
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยสถิติการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ของ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ว่า ตามที่ในช่วงฤดูร้อนจะเป็นช่วงฤดูที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุดในรอบปีนั้น สำหรับปี 2568 จากจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าประมาณ 4.32 ล้านราย MEA คาดการณ์ค่าพีคในระบบจำหน่ายของ MEA ไว้ที่ 9,977 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากค่าสูงสุดของปี 2567 เท่ากับ 174 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็น 1.77% จากปี 2567 ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนเมษายน ถึงช่วงต้นเดือนพฤษภาคม เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง ประกอบกับสภาพอากาศร้อนเป็นอย่างมาก ตามการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยอุณหภูมิสูงที่สุดจะอยู่ที่ 42 องศาเซลเซียส
(ทั้งนี้ MEA รายงานความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดปี 2568 จากข้อมูล ณ ปัจจุบัน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา อุณหภูมิสูงสุด 36.6 องศาเซลเซียส เวลา 15.30 - 16.00 น. ที่ 8,758.63 เมกะวัตต์)



และสามารถแนะนําขั้นตอนการสลับแหล่งจ่ายไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหาและกู้คืนระบบให้กลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ได้รับมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย NERC CIP (North American Electric Reliability Corporation Critical Infrastructure Protection) เป็นมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยในกลุ่มพลังงานไฟฟ้าที่นำไปใช้ในการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านสินทรัพย์สารสนเทศที่สำคัญต่อเสถียรภาพของระบบการจ่ายไฟฟ้า รองรับโครงการระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ Smart Metro Grid สามารถสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าทั้งระบบสายส่ง อากาศ และสายส่งใต้ดิน ครอบคลุมการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ เพื่อพัฒนาระบบการจ่ายไฟให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น

จากความพร้อมในด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ MEA เมื่อปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่าความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า SAIFI (System Average Interruption Frequency Index) รวมถึงค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ระบบเกิดไฟฟ้าขัดข้อง SAIDI (System Average Interruption Duration Index) โดยมีค่า SAIFI อยู่ที่ 0.508 ครั้ง/ราย/ปี และ SAIDI อยู่ที 15.134 นาที/ราย/ปี (สถิติค่า SAIFI ลดลง 10.72% และสถิติค่า SAIDI ลดลง ร้อยละ 23.75%) และยังสามารถบรรลุเป้าหมายค่าเฉลี่ยที่อยู่ในมาตรฐานการกำหนดของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ครั้งล่าสุด (ปี 2567) ที่กำหนดไว้ที่ SAIFI ไม่เกิน 0.75 ครั้ง/ราย/ปี และ SAIDI 24.58 นาที/ราย/ปี ต่อยอดความสำเร็จให้สูงขึ้นในทุก ๆ ปี ยังคงเป็นเส้นทางที่ MEA จะต้องเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง
MEA ยังพัฒนาระบบการรับแจ้งเหตุผ่าน MEA Smart Life Application ที่ประชาชนสามารถดาวน์โหลดและใช้ในการถ่ายภาพ แจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้องได้รวดเร็ว พร้อมเชื่อมโยงกับระบบแผนที่ GIS ของ MEA ที่มีความแม่นยำ ทำให้ระบบสามารถแจ้งเตือนไปถึงเจ้าหน้าที่ MEA ให้สามารถเข้าไปแก้ไขระบบไฟฟ้าในพื้นที่ได้ทันที ภายใต้ชื่อระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า FFM (Field Force Management)


- ปิด ไฟที่ไม่ใช้
- ปรับ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 26-27 องศาเซลเซียส และเปิดพัดลมควบคู่
- ปลด ปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน
- เปลี่ยน มาใช้เครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูงและหลอดไฟ LED ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดี พร้อมติดตั้งสายดินและเครื่องตัดไฟรั่วเพื่อป้องกันอันตราย
- ปลูก ต้นไม้เพื่อสร้างร่มเงาให้บ้านเย็นขึ้น

นอกจากนี้ ในช่วงพายุฤดูร้อน ขอให้ประชาชนตรวจสอบความแข็งแรงของป้ายโฆษณา และระยะห่างจากสายไฟฟ้า หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ และสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง พร้อมทั้งตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและกิ่งไม้รอบบ้านให้ปลอดภัยจากการพาดสายไฟฟ้า ป้องกันไฟฟ้าดับและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากพายุฝนฟ้าคะนอง
