หลายคนอาจจะคิดว่าคำราชาศัพท์เป็นเรื่องที่ไกลตัว และเคยเรียนผ่านมาแล้ว ไม่จำเป็นต้องสนใจอีก...แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่คะว่า จริง ๆ แล้ว ในชีวิตประจำวัน เราได้ใช้คำราชาศัพท์โดยที่ไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากคำราชาศัพท์ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะแค่คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์หรือเชื้อพระวงศ์เท่านั้น แต่คำราชาศัพท์ยังหมายถึงการเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับบุคคลในฐานะตำแหน่งที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ได้แก่ พระมหากษัตริย์ เจ้านาย (พระบรมวงศานุวงศ์) พระภิกษุ ข้าราชการ รวมถึงการใช้คำสุภาพสำหรับบุคคลทั่วไปด้วยเช่นกัน
ดังนั้น คำราชาศัพท์ จึงหมายถึง ศัพท์ที่ใช้ในราชการ เพราะในตำรานั้นบางคำไม่กล่าวเฉพาะสำหรับกษัตริย์หรือเจ้านายเท่านั้น กล่าวทั่วไปถึงคำที่ใช้สำหรับบุคคลชั้นอื่น เช่น ขุนนาง และพระสงฆ์ เป็นต้นด้วย
สำหรับมูลรากของราชาศัพท์ คือศัพท์ที่จะใช้เมื่อกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบทูลพระราชวงศ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่เคารพสูงสุด ดังนั้นเมื่อจะใช้ศัพท์ จึงต้องใช้ศัพท์ที่แตกต่างไปจากคำที่ใช้อยู่โดยทั่วไป ในชั้นต้นคงมุ่งหมายเพียงให้เป็นถ้อยคำ สำนวนที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ทรงฟังได้ ต่อมาคงเนื่องจากความคลี่คลายของภาษา ราชาศัพท์จึงขยายออกไป มีศัพท์สำหรับใช้กับพระ-ภิกษุ ข้าราชการ และกว้างขวางออกไปจนถึงคำสุภาพ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ในการใช้คำราชาศัพท์ มีดังนี้
คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์
คำราชาศัพท์ แบ่งออกได้เป็น
1. คำนาม
2. คำสรรพนาม
3. คำกริยา
1. คำนาม
1.) คำว่า "พระบรม พระบรมราชา" ใช้นำหน้าคำนามเพื่อเชิดชูพระราชอิสริยยศหรือพระเกียรติ เช่น พระบรมเดชานุภาพ พระบรมวงศานุวงศ์ พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชโองการ
2.) คำว่า "พระบรม" ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้น เมื่อใช้กับสมเด็จพระบรมราชินี ให้ตัดคำว่า "บรม" ออก เช่น พระนามาภิไธย พระราชานุเคราะห์ พระราโชวาท เป็นต้น
3.) คำว่า "พระราช" ใช้นำหน้าคำนามที่สำคัญรองลงมา เช่น พระราชวังดุสิต พระราชทรัพย์ พระราชดำริ
4.) คำว่า "พระ" ใช้นำหน้านามสามัญทั่วไป เช่น พระที่นั่ง พระหัตถ์ พระบาท
5.) คำว่า "ต้น" หรือ "หลวง" เมื่อประกอบท้ายคำศัพท์สามัญแล้ว จะทำให้คำกลายเป็นคำราชาศัพท์ทันที เช่น ช้างต้น ม้าต้น เรือต้น เรือนต้น เครื่องต้น พระแสงปืนต้น ลูกหลวง หลานหลวง พระราชวังหลวง ฯลฯ
2. คำสรรพนาม
คำสรรพนามราชาศัพท์ คือ คำแทนชื่อที่จำแนกใช้ตามชั้นของบุคคล ซึ่งถือว่า มีฐานันดรศักดิ์ต่างกัน ตามประเพณีนิยม จึงต้องบัญญัติคำใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของแต่ละบุคคล และจะต้องคำนึงถึงเพศของบุรุษที่ 1 (ผู้พูด) บุรุษที่ 2 (ผู้ที่เราพูดด้วย) และบุรุษที่ 3 (ผู้ที่เราพูดถึง) เช่น
บุรุษที่ 1 ได้แก่ ข้าพระพุทธเจ้า เกล้ากระหม่อม หม่อมฉัน ฯลฯ
บุรุษที่ 2 ได้แก่ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใต้ฝ่าละอองพระบาท ใต้ฝ่าพระบาท ฯลฯ
บุรุษที่ 3 ได้แก่ พระองค์ เสด็จ ท่าน ฯลฯ
3. คำกริยา
คำกริยาราชาศัพท์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีลักษณะดังต่อไปนี้
กริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วสามารถนำไปใช้ได้ทันที เช่น กริ้ว ตรัส ประทับ พระราชทาน ประชวร โปรด สรง เสด็จ เสวย
คำกริยาที่ตามหลังคำว่า "เสด็จ" จะใช้คำสามัญหรือคำที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วก็ได้ เช่น เสด็จเข้า เสด็จออก เสด็จยืน เสด็จลง เสด็จไป เสด็จมา เสด็จประพาส เสด็จประทับ เสด็จพระราชดำเนิน ฯลฯ
คำที่ตามหลังคำว่า "ทรง" จะเป็นคำนามหรือคำกริยาก็ได้ แต่เมื่อประสมกันแล้วถือว่าเป็นคำกริยาราชาศัพท์ แบ่งได้ดังนี้
ก. ใช้ "ทรง" นำหน้าคำกริยาสามัญ
เช่น ทรงฟัง ทรงรำพึง ทรงจาม ทรงวาง ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ
ข. ใช้ "ทรง" นำหน้าคำนามสามัญ
เช่น ทรงช้าง ทรงม้า ทรงปืน ทรงรถ ทรงดนตรี ทรงกีฬา ทรงเรือใบ ทรงเครื่อง
ค. ใช้ "ทรง" นำหน้าคำนามราชาศัพท์ เพื่อให้กลายเป็นคำกริยาราชาศัพท์
เช่น ทรงพระเมตตา ทรงพระกรุณา ทรงพระอุตสาหะ ทรงพระวินิจฉัย ทรงพระสุบิน ทรงพระอักษร ทรงพระประชวร
ไม่ใช้ "ทรง" นำหน้าคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น จะไม่ใช้ ทรงเสด็จ ทรงเสวย ทรงประทับ ทรงรับสั่ง ทรงโปรด ทรงตรัส ทรงประสูติ (แต่จะใช้ว่า เสด็จ เสวย ประทับ รับสั่ง โปรด ตรัส ประสูติ) ยกเว้นคำเดียวคือ "ทรงผนวช"
คำราชาศัพท์ที่มีคำว่า "ทรงพระราช" นำหน้า ใช้กับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และสมเด็จพระบรมราชกุมารี
ไม่ใช้คำว่า "มี เป็น" นำหน้าคำราชาศัพท์ คือไม่ใช้ว่าทรงมีพระราชดำรัส ทรงเป็นพระราชโอรส แต่ให้ใช้ว่า มีพระราชดำรัส เป็นพระราชโอรส
คำกริยาราชาศัพท์บางคำยังลดหลั่นการใช้ หรือใช้ตามลำดับชั้น เช่น
การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม และคำลงท้ายในการพูด
ในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ถ้าผู้กราบบังคมทูลไม่เป็นที่รู้จักคุ้นเคย ผู้กราบบังคมทูลควรจะได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึง ชื่อ นามสกุล ตำแหน่งหน้าที่การงานของตน โดยใช้คำกราบบังคมทูลว่า
"ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อ สกุล และตำแหน่งหน้าที่การงาน) "
ในการเฝ้ารับเสด็จ หากไม่สามารถจะใช้คำราชาศัพท์ในการกราบบังคมทูลได้ ก็ให้กราบบังคมทูลด้วยถ้อยคำสุภาพ
ในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บางกรณีใช้ข้อความขึ้นต้นตามแบบแผนที่ได้กำหนดไว้ ดังนี้
1. กราบบังคมทูลถึงความสะดวกสบาย หรือการรอดพ้นอันตราย ใช้คำว่า เดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม
2. กราบบังคมทูลพระกรุณาถึงข้อความอันไม่น่าชื่นชมต่าง ๆ เช่น สกปรก หรือน่ารังเกียจ ใช้คำว่า ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณาหามิได้
3. กราบบังคมทูลพระกรุณาถึงการที่ได้ทำพลาด ทำผิด หรือการกระทำอันไม่เหมาะสม ใช้คำว่า พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม
4. กราบบังคมทูลพระกรุณาถึงข้อความซึ่งเป็นการขอร้อง ใช้คำว่า ขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม
5. กราบบังคมทูลพระกรุณาเป็นการรำลึกในพระคุณ ใช้คำว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม
6. กราบบังคมทูลพระกรุณาเป็นความกลาง ๆ เพื่อจะได้ทรงเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้คำว่า การจะควรมิควรประการใดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
7. กราบบังคมทูลพระกรุณาเป็นการขออนุญาตกระทำสิ่งใด ใช้คำว่า ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
8. กราบบังคมทูลพระกรุณาถึงการที่ตนได้รู้ ใช้คำว่า ทราบเกล้าทราบกระหม่อม
9. กราบบังคมทูลพระกรุณาถึงการกระทำสิ่งใดถวาย ใช้คำว่า สนองพระมหากรุณาธิคุณ หรือ สนองพระเดชพระคุณ
10. กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเฝ้า หรือขอถวายสิ่งใด ใช้คำว่า ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส
คำราชาศัพท์น่ารู้อื่น ๆ
ศัพท์ที่ใช้สำหรับพระภิกษุ
1. การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุแตกต่างจากการใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์
เพราะพระภิกษุนั้นไม่ว่าบุคคลอื่นจะพูดกับท่าน หรือเมื่อท่านพูดกับคนอื่นก็จะใช้ศัพท์อย่างเดียวกัน เสมอไป เช่น คำว่า อาพาธ (เจ็บ, ป่วย) เป็นศัพท์สำหรับพระภิกษุ
ในกรณีที่ คนอื่นกล่าวถึงท่าน พระมหาสุริยัญ อาพาธอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์
ท่านกล่าวกับคนอื่น ขณะนี้อาตมา อาพาธอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์
คำว่า ประชวร (เจ็บ, ป่วย) เป็นศัพท์สำหรับพระราชวงศ์
ในกรณีที่ คนอื่นกล่าวถึงพระองค์ท่าน พระองค์เจ้าพระองค์นั้น ประชวรมาหลายวันแล้ว
พระองค์ท่านกล่าวกับคนอื่น ฉัน เจ็บมาหลายวันแล้ว
2. สมเด็จพระสังฆราชใช้ราชาศัพท์เสมอพระเจ้าวรวงศ์เธอ เช่น
คำขึ้นต้น ใช้ว่า กราบทูล (ออกพระนามเต็ม)
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า เกล้ากระหม่อม (สำหรับชาย)
เกล้ากระหม่อมฉัน (สำหรับหญิง)
สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
3. พระภิกษุที่เป็นราชวงศ์ คงใช้ราชาศัพท์ตามลำดับชั้นแห่งพระราชวงศ์ ยกเว้นแต่สมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระราชวงศ์ให้ใช้ คำขึ้นต้น ว่า ขอประทานกราบทูล (ออกพระนามเต็ม)
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า ข้าพระพุทธเจ้า
สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ใต้ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
4. การเรียกขานพระภิกษุที่ทรงสมณศักดิ์ ต้องใช้ให้เหมาะสมแก่สมณศักดิ์ เช่นคำว่า "ท่าน" มีวิธีการใช้ ดังนี้
สมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระคุณเจ้า
พระราชาคณะชั้นธรรม ใช้ว่า พระคุณท่าน
พระชั้นรอง ๆ ลงมา ใช้ว่า ท่าน
"ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อ สกุล และตำแหน่งหน้าที่การงาน) "
ในการเฝ้ารับเสด็จ หากไม่สามารถจะใช้คำราชาศัพท์ในการกราบบังคมทูลได้ ก็ให้กราบบังคมทูลด้วยถ้อยคำสุภาพ
ในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บางกรณีใช้ข้อความขึ้นต้นตามแบบแผนที่ได้กำหนดไว้ ดังนี้
1. กราบบังคมทูลถึงความสะดวกสบาย หรือการรอดพ้นอันตราย ใช้คำว่า เดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม
2. กราบบังคมทูลพระกรุณาถึงข้อความอันไม่น่าชื่นชมต่าง ๆ เช่น สกปรก หรือน่ารังเกียจ ใช้คำว่า ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณาหามิได้
3. กราบบังคมทูลพระกรุณาถึงการที่ได้ทำพลาด ทำผิด หรือการกระทำอันไม่เหมาะสม ใช้คำว่า พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม
4. กราบบังคมทูลพระกรุณาถึงข้อความซึ่งเป็นการขอร้อง ใช้คำว่า ขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม
5. กราบบังคมทูลพระกรุณาเป็นการรำลึกในพระคุณ ใช้คำว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม
6. กราบบังคมทูลพระกรุณาเป็นความกลาง ๆ เพื่อจะได้ทรงเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้คำว่า การจะควรมิควรประการใดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
7. กราบบังคมทูลพระกรุณาเป็นการขออนุญาตกระทำสิ่งใด ใช้คำว่า ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
8. กราบบังคมทูลพระกรุณาถึงการที่ตนได้รู้ ใช้คำว่า ทราบเกล้าทราบกระหม่อม
9. กราบบังคมทูลพระกรุณาถึงการกระทำสิ่งใดถวาย ใช้คำว่า สนองพระมหากรุณาธิคุณ หรือ สนองพระเดชพระคุณ
10. กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเฝ้า หรือขอถวายสิ่งใด ใช้คำว่า ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส
คำราชาศัพท์น่ารู้อื่น ๆ
ศัพท์ที่ใช้สำหรับพระภิกษุ
1. การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุแตกต่างจากการใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์
เพราะพระภิกษุนั้นไม่ว่าบุคคลอื่นจะพูดกับท่าน หรือเมื่อท่านพูดกับคนอื่นก็จะใช้ศัพท์อย่างเดียวกัน เสมอไป เช่น คำว่า อาพาธ (เจ็บ, ป่วย) เป็นศัพท์สำหรับพระภิกษุ
ในกรณีที่ คนอื่นกล่าวถึงท่าน พระมหาสุริยัญ อาพาธอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์
ท่านกล่าวกับคนอื่น ขณะนี้อาตมา อาพาธอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์
คำว่า ประชวร (เจ็บ, ป่วย) เป็นศัพท์สำหรับพระราชวงศ์
ในกรณีที่ คนอื่นกล่าวถึงพระองค์ท่าน พระองค์เจ้าพระองค์นั้น ประชวรมาหลายวันแล้ว
พระองค์ท่านกล่าวกับคนอื่น ฉัน เจ็บมาหลายวันแล้ว
2. สมเด็จพระสังฆราชใช้ราชาศัพท์เสมอพระเจ้าวรวงศ์เธอ เช่น
คำขึ้นต้น ใช้ว่า กราบทูล (ออกพระนามเต็ม)
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า เกล้ากระหม่อม (สำหรับชาย)
เกล้ากระหม่อมฉัน (สำหรับหญิง)
สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
3. พระภิกษุที่เป็นราชวงศ์ คงใช้ราชาศัพท์ตามลำดับชั้นแห่งพระราชวงศ์ ยกเว้นแต่สมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระราชวงศ์ให้ใช้ คำขึ้นต้น ว่า ขอประทานกราบทูล (ออกพระนามเต็ม)
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า ข้าพระพุทธเจ้า
สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ใต้ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
4. การเรียกขานพระภิกษุที่ทรงสมณศักดิ์ ต้องใช้ให้เหมาะสมแก่สมณศักดิ์ เช่นคำว่า "ท่าน" มีวิธีการใช้ ดังนี้
สมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระคุณเจ้า
พระราชาคณะชั้นธรรม ใช้ว่า พระคุณท่าน
พระชั้นรอง ๆ ลงมา ใช้ว่า ท่าน
ศัพท์สำหรับสุภาพชน
การใช้ถ้อยคำสำหรับบุคคลทั่วไปจำเป็นต้องใช้ให้เหมาะสมกับฐานะ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสาร กาลและเทศะ ซึ่งการสื่อสารระหว่างสุภาพชนควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่อไปนี้
1. คำห้วน หรือคำกระด้าง เช่น เออ โว้ย หือ หา ไม่รู้
2. คำหยาบ ไม่ควรใช้ เพราะจะติดเป็นนิสัย เช่น ไอ้ อี ขี้ เยี่ยว
3. คำคะนอง หรือคำสแลง หมายถึง คำที่อยู่ในความนิยมเป็นพัก ๆ เช่น เก๋ เจ๋ง ซ่า ฯลฯ
4. คำผวน หรือคำที่เวลาผวนกลับแล้วเป็นคำหยาบ เช่น เสือกะบาก (สากกะเบือ)
5. คำที่ต้องไม่ใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการความสุภาพ หรือในที่ชุมชน เช่น กิน หัว เกือก ผัว เมีย เอามา ฯลฯ
การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม และคำลงท้ายในการเขียนหนังสือ
การใช้ถ้อยคำสำหรับบุคคลทั่วไปจำเป็นต้องใช้ให้เหมาะสมกับฐานะ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสาร กาลและเทศะ ซึ่งการสื่อสารระหว่างสุภาพชนควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่อไปนี้
1. คำห้วน หรือคำกระด้าง เช่น เออ โว้ย หือ หา ไม่รู้
2. คำหยาบ ไม่ควรใช้ เพราะจะติดเป็นนิสัย เช่น ไอ้ อี ขี้ เยี่ยว
3. คำคะนอง หรือคำสแลง หมายถึง คำที่อยู่ในความนิยมเป็นพัก ๆ เช่น เก๋ เจ๋ง ซ่า ฯลฯ
4. คำผวน หรือคำที่เวลาผวนกลับแล้วเป็นคำหยาบ เช่น เสือกะบาก (สากกะเบือ)
5. คำที่ต้องไม่ใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการความสุภาพ หรือในที่ชุมชน เช่น กิน หัว เกือก ผัว เมีย เอามา ฯลฯ
การใช้คำขึ้นต้น คำสรรพนาม และคำลงท้ายในการเขียนหนังสือ