x close

เตือนไทยร้อนสุดในอาเซียน 17-19 มีนาคมนี้ ระวังคลื่นฮีตเวฟกระทบซ้ำ




เตือนไทยร้อนสุดในอาเซียน 17-19 มีนาคมนี้ ระวังคลื่นฮีตเวฟกระทบซ้ำ

        นักวิชาการ ชี้ ไทยจะเผชิญอากาศร้อนในกลุ่มอาเซียน ช่วงวันที่ 17-19 มีนาคมนี้ ระวังอาจเกิดคลื่นความร้อนฮีตเวฟกระทบซ้ำ แนะประชาชนหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง

        วันที่ 16 มีนาคม 2559 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 นำเสนอข่าวว่า อ.จิรพล สินธุนาวา อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาเปิดเผยว่า ปีนี้อากาศในประเทศไทยจะร้อนกว่าปีก่อน เพราะมีมวลอากาศร้อนจากมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากปกติในรอบ 50 ปี พัดเข้ามาปกคลุม โดยในแผนที่มวลอากาศพบว่า ประเทศไทยจะร้อนที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ตั้งแต่วันที่ 17-19 มีนาคมนี้

        อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่ากังวลคือ มวลอากาศดังกล่าวมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเป็นคลื่นความร้อน หรือฮีตเวฟ ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิยิ่งสูงขึ้นและร้อนในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ คลื่นความร้อนจะเกิดได้เมื่อมี 2 องค์ประกอบ คือ

         1. อากาศมีอุณหภูมิร้อนเกิน 42 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง
         2. มีความชื้นสัมพัทธ์ หรือหน่วยวัดระดับความชื้นในอากาศที่ใช้คำนวณมวลของไอน้ำใน มีค่าเกิน 70%

        ดังนั้นจึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมการแจ้ง แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จริง ก็ขอให้ใส่แว่นตากันแดด หรือใส่หมวกป้องกัน เป็นต้น

เตือนไทยร้อนสุดในอาเซียน 17-19 มีนาคมนี้ ระวังคลื่นฮีตเวฟกระทบซ้ำ

        นอกจากนี้ อ.จิรพล ยังเปิดเผยว่า เมื่อปี 2558 ได้เกิดคลื่นความร้อนที่ประเทศอินเดีย ส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิตจากคลื่นความร้อนทั่วประเทศกว่า 2,500 คน ทำให้ทางการอินเดียต้องประกาศมาตรการรับมือด้วยการพยากรณ์อากาศล่วงหน้า 7 วัน จัดเตรียมน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคเพิ่มเติม รวมถึงฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญแม่นยำในการสังเกตและวินิจฉัยผู้ที่มีอาการภาวะเครียดจากความร้อนและภาวะร่างกายขาดน้ำ ขณะที่ประเทศไทยเองก็ควรมีการประกาศข้อพึงปฏิบัติที่เป็นการทำงานเชิงรุกและวางแผนล่วงหน้าเพื่อป้องกันการสูญเสียด้วยเช่นกัน

        ด้านนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อนุกรรมการวิชาการในกรรมการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบเมืองหลวงของทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียนแล้ว พบว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแทบทุกปี กรุงเทพฯ ครองแชมป์อากาศร้อนที่สุดมาโดยตลอด เพราะสภาพโดยรวมแม้ว่าจะเป็นเมืองกลางทุ่ง ไม่มีภูเขา และอยู่ติดทะเลก็จริง แต่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้มีอากาศร้อนกว่าประเทศอื่น ๆ เช่น เรื่องของจำนวนสิ่งก่อสร้างและปริมาณต้นไม้ เปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์ ที่ตั้งอยู่ในละติจูดที่ใกล้เคียงกัน แต่ฤดูร้อนของทุกปี เมืองหลวงของสิงคโปร์จะมีอุณหภูมิต่ำกว่ากรุงเทพมหานคร ประมาณ 2-3 องศาเซลเซียสเสมอ และที่สำคัญประเทศสิงคโปร์ เป็นเกาะเปิด มีลมจากรอบทิศและมีต้นไม้มากกว่ากรุงเทพมหานครมาก

        นายอานนท์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ไม่คิดว่าในปี 2559 กรุงเทพฯ จะมีอากาศร้อนกว่าทุกปีที่ผ่านมา เพราะไม่มีสัญญาณอะไรบอกมากนัก สำหรับสถิติอากาศสูงสุดในกรุงเทพฯ อยู่ที่ 43.3 องศาเซลเซียส ไม่ถึง 44 องศาเซลเซียส ส่วนพื้นที่อื่น ๆ อาทิ กำแพงเพชร ตาก หรือกาญจนบุรี เคยมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 44 องศาเซลเซียส


ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เตือนไทยร้อนสุดในอาเซียน 17-19 มีนาคมนี้ ระวังคลื่นฮีตเวฟกระทบซ้ำ อัปเดตล่าสุด 17 มีนาคม 2559 เวลา 17:41:47 15,845 อ่าน
TOP