ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แจงแล้ว เหตุคนลักลอบนำสัตว์ขึ้นเครื่องบิน จนมีคลิปตัวนากหลุดในห้องโดยสาร มีพนักงานสงสัย แต่อีกคนไม่เปิดตรวจ สั่งสอบสวนแล้ว !
จากกรณีในโลกออนไลน์ ได้มีการแชร์คลิปเหตุการณ์ภายในเครื่องบิน ที่เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิไปได้หวัน โดยพบว่ามีลูกนากหลุดออกมาบนเครื่อง แถมเมื่อค้นกระเป๋ายังเจอด้านในมีสัตว์อีกหลายชนิด รวมถึงงูด้วย จนเกิดเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเคสดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุใดจึงมีการลักลอบขนสัตว์ขึ้นมาบนเครื่องแบบนี้ได้ อีกทั้งการที่สัตว์หลุดออกมา ยังเป็นอันตรายกับคนบนเครื่องอีกด้วย
อ่านข่าว : ลูกนากหลุดในไฟลต์ สุวรรณภูมิ - ไทเป จับได้ยังเอาไปซ่อน จี้เปิดกระเป๋า คาดงูเขมือบไปแล้ว !
ล่าสุด (5 ตุลาคม 2566) เฟซบุ๊ก Suvarnabhumi Airport ของสนามบินสุวรรณภูมิ ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้
ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีมีผู้โดยสารลักลอบนำสัตว์ขึ้นเครื่องบินของสายการบินไทยเวียตเจ็ท ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 เวลา 15.32 น. ปลายทางท่าอากาศยานไต้หวันเถาหยวนนั้น
ทสภ. ได้ตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจค้น บริษัท รักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานไทย จำกัด (บรท.) ซึ่งเป็นบริษัทจัดจ้างของ ทสภ. ตามสัญญางานจ้างบริการรักษาความปลอดภัย ผ่านระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ย้อนหลัง พบว่าผู้โดยสารที่นำสัตว์ขึ้นเครื่องดังกล่าวเป็นชาวต่างชาติ 2 ราย ซึ่งได้มีการนำกระเป๋าผ่านเครื่อง X-Ray บริเวณจุดตรวจค้นในเวลาประมาณ 13.45 น.
โดยพนักงานวิเคราะห์ภาพเกิดข้อสงสัยจึงส่งกระเป๋าให้พนักงานอีกคนหนึ่งทำการเปิดกระเป๋า เพื่อพิสูจน์ทราบว่าสิ่งที่สงสัยนั้นเป็นวัตถุอันตรายหรือวัตถุต้องห้ามหรือไม่ แต่พนักงานคนดังกล่าวมิได้ทำการเปิดตรวจกระเป๋าและอนุญาตให้ผู้โดยสารผ่านจุดตรวจค้นเดินทางขึ้นเครื่องบินต่อไป
ทสภ. ขอเน้นย้ำว่าระบบเทคโนโลยีที่นำมาใช้ภายในจุดตรวจค้นของ ทสภ. สามารถทำงานได้ตามมาตรฐาน และขั้นตอนการตรวจสอบวัตถุต้องห้ามที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน แต่กรณีนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของพนักงานเปิดตรวจสอบกระเป๋าไม่ดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้
โดย ทสภ. มีคำสั่งให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวหยุดปฏิบัติงานทันที และหากผลการสอบสวนพบว่าเป็นการละเลยขั้นตอนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานจะต้องถูกดำเนินการลงโทษตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ ทสภ. ขอย้ำเตือนผู้เดินทางทั้งชาวไทยและต่างชาติทุกท่าน ไม่กระทำผิดกฎหมายโดยการลักลอบนำสัตว์ หรือ ซากสัตว์ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตขึ้นเครื่องเข้า-ออกนอกประเทศ หากประสงค์จะนำสัตว์เลี้ยงเดินทาง ขอให้ทำการขออนุญาตให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นจะมีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายทั้งกฎหมายไทยและต่างประเทศ ที่ต้องรับโทษทั้งปรับและจำคุก
อ่านข่าว : ลูกนากหลุดในไฟลต์ สุวรรณภูมิ - ไทเป จับได้ยังเอาไปซ่อน จี้เปิดกระเป๋า คาดงูเขมือบไปแล้ว !
ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีมีผู้โดยสารลักลอบนำสัตว์ขึ้นเครื่องบินของสายการบินไทยเวียตเจ็ท ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 เวลา 15.32 น. ปลายทางท่าอากาศยานไต้หวันเถาหยวนนั้น
ทสภ. ได้ตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจค้น บริษัท รักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานไทย จำกัด (บรท.) ซึ่งเป็นบริษัทจัดจ้างของ ทสภ. ตามสัญญางานจ้างบริการรักษาความปลอดภัย ผ่านระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ย้อนหลัง พบว่าผู้โดยสารที่นำสัตว์ขึ้นเครื่องดังกล่าวเป็นชาวต่างชาติ 2 ราย ซึ่งได้มีการนำกระเป๋าผ่านเครื่อง X-Ray บริเวณจุดตรวจค้นในเวลาประมาณ 13.45 น.
โดยพนักงานวิเคราะห์ภาพเกิดข้อสงสัยจึงส่งกระเป๋าให้พนักงานอีกคนหนึ่งทำการเปิดกระเป๋า เพื่อพิสูจน์ทราบว่าสิ่งที่สงสัยนั้นเป็นวัตถุอันตรายหรือวัตถุต้องห้ามหรือไม่ แต่พนักงานคนดังกล่าวมิได้ทำการเปิดตรวจกระเป๋าและอนุญาตให้ผู้โดยสารผ่านจุดตรวจค้นเดินทางขึ้นเครื่องบินต่อไป
ทสภ. ขอเน้นย้ำว่าระบบเทคโนโลยีที่นำมาใช้ภายในจุดตรวจค้นของ ทสภ. สามารถทำงานได้ตามมาตรฐาน และขั้นตอนการตรวจสอบวัตถุต้องห้ามที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน แต่กรณีนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของพนักงานเปิดตรวจสอบกระเป๋าไม่ดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้
โดย ทสภ. มีคำสั่งให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวหยุดปฏิบัติงานทันที และหากผลการสอบสวนพบว่าเป็นการละเลยขั้นตอนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานจะต้องถูกดำเนินการลงโทษตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ ทสภ. ขอย้ำเตือนผู้เดินทางทั้งชาวไทยและต่างชาติทุกท่าน ไม่กระทำผิดกฎหมายโดยการลักลอบนำสัตว์ หรือ ซากสัตว์ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตขึ้นเครื่องเข้า-ออกนอกประเทศ หากประสงค์จะนำสัตว์เลี้ยงเดินทาง ขอให้ทำการขออนุญาตให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นจะมีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมายทั้งกฎหมายไทยและต่างประเทศ ที่ต้องรับโทษทั้งปรับและจำคุก
ภาพจาก TikTok yuijung03