ป.ป.ช. แจงปมปลดครูชัยยศออกจากราชการ ไม่ใช่ย้ายงบอาหารไปให้เด็ก ม.ต้น แต่มีการเซ็นรับรองจนเอี่ยวการทุจริตเงินเป็นจำนวน 1.7 แสนบาท จนหาที่มา หลักฐานการใช้เงินไม่ได้
จากกรณีที่นายชัยยศ วัย 57 ปี อดีตครูชำนาญการพิเศษ (คศ.3) โรงเรียนบ้านยางเปา อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง กรณีทุจริตเบียดบังงบอาหารกลางวันเด็ก ผลสุดท้ายต้องถูกปลดออกจากราชการ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 และครูชัยยศต้องหันมาประกอบอาชีพขายโรตีเพื่อประทังชีวิต ซึ่งโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างแชร์กันว่า สาเหตุที่ถูกชี้มูลการทุจริตเป็นเพราะครูไปเซ็นตรวจรับงบอาหารกลางวันของเด็กอนุบาลและประถมศึกษา แต่ทางโรงเรียนเจียดงบส่วนนี้มาดูแลเด็กมัธยมต้น จึงถูกมองว่าทุจริต
อ่านข่าว : ครูชัยยศ เซ็นให้เด็กได้กินข้าว กลับโดนชี้มูลความผิด ถูกให้ออกจากราชการ ขายโรตีประทังชีวิต
ล่าสุด วันที่ 8 ธันวาคม 2566 เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า จากการไต่สวนข้อเท็จจริง เบื้องต้นพบว่า โรงเรียนดังกล่าวจะมีนักเรียน 2 ประเภท คือ นักเรียนไปเช้าเย็นกลับกับนักเรียนพักนอน โดยนักเรียนพักนอนจะได้รับการสนับสนุนค่าอาหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 ส่วนนักเรียนระดับประถมศึกษา จะได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากองค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อย คนละหน่วยงานกัน
ส่วนการจัดหาอาหารกลางวัน โรงเรียนต้องจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และจะจ่ายเงินได้เมื่อมีการตรวจรับและลงลายมือชื่อของคณะกรรมการตรวจรับครบถ้วน 4 คน ได้แก่ นายจรัส สุพรรณ์ เป็น ผอ.โรงเรียน นางบุณยนุช ใจปินตา เป็นเจ้าหน้าที่จัดซื้ออาหาร นางจิราพรรณ จาตุนันท์ และนายชัยยศ เป็นกรรมการตรวจรับ
ทั้งนี้นางบุณยนุช เจ้าหน้าที่จัดซื้ออาหาร ไม่ได้ดำเนินการขออนุมัติจัดซื้ออาหารสำหรับนักเรียนพักนอนปี 2561 จำนวน 15 สัปดาห์ ตามระเบียบที่ราชการกำหนด โดยนางบุณยนุช ทำบันทึกขออนุมัติยืมเงินโครงการอาหารกลางวันนักเรียน เงินปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน และอาหารนักเรียนพักนอน เป็นรายสัปดาห์ และทาง ผอ. ก็อนุมัติให้ยืมเงินสำหรับโครงการอาหารกลางวัน โดยไม่ได้สั่งการให้จัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบราชการ
นอกจากนี้ เมื่อตรวจสอบเอกสารชดใช้เงินยืม พบว่า มีการจัดพิมพ์ใบรับรองการจ่ายเงินค่าอาหารเป็นเท็จ แยกเป็นรายวัน วันละ 3 ใบ รวม 15 ใบ ทั้งที่มีการส่งอาหารสดและอาหารแห้งมายังโรงเรียนสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น ส่วนในใบรับรองการจ่ายเงินค่าอาหาร ไม่เกินใบละ 1 หมื่นบาท แต่มีการเพิ่มราคาต่อหน่วยวัตถุดิบ และมีนางจิราพรรณและนายชัยยศ กรรมการตรวจรับลงลายมือชื่อรับรอง และนางบุณยนุช นำใบรับรองนี้มาเป็นหลักฐานการจ่ายเงินแทนใบเสร็จ
ดังนั้น การกระทำแบบนี้ถือว่าไม่ปฏิบัติตามระเบียบ มีเจตนาที่จะไม่ให้มีการตรวจสอบภายหลังว่าจัดซื้ออาหารกลางวันของโรงเรียนครบถ้วนหรือไม่ และทำให้โรงเรียนเกิดความเสียหาย จึงมีมติให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินัจฉัยไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในชั้นศาล และส่งรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อดำเนินการด้านวินัยทั้ง 4 รายตามความผิดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91 (1) และ (2) แล้วแต่กรณีต่อไป
1. ยอดเงินในส่วนที่เหลือประมาณสัปดาห์ละ 1 หมื่นบาท รวม 15 สัปดาห์ เป็นเงิน 172,240 บาท ที่ไม่สามารถแจกแจงได้
2. การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับนายชัยยศถูกปลดจากราชการ เพราะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจรับอาหารกลางวัน นำอาหารในส่วนของนักเรียนชั้นประถมแบ่งให้มัธยมต้นรับประทาน เป็นเรื่องที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
อ่านข่าว : ครูชัยยศ เซ็นให้เด็กได้กินข้าว กลับโดนชี้มูลความผิด ถูกให้ออกจากราชการ ขายโรตีประทังชีวิต
ล่าสุด วันที่ 8 ธันวาคม 2566 เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า จากการไต่สวนข้อเท็จจริง เบื้องต้นพบว่า โรงเรียนดังกล่าวจะมีนักเรียน 2 ประเภท คือ นักเรียนไปเช้าเย็นกลับกับนักเรียนพักนอน โดยนักเรียนพักนอนจะได้รับการสนับสนุนค่าอาหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 ส่วนนักเรียนระดับประถมศึกษา จะได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากองค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อย คนละหน่วยงานกัน
ส่วนการจัดหาอาหารกลางวัน โรงเรียนต้องจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และจะจ่ายเงินได้เมื่อมีการตรวจรับและลงลายมือชื่อของคณะกรรมการตรวจรับครบถ้วน 4 คน ได้แก่ นายจรัส สุพรรณ์ เป็น ผอ.โรงเรียน นางบุณยนุช ใจปินตา เป็นเจ้าหน้าที่จัดซื้ออาหาร นางจิราพรรณ จาตุนันท์ และนายชัยยศ เป็นกรรมการตรวจรับ
เมื่อนางบุณยนุช ได้ยืมเงินในโครงการสัปดาห์ละ 6 หมื่นบาท ก็เป็นคนจัดหาวัตถุดิบ จ้างคนครัวเพื่อประกอบอาหารเอง ไม่เกินสัปดาห์ละ 48,500 บาท ไม่มีการทำสัญญาจ้างและไม่มีหลักฐานการเข้ามาประกอบอาหารแต่อย่างใด ส่วนเงินที่เหลือสัปดาห์ละ 1 หมื่นบาท จำนวน 15 สัปดาห์ เป็นเงิน 172,240 บาท ก็พบว่า นางบุณยนุข จัดซื้อเพิ่มเติมจาก 2 แห่ง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าแต่ละสัปดาห์มีการจัดซื้อเป็นจำนวนเท่าใด และไม่ได้ขอใบเสร็จรับเงินจากร้านค้า
นอกจากนี้ เมื่อตรวจสอบเอกสารชดใช้เงินยืม พบว่า มีการจัดพิมพ์ใบรับรองการจ่ายเงินค่าอาหารเป็นเท็จ แยกเป็นรายวัน วันละ 3 ใบ รวม 15 ใบ ทั้งที่มีการส่งอาหารสดและอาหารแห้งมายังโรงเรียนสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น ส่วนในใบรับรองการจ่ายเงินค่าอาหาร ไม่เกินใบละ 1 หมื่นบาท แต่มีการเพิ่มราคาต่อหน่วยวัตถุดิบ และมีนางจิราพรรณและนายชัยยศ กรรมการตรวจรับลงลายมือชื่อรับรอง และนางบุณยนุช นำใบรับรองนี้มาเป็นหลักฐานการจ่ายเงินแทนใบเสร็จ
ดังนั้น การกระทำแบบนี้ถือว่าไม่ปฏิบัติตามระเบียบ มีเจตนาที่จะไม่ให้มีการตรวจสอบภายหลังว่าจัดซื้ออาหารกลางวันของโรงเรียนครบถ้วนหรือไม่ และทำให้โรงเรียนเกิดความเสียหาย จึงมีมติให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวน เอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินัจฉัยไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในชั้นศาล และส่งรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อดำเนินการด้านวินัยทั้ง 4 รายตามความผิดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91 (1) และ (2) แล้วแต่กรณีต่อไป
สำหรับประเด็นที่มีความคลาดเคลื่อนในการนำเสนอข่าว มีทั้งหมด 2 ประเด็น ดังนี้
1. ยอดเงินในส่วนที่เหลือประมาณสัปดาห์ละ 1 หมื่นบาท รวม 15 สัปดาห์ เป็นเงิน 172,240 บาท ที่ไม่สามารถแจกแจงได้
2. การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับนายชัยยศถูกปลดจากราชการ เพราะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจรับอาหารกลางวัน นำอาหารในส่วนของนักเรียนชั้นประถมแบ่งให้มัธยมต้นรับประทาน เป็นเรื่องที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว