วันไหว้บ๊ะจ่าง 2567 ตรงกับวันที่ 10 มิถุนายน
เชื่อว่าคนไทยเชื้อสายจีนจำนวนไม่น้อยทราบดีว่า วันไหว้บ๊ะจ่าง เป็นอีก 1
เทศกาลที่มีความสำคัญกับคนจีน
หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่า ทำไมถึงต้องมีการไหว้บ๊ะจ่าง
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง มีที่มาอย่างไร เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไร
และมีความสำคัญอย่างไรกับประชาชนชาวจีน ตามมาหาคำตอบกันเลย...
สำหรับเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน (จันทรคติ) ของทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึง ชวีหยวน ขุนนางผู้รักชาติแห่งแคว้นฉู่ นอกจากนี้ในประเทศจีน บริเวณแม่น้ำฉางเจียน (แยงซีเกียง), ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า ยังมีการละเล่นแข่งเรือมังกร ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง หรือ "ขนมจ้าง"
โดยความเป็นมาของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง หรือขนมจ้าง ตามตำนานเล่าว่า ในสมัยชุนชิว-จั้นกั๋ว ประเทศจีนถูกแบ่งเป็นแคว้นเล็ก ๆ จำนวนมาก แคว้นฉินเป็นแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดในขณะนั้น ส่วนแคว้นฉู่เป็นแคว้นที่อ่อนแอและเล็ก ซึ่งมักถูกแคว้นฉินกดขี่ข่มเหง "ชวีหยวน" ซึ่งเป็นขุนนางตงฉิน รับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ของราษฎรเป็นที่ตั้ง เขาห่วงใยประเทศชาติบ้านเมืองของเขามาก จึงเสนอให้แคว้นฉู่ร่วมมือกับแคว้นฉีเพื่อต่อต้านแคว้นฉิน แต่ก็ถูกขุนนางกังฉินคอยใส่ร้ายป้ายสีต่อองค์ฮ่องเต้เสมอ ๆ
จนฮ่องเต้เริ่มมีใจเอนเอียง ชวีหยวนรู้สึกทุกข์ระทมตรมใจมาก จึงได้แต่งกลอนขึ้นเพื่อคลายความทุกข์ใจ กลอนบทนั้นมีชื่อว่า "หลีเซา" ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความห่วงใยบ้านเมืองและราษฎร จนต่อมาฮ่องเต้แคว้นฉู่ถูกกลลวงของแคว้นฉิน และสวรรคตในแคว้นฉิน รัชทายาทองค์ต่อมาจึงได้ขึ้นครองราชบัลลังก์แทน
ประวัติเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง
สำหรับเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน (จันทรคติ) ของทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึง ชวีหยวน ขุนนางผู้รักชาติแห่งแคว้นฉู่ นอกจากนี้ในประเทศจีน บริเวณแม่น้ำฉางเจียน (แยงซีเกียง), ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า ยังมีการละเล่นแข่งเรือมังกร ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง หรือ "ขนมจ้าง"
โดยความเป็นมาของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง หรือขนมจ้าง ตามตำนานเล่าว่า ในสมัยชุนชิว-จั้นกั๋ว ประเทศจีนถูกแบ่งเป็นแคว้นเล็ก ๆ จำนวนมาก แคว้นฉินเป็นแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดในขณะนั้น ส่วนแคว้นฉู่เป็นแคว้นที่อ่อนแอและเล็ก ซึ่งมักถูกแคว้นฉินกดขี่ข่มเหง "ชวีหยวน" ซึ่งเป็นขุนนางตงฉิน รับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ของราษฎรเป็นที่ตั้ง เขาห่วงใยประเทศชาติบ้านเมืองของเขามาก จึงเสนอให้แคว้นฉู่ร่วมมือกับแคว้นฉีเพื่อต่อต้านแคว้นฉิน แต่ก็ถูกขุนนางกังฉินคอยใส่ร้ายป้ายสีต่อองค์ฮ่องเต้เสมอ ๆ
จนฮ่องเต้เริ่มมีใจเอนเอียง ชวีหยวนรู้สึกทุกข์ระทมตรมใจมาก จึงได้แต่งกลอนขึ้นเพื่อคลายความทุกข์ใจ กลอนบทนั้นมีชื่อว่า "หลีเซา" ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความห่วงใยบ้านเมืองและราษฎร จนต่อมาฮ่องเต้แคว้นฉู่ถูกกลลวงของแคว้นฉิน และสวรรคตในแคว้นฉิน รัชทายาทองค์ต่อมาจึงได้ขึ้นครองราชบัลลังก์แทน
หลังจากที่ฮ่องเต้องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงหลงเชื่อคำยุยงของเหล่าขุนนางกังฉินพวกนั้น ในที่สุดจึงได้มีพระบรมราชโองการให้เนรเทศชวีหยวนออกจากแคว้นฉู่ ชวีหยวนเศร้าโศกเสียใจมาก หลังจากเดินทางรอนแรมมาถึงแม่น้ำเปาะล่อกัง (บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง) ชวีหยวนจึงตัดสินใจกระโดดน้ำตาย เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกจงรักภักดีต่อประเทศชาติและความคับแค้นใจที่มีต่อสังคม ในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 เมื่อ 278 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
เมื่อชาวแคว้นฉู่รู้ข่าวการฆ่าตัวตายของชวีหยวน ต่างพากันมายังริมแม่น้ำ ชาวประมงก็ออกพายเรือหาเพื่อหวังว่าจะงมเขาขึ้นมาได้ ในขณะที่ค้นหาศพ บางคนก็นำข้าวปั้น-ไข่ต้มที่เตรียมไว้ให้ชวีหยวนโยนลงแม่น้ำ เพื่อหวังว่าปลา ปู กุ้ง หอยในน้ำ จะกินอาหารพวกนี้แล้วไม่ไปกัดกินร่างของชวีหยวน จากนั้นทุกปีเมื่อครบรอบวันตายของชวีหยวน ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำเปาะล่อกัง
เมื่อทำมาได้ 2 ปี ก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชวีหยวนที่มาในชุดอันสวยงาม และได้กล่าวขอบคุณชาวบ้านที่นำเอาอาหารไปโปรยเพื่อเซ่นไหว้ แต่ชวีหยวนบอกว่าอาหารเหล่านั้นถูกสัตว์น้ำกินจนหมด เนื่องจากบริเวณนั้นมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ชวีหยวนจึงแนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่หรือใบจากก่อนนำไปโยนลงน้ำ
ในปีต่อมาชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชวีหยวนแนะนำ ชวีหยวนก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีกว่าได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังโดนสัตว์น้ำแย่งไปกิน ชาวบ้านต้องการให้ชวีหยวนได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นไหว้ไปให้อย่างอิ่มหนำสำราญ จึงได้ถามชวีหยวนว่าควรทำเช่นไรดี จึงได้คำแนะนำว่าเวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่น้ำให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกร เมื่อสัตว์น้ำทั้งหลายเห็นก็จะนึกว่าเป็นเครื่องเซ่นของพญามังกร จะได้ไม่กล้าเข้ามากิน จึงทำให้เป็นที่มาของประเพณีการไหว้ขนมจ้าง (ขนมบ๊ะจ่าง) และประเพณีการแข่งเรือมังกรมาจนถึงปัจจุบัน
การไหว้บ๊ะจ่าง
ส่วนการไหว้บ๊ะจ่างในปัจจุบัน คนจีนจะไหว้ในตอนเช้า โดยไหว้ด้วยธูป 3 ดอก หรือ 5 ดอก การไหว้ด้วยธูป 5 ดอก เพื่อระลึกถึงครูบาอาจารย์ พ่อแม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเข้าหลัก 5 ธาตุ หรือโหงวเฮ้ง ของจีน ประกอบด้วย ธาตุดิน ทอง น้ำ ไม้ และไฟ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตโดยตรง และถ้าเป็นการไหว้ในไทย ช่วงเช้าก็จะไหว้เจ้าและบรรพบุรุษ แต่ที่พิเศษหน่อยก็ตรงที่มีบ๊ะจ่างเพิ่มเข้ามาด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย, jiewfudao.com