุกคนด้วยลมหายใจเดียวกัน

และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราวดี ๆ จากโครงการลมหายใจเดียวกัน ที่ได้สร้างพลังแรง พลังใจ หลอมรวมคนไทยช่วยกันฝ่าวิกฤตโควิด-19 จนผ่านพ้นไปได้ แม้จะเกิดความสูญเสีย แต่ก็ยังรู้ว่าคนไทยจะไม่ทอดทิ้งกันไม่ว่าในสถานการณ์ไหน และเชื่อเลยว่าหากได้อ่าน “E-Book บันทึกเรื่องราวลมหายใจเดียวกัน” จะยิ่งตระหนักรู้ถึงพลังน้ำใจของคนไทยยิ่งขึ้น โดยหากใครสนใจสามารถเข้ามาอ่านกันได้ที่ https://bit.ly/3CC9Ct1 หรือสแกน QR Code ด้านล่างได้เลยค่ะ

ลมหายใจเดียวกัน

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
บันทึกเรื่องราวลมหายใจเดียวกัน ผ่าน E-Book ย้อนดูพลังใจของคนไทย ฝ่าวิกฤตโควิด-19 อัปเดตล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08:42:43 1,802 อ่าน
TOP