
เคล็ดลับเก่งฟิสิกส์ คนเก่งโอลิมปิกเปิดใจ (ข่าวสด)
ปีนี้เวทีแข่งขันระดับชาติที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพและเดินหน้าต่อเนื่อง สร้างชื่อเสียงให้สยามเมืองยิ้มได้เป็นผลสำเร็จ ต้องถือว่าเวทีวิชาการที่โหดหินอย่างฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย มีส่วนช่วยเชิดชูเกียรติภูมิบ้านเราและกระชับมิตรภาพกับเพื่อนบ้านได้อย่างอบอุ่นงานหนึ่ง โดยมีหัวกะทิจาก 15 ประเทศเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 17 ทีม รวมผู้แข่งขัน 119 คน
การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย ครั้งที่ 10 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 เม.ย.-2 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ และสมาคมฟิสิกส์ไทย จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันนี้น้องๆ ตัวแทนประเทศไทยส่วนหนึ่งใน 8 คน ร่วมไขข้อข้องใจว่าวิชายากที่ใครๆ ก็บ่นอุบว่า "หิน" อย่างฟิสิกส์นั้น พวกเขามีวิธีอย่างไรถึงได้มีความสุขกับการเรียนวิชานี้

"ผมเรียนด้วยความรักและมีความสุขในการเรียนวิชานี้ ถ้าเรารักในวิชาใดก็จะเรียนได้ดี ก่อนหน้านี้ผมให้ความสำคัญกับวิชาอื่นๆ 40% ส่วนฟิสิกส์ 60% แต่เดี๋ยวนี้ผมให้เวลากับฟิสิกส์ 100%"
น้องตั้วเผยว่า เขาก็เหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไปที่ยังเล่นเกม เล่นดนตรี หรือทำกิจกรรมอื่นๆ บ้าง แต่ไม่กระทบต่อการเรียน เพราะสิ่งสำคัญคือต้องรู้จักจัดสรรเวลาให้เป็น

"เรื่องอ่านหนังสือต้องรู้ว่าควรอ่านเล่มใดก่อน-หลัง เช่น หนังสือฟิสิกส์ที่อธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายผมเลือกอ่านเล่มนั้นก่อน หลังจากนั้นค่อยทำความเข้าใจกับเรื่องที่ลึกซึ้งขึ้นไป ไม่ข้ามขั้นตอนครับ"

"สำหรับผมต้องตั้งเป้าหมายในอนาคตไว้ก่อน เพื่อจะได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเรียนรู้ และเป็นการช่วยกระตุ้นให้เราเดินหน้าต่อไป การจะทำอะไรก็ตามถ้าเราทำมันไปวันๆ แบบไม่มีเป้าหมายก็ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม การมีเป้าหมายสำหรับผมจึงสำคัญ"


ถือเป็นเทคนิคการเรียนวิชา "หิน" และสะท้อนมุมคิดระบบการศึกษาไทยที่ไม่ควรมองข้าม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

คอลัมน์ : ไอคิวทะลุฟ้า