ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ พูดถึงดราม่าน้ำปลาร้า ชี้เรื่องนี้ พิมรี่พาย ไม่ผิด ในมุมความพึงพอใจของลูกค้า ไม่ชอบก็ไม่สั่งต่อ
ภาพจาก ทนายคู่ใจ
จากกรณีเจ้าของโรงงานน้ำปลาร้าชื่อดังในภาคอีสาน ออกมาบอกว่าโดนพิมรี่พายโกง เนื่องจากโรงงานลงทุนเงินไปเป็นจำนวนมาก ทั้งสร้างโรงงานและส่งน้ำปลาร้าให้ แต่พอผลิตออกมาแล้วพิมรี่พายไม่เอา จนติดหนี้ติดสิน ซ้ำยังมีประเด็นเรื่องการสวมฉลากสินค้า โดยนำฉลากที่พิมรี่พายเป็นคนออก ระบุว่าผลิตสินค้าที่โรงงานของทั้งคู่ ไปสวมให้โรงงานอื่น ทำให้มีกระแสดราม่าถล่มพิมรี่พายนั้น
อ่านข่าว : เจ้าของโรงงาน งัดหลักฐานโดนพิมรี่พาย สวมสลากปลาร้า ชี้มีคนเจอแล้ว ฝาชี้ชัด
ภาพจาก ทนายคู่ใจ
ล่าสุด (11 กรกฎาคม 2566) ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยมีการหยิบยกคลิปที่คุณกบไปออกรายการ คุยทะลุดราม่า มาพูดถึง เนื่องจากในช่วงหนึ่งได้มีชายหนุ่มต่อสายตรงเข้ามาคุยกับคุณกบในรายการ ซึ่งทั้งคู่เคยทำงานและเคยไปค้ำประกันรถเบนซ์ด้วยกันมาก่อน
ต่อมามีปัญหาเรื่องรถจนเป็นคดีความ ทำให้ไม่ได้ทำงานด้วยกันต่อ ต้องรับผิดชอบกันเป็นเงินหลักล้าน แต่คดีนี้ไม่เกี่ยวกับดราม่าน้ำปลาร้า ซึ่งทางทนายก็ไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องมาเถียงกันในรายการ
ภาพจาก ทนายคู่ใจ
ทนายรณณรงค์ กล่าวต่อว่า มุมหนึ่งที่ผู้ชายคนนั้นพยายามจะพูด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญแต่ไม่ได้พูดในรายการเลย โดยเรื่องนั้นคือ ชายคนดังกล่าวกำลังจะบอกว่า ในการที่จะไปรับทำออร์เดอร์เป็นร้อยล้านขวด กำลังตลาดซื้อในประเทศไทย เขาประเมินได้ว่ามันรับได้ขนาดไหน รับได้ประมาณกี่เดือน เป็นสินค้าฉาบฉวยขึ้นมาตามกระแสหรือไม่
หนุ่มคนดังกล่าวพูดเอาไว้น่าสนใจว่า อย่างแรกเรื่องการสวมฉลากสินค้ามันไม่สามารถทำได้ เพราะแต่ละโรงงานตรวจสอบย้อนกลับได้หมด จึงมองว่าทำไม่ได้ ซึ่งไม่ได้พูดในรายการ เพราะโดนเถียงเรื่องรถเบนซ์ก่อน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พิมรี่พายขายทุกอย่าง
แก่นของเรื่องอยู่ตรงที่มีการประเมินว่า พิมรี่พายไปสั่งออร์เดอร์หลายโรงงานเพื่อจะมาผลิต เพราะเป็นช่วงที่กำลังขาขึ้น ขายอะไรก็ขายดีและต้องการสินค้าเดี๋ยวนั้น ซึ่งในการผลิตน้ำปลาร้าไม่ได้สต็อกของไว้ พิมรี่พายจะเอาออร์เดอร์เป็นสิบล้านขวด จึงต้องไปสั่งหลาย ๆ โรงงานให้ผลิตพร้อม ๆ กัน เพื่อเอามาส่ง
ครั้นจะไปรอคุณกบสร้างโรงงานเสร็จ มันไม่ทันคนขายของ นี่คือมุมของแม่ค้าออนไลน์ที่จะมาหาซื้อปลาร้าไปขาย ต่อให้บอกว่ามีออร์เดอร์ 26 ล้านขวด แต่ให้ไปแกะสูตรจากโรงงานเจ้าหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ต้นฉบับของโรงงานคุณกบ และหนุ่มคนนั้นก็บอกในฐานะเซลส์ว่ามันไม่สามารถก๊อบปี้ได้ 100% เต็มที่คือ 95% เพราะเครื่องจักรไม่เหมือนกัน ยังไงรสชาติก็ต่างกัน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พิมรี่พายขายทุกอย่าง
ฉะนั้นการจะให้โรงงานคุณกบไปก๊อบปี้โรงงานที่พิมรี่พายเอาเป็นต้นฉบับ ยังไงก็ทำได้ไม่ 100% เพราะมันทำคนละแบบ เทออกมาสีต่างกัน รสชาติต่างกัน ถ้ามองในมุมที่ว่าเป็นความพอใจ ทนายรณณรงค์คิดว่าพิมรี่พายไม่ผิดเลย ไม่พอใจก็ไม่สั่งต่อ ถ้าจะบอกว่าผิดเดี๋ยวต้องไปว่ากันว่าแต่ละคนมีหลักฐานอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ ทนายรณณรงค์จับใจความได้คือ เป็นความพึงพอใจของพิมรี่พายที่ไม่เอาน้ำปลาร้า ส่วนที่ว่าลิ้นดีหรือไม่ดี ก็ดูจากปริมาณที่พิมรี่พายขายของก็แล้วกัน พร้อมแนะโรงงานว่า วิธีหนึ่งที่จะไม่โดนโกงคือ การเก็บมัดจำ หรือเงินมาของไป
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ทนายคู่ใจ
ภาพจาก ทนายคู่ใจ
จากกรณีเจ้าของโรงงานน้ำปลาร้าชื่อดังในภาคอีสาน ออกมาบอกว่าโดนพิมรี่พายโกง เนื่องจากโรงงานลงทุนเงินไปเป็นจำนวนมาก ทั้งสร้างโรงงานและส่งน้ำปลาร้าให้ แต่พอผลิตออกมาแล้วพิมรี่พายไม่เอา จนติดหนี้ติดสิน ซ้ำยังมีประเด็นเรื่องการสวมฉลากสินค้า โดยนำฉลากที่พิมรี่พายเป็นคนออก ระบุว่าผลิตสินค้าที่โรงงานของทั้งคู่ ไปสวมให้โรงงานอื่น ทำให้มีกระแสดราม่าถล่มพิมรี่พายนั้น
อ่านข่าว : เจ้าของโรงงาน งัดหลักฐานโดนพิมรี่พาย สวมสลากปลาร้า ชี้มีคนเจอแล้ว ฝาชี้ชัด
ภาพจาก ทนายคู่ใจ
ล่าสุด (11 กรกฎาคม 2566) ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยมีการหยิบยกคลิปที่คุณกบไปออกรายการ คุยทะลุดราม่า มาพูดถึง เนื่องจากในช่วงหนึ่งได้มีชายหนุ่มต่อสายตรงเข้ามาคุยกับคุณกบในรายการ ซึ่งทั้งคู่เคยทำงานและเคยไปค้ำประกันรถเบนซ์ด้วยกันมาก่อน
ต่อมามีปัญหาเรื่องรถจนเป็นคดีความ ทำให้ไม่ได้ทำงานด้วยกันต่อ ต้องรับผิดชอบกันเป็นเงินหลักล้าน แต่คดีนี้ไม่เกี่ยวกับดราม่าน้ำปลาร้า ซึ่งทางทนายก็ไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องมาเถียงกันในรายการ
ภาพจาก ทนายคู่ใจ
ทนายรณณรงค์ กล่าวต่อว่า มุมหนึ่งที่ผู้ชายคนนั้นพยายามจะพูด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญแต่ไม่ได้พูดในรายการเลย โดยเรื่องนั้นคือ ชายคนดังกล่าวกำลังจะบอกว่า ในการที่จะไปรับทำออร์เดอร์เป็นร้อยล้านขวด กำลังตลาดซื้อในประเทศไทย เขาประเมินได้ว่ามันรับได้ขนาดไหน รับได้ประมาณกี่เดือน เป็นสินค้าฉาบฉวยขึ้นมาตามกระแสหรือไม่
หนุ่มคนดังกล่าวพูดเอาไว้น่าสนใจว่า อย่างแรกเรื่องการสวมฉลากสินค้ามันไม่สามารถทำได้ เพราะแต่ละโรงงานตรวจสอบย้อนกลับได้หมด จึงมองว่าทำไม่ได้ ซึ่งไม่ได้พูดในรายการ เพราะโดนเถียงเรื่องรถเบนซ์ก่อน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พิมรี่พายขายทุกอย่าง
แก่นของเรื่องอยู่ตรงที่มีการประเมินว่า พิมรี่พายไปสั่งออร์เดอร์หลายโรงงานเพื่อจะมาผลิต เพราะเป็นช่วงที่กำลังขาขึ้น ขายอะไรก็ขายดีและต้องการสินค้าเดี๋ยวนั้น ซึ่งในการผลิตน้ำปลาร้าไม่ได้สต็อกของไว้ พิมรี่พายจะเอาออร์เดอร์เป็นสิบล้านขวด จึงต้องไปสั่งหลาย ๆ โรงงานให้ผลิตพร้อม ๆ กัน เพื่อเอามาส่ง
ครั้นจะไปรอคุณกบสร้างโรงงานเสร็จ มันไม่ทันคนขายของ นี่คือมุมของแม่ค้าออนไลน์ที่จะมาหาซื้อปลาร้าไปขาย ต่อให้บอกว่ามีออร์เดอร์ 26 ล้านขวด แต่ให้ไปแกะสูตรจากโรงงานเจ้าหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ต้นฉบับของโรงงานคุณกบ และหนุ่มคนนั้นก็บอกในฐานะเซลส์ว่ามันไม่สามารถก๊อบปี้ได้ 100% เต็มที่คือ 95% เพราะเครื่องจักรไม่เหมือนกัน ยังไงรสชาติก็ต่างกัน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก พิมรี่พายขายทุกอย่าง
ฉะนั้นการจะให้โรงงานคุณกบไปก๊อบปี้โรงงานที่พิมรี่พายเอาเป็นต้นฉบับ ยังไงก็ทำได้ไม่ 100% เพราะมันทำคนละแบบ เทออกมาสีต่างกัน รสชาติต่างกัน ถ้ามองในมุมที่ว่าเป็นความพอใจ ทนายรณณรงค์คิดว่าพิมรี่พายไม่ผิดเลย ไม่พอใจก็ไม่สั่งต่อ ถ้าจะบอกว่าผิดเดี๋ยวต้องไปว่ากันว่าแต่ละคนมีหลักฐานอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ ทนายรณณรงค์จับใจความได้คือ เป็นความพึงพอใจของพิมรี่พายที่ไม่เอาน้ำปลาร้า ส่วนที่ว่าลิ้นดีหรือไม่ดี ก็ดูจากปริมาณที่พิมรี่พายขายของก็แล้วกัน พร้อมแนะโรงงานว่า วิธีหนึ่งที่จะไม่โดนโกงคือ การเก็บมัดจำ หรือเงินมาของไป
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ทนายคู่ใจ