เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
กรมโยธาฯ เปิดโผ 22 จังหวัด เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ เฝ้าระวัง, พื้นที่ดินอ่อนมาก, พื้นที่อยู่ใกล้รอยเลื่อน พร้อมจ่อขยายพื้นที่เสี่ยงภัยเพิ่ม 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์
วันนี้ (12 พฤษภาคม 2557) เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานถึงพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวในประเทศไทย โดยระบุว่า ในกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักความต้าน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 ซึ่งทางกรมโยธาและผังเมืองได้กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว ครอบคลุม 22 จังหวัด ตามระดับความเสี่ยงจากน้อยไปมาก ดังนี้
บริเวณเฝ้าระวัง เป็นพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนระนองและคลองมะรุ่ย ได้แก่
กระบี่
ชุมพร
พังงา
ภูเก็ต
ระนอง
สงขลา
สุราษฎร์ธานี
บริเวณที่ 1 เป็นพื้นที่ดินที่อ่อนมาก จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่
กรุงเทพฯ
นนทบุรี
ปทุมธานี
สมุทรปราการ
สมุทรสาคร
บริเวณที่ 2 เป็นพื้นที่อยู่ใกล้รอยเลื่อน
เชียงราย
เชียงใหม่
ตาก
น่าน
พะเยา
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ลำปาง
ลำพูน
กาญจนบุรี
สำหรับประเภทของอาคารที่จะต้องจัดเตรียมให้มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถต้านทานการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้โดยเฉพาะ ได้แก่
อาคารที่มีคนเข้าไปใช้สอยจำนวนมาก เช่น อาคารสาธารณะ อาคารชุมนุมคน อาคารที่สูงเกิน 15 เมตร
อาคารที่หากเกิดความเสียหายแล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายกับสาธารณะ เช่น อาคารเก็บวัตถุอันตราย เขื่อนและสะพาน
ทั้งนี้ การกำหนดประเภทอาคารควบคุมจะแยกตามพื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ เนื่องจากแต่ละพื้นที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ทางกรมโยธาจะขยายพื้นที่เสี่ยงภัยเพิ่ม 3 จังหวัด คือ "พิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์" หลังจากเกิดเหตุรอยเลื่อนที่อุตรดิตถ์ โดยจะกำหนดเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง พร้อมกับวัดระดับความสั่นสะเทือน 3 บริเวณใหม่ และจะยกระดับกลุ่มพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ จากเดิมคือ "บริเวณเฝ้าระวัง" เป็น "พื้นที่ควบคุม" หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก