วันไหว้ครู 2567 วันนี้เรามีบทความ ประวัติวันไหว้ครู ตัวอย่างพานไหว้ครู ดอกไม้ไหว้ครู บูชาครูผู้มีพระคุณมาฝาก
หลังจากเปิดเทอมใหญ่ สถานศึกษาหลายแห่งจะจัดให้มีพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ใดสัปดาห์หนึ่งในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนมิถุนายน ซึ่งการกำหนดวันนั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละโรงเรียน แต่สิ่งที่ยึดเหมือนกันก็คือต้องตรงกับวันพฤหัสบดี สงสัยไหมว่า ทำไม วันไหว้ครู ต้องเป็นวันพฤหัสบดี แล้วความหมายที่แท้จริงของการไหว้ครูคืออะไร กระปุกดอทคอมจะพาไปทำความรู้จักกันค่ะ
ก่อนอื่นมารู้จักความหมายของคำว่า "ครู" กันก่อน "ครู" มีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้นนับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคนคนหนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคนคนหนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน
การจัดพิธีไหว้ครูมีข้อกำหนดว่าให้กระทำพิธีเฉพาะวันพฤหัสบดี
อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากพวกพราหมณ์
ซึ่งนับถือเทพเจ้านามพระพฤหัสบดีเป็นเทพฤทธิ์
ในฐานะปุโรหิตาจารย์ที่เคารพนับถือของพระอินทร์และเทวดาอื่น ๆ
จึงนิยมไหว้ครูกันในวันพฤหัสบดี
มีตำนานที่ถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู
นอกจากนี้ยังถือกันว่าเวลากลางวันพระพฤหัสบดีเป็นธาตุไฟ
และเป็นธาตุน้ำในเวลากลางคืน เป็นดาวพระเคราะห์ที่ให้วิทยาความรู้แก่มนุษย์
เราจึงถือว่าวันพฤหัสบดีเป็นวันครู
1. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ
พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง
ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฎศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว
3. เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษ
หากศิษย์ได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ไม่ว่าจะเป็นด้านกายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรมก็ตาม
4.
เพื่อไว้สำหรับต่อท่ารำที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่มีความเชื่อมาแต่โบราณว่า
เพลงหน้าพาทย์บางเพลงจะต้องต่อท่ารำในพิธีไหว้ครู
จึงจะเกิดเป็นสิริมงคลทั้งแก่ผู้สอนและผู้เรียน
5.
เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติให้ศิษย์ระลึกถึงครู
อันเป็นเครื่องเตือนใจที่จะประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม อยู่ในศีลธรรมจรรยา
ตั้งตนอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์
1. สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
2. สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมาไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า "ผิดครู"
3. เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออก ไม่เก็บตัว
4. ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
5. เกิดความสบายใจ หากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไปก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย
ภาพจาก : Warah38 / Shutterstock.com
สมัยก่อนครูประจำชั้นของแต่ละห้องจะคัดเลือกนักเรียนที่เรียนดีและมีมารยาทเรียบร้อย
ผู้ชาย 1 คน และผู้หญิง 1 คน เป็นตัวแทนนำพานดอกไม้ไปไหว้ครู
และในเย็นวันพุธจะมีการแบ่งหน้าที่กันว่าในเช้าวันพฤหัสบดี
นักเรียนคนใดจะต้องนำอะไรมาโรงเรียนบ้าง เช่น
บางคนมีพานเงินหรือพานแก้วก็จะเป็นคนเอาพานมา บางคนเอาทรายหรือดินเหนียวมาใส่พานเพื่อปักดอกไม้ บางคนต้องเอาธูป-เทียนมา
ส่วนนักเรียนที่เหลือให้ไปช่วยกันหาดอกไม้มา โดยมีดอกไม้ที่กำหนดคือ
ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ดอกเข็ม และดอกไม้อื่น ๆ เป็นต้น
ตอนเช้าตรู่วันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันไหว้ครู เด็ก ๆ จะไปโรงเรียนเช้าเป็นพิเศษ
เพื่อไปช่วยกันจัดพานดอกไม้ ซึ่งอาจมีการปักดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง
ดอกกุหลาบบ้าน แซมด้วยหญ้าแพรกและดอกมะเขือ
โดยที่พานดอกไม้นี้เด็กนักเรียนหญิงจะเป็นคนถือ
ส่วนเด็กผู้ชายจะถือธูป-เทียนและช่อดอกไม้ (ช่อดอกไม้หมายถึงดอกไม้ที่หาได้แล้วเอามัดมารวมกัน
แซมด้วยหญ้าแพรกและดอกมะเขืออีกเช่นกัน)
จะเห็นว่าพิธีไหว้ครูแต่โบราณไม่มีพิธีรีตองมากนัก แต่มีความหมายแฝงไว้มากมาย
คนโบราณเป็นนักคิด จะทำอะไรก็มักจะผูกเป็นปริศนาที่ลึกซึ้งเอาไว้เสมอ
ในพิธีไหว้ครูก็เช่นเดียวกัน เครื่องสักการะที่ใช้ในการไหว้ครูนั้น
นอกจากธูป เทียน ยังมีข้าวตอก ดอกมะเขือ ดอกเข็ม และหญ้าแพรก
ซึ่งเป็นของหาง่ายและมีความหมาย
ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับ หญ้าแพรก
หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ุไปได้อย่างรวดเร็วมาก
หญ้าแพรกดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า
ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว
สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและดอกมะเขือนั่นเอง