x close

สื่อนอกแพร่บทวิเคราะห์การเมืองไทย เฮือกสุดท้ายของอำมาตย์

สื่อนอกแพร่บทวิเคราะห์การเมืองไทย เฮือกสุดท้ายของอำมาตย์

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก nytimes

          หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ เผยแพร่บทความ เฮือกสุดท้ายของอำมาตย์ วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทยในช่วงก่อนเลือกตั้งครั้งใหม่นี้

          วันที่ 19 ธันวาคม 2556 นายดันแคน แมคคาร์โก ได้เผยแพร่บทบรรณาธิการ "เฮือกสุดท้ายของอำมาตย์" ผ่านเว็บไซต์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ระบุว่า ประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ถูกแบ่งเป็น 2 ฝ่าย โดยในราวปี 2533 ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ นักวิเคราะห์การเมืองไทย ได้เคยกล่าวถึงทฤษฎีการเมืองที่สรุปได้ว่า คนต่างจังหวัดจัดตั้งรัฐบาลแต่คนกรุงเทพฯ ล้มรัฐบาล ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ของไทยได้กลับมาซ้ำทฤษฎีดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจากคนกรุงซึ่งส่วนใหญ่ที่เป็นชนชั้นกลางได้ออกมาเดินขบวนตามท้องถนน ภายใต้การนำของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เข้าปิดล้อมอาคารของหน่วยงานรัฐและตะโกนขับไล่รัฐบาลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีรักษาการซึ่งมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ขณะที่เหล่าคนต่างจังหวัดกลับออกมารวมตัวกันเพื่อปกป้องรัฐบาล

          ในขณะที่คณะรัฐบาลส่วนมากของไทย มักประกอบไปด้วยพรรคร่วมรัฐบาลที่มารวมตัวกันแบบหลวม ๆ ซึ่งเปิดช่องให้เหล่าผู้นำกองทัพที่อ้างแนวคิดนิยมเจ้าและเหล่านักกฎหมาย เข้ามาใช้ความชอบธรรมของสถาบันในการโค่นล้มรัฐบาล ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 2549 เมื่อกองทัพได้ก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในข้อหาคอร์รัปชั่น ทำให้อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นพี่ชายของนางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศเพื่อหนีจากการติดตาราง และตัดสินใจที่จะทำการรวมอำนาจไว้ในมือผ่านพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของพรรคพวกที่รอดพ้นคดีในช่วงนั้นมาได้

          อย่างไรก็ตาม จากนั้นพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดของไทย ผู้ชนะการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อปี 2535 ก็ได้ออกมารับบทนำในการเดินขบวนประท้วงขับไล่รัฐบาล โดยบรรดา ส.ส.ในพรรคต่างก็ทุ่มทุนลาออกจากสภา เพื่อลงมาเดินถนนเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ประท้วง แต่กระนั้น ด้วยฐานเสียงหลักของพรรคในกรุงเทพฯ และในภาคใต้ ก็ยังดูจะไม่เพียงพอที่จะกุมเสียงส่วนมากของประชาชนไว้ได้

          แม้ว่าผู้ประท้วงจะทุ่มเทมากมายเพียงใดในการบังคับในรัฐบาลรักษาการลาออก แต่จุดที่ต้องใช้แรงเฮือกสุดท้ายฮึดก้าวข้ามให้ได้คือ ต้องไม่ลืมว่าตระกูลชินวัตรนั้น ไม่ต่างอะไรจากเสือนอนกิน ที่เพียงแค่รอรับผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐศาสตร์การเมืองในช่วงที่รัฐบาลชินวัตรเรืองอำนาจเท่านั้น เนื่องจากพวกเขาได้ใช้เม็ดเงินในการสร้างฐานเสียงจากนโยบายประชานิยมไว้อย่างท่วมท้นแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งคิดเป็น 1 ใน 3 จากทั่วประเทศ

          ที่จริงแล้ว คนกลุ่มนี้มีรายได้ไม่ต่ำไปกว่าคนชนชั้นกลางในเมืองนัก แต่พวกเขามักเป็นหนี้และต้องหารายได้จากหลาย ๆ ทาง และนั่นเป็นผลให้คนกลุ่มนี้ต้องการประโยชน์มากกว่าเฉพาะที่ได้รับการอาชีพทางการเกษตรหรือการมารับจ้างในเมือง และถูกขังอยู่ภายใต้รัฐบาลที่ให้การสนับสนุนต่อพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น นโยบายประชานิยม อย่าง 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการจำนำข้าว และกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้พวกเขาสามารถลืมตาอ้าปากได้

สื่อนอกแพร่บทวิเคราะห์การเมืองไทย เฮือกสุดท้ายของอำมาตย์

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สื่อนอกแพร่บทวิเคราะห์การเมืองไทย เฮือกสุดท้ายของอำมาตย์ โพสต์เมื่อ 21 ธันวาคม 2556 เวลา 10:15:35 109,718 อ่าน
TOP