x close

เปิดคำให้การ สมัคร สุนทรเวช คดีชิมไปบ่นไป

สมัคร สุนทรเวช



          กรณีประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของ ส.ว.และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อให้วินิจฉัยการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กรณีการจัดรายการ "ชิมไป บ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญนัดไต่สวนเป็นนัดที่ 4

          เมื่อเวลา 09.30 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนำโดยนายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนเป็นนัดสุดท้าย ทั้งนี้นายสมัคร และนายศักดิ์ชัย แก้ววรรณีสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเฟซมีเดีย จำกัด ในฐานะผู้ถูกร้อง และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา พ.อ.สันธิรัตน์ มหัทธชาติ อนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ตัวแทน กกต.เดินทางมาให้ปากคำ

โดย นายเรืองไกร ในฐานะผู้ร้องได้ซักถามนายสมัคร มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

//image.kapook.com/images/w_02.gif 
นายสมัครเป็นนายกฯรู้ถึงข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญมาตรา 267 หรือไม่

         
คนจะเป็นรัฐมนตรีจะต้องไม่เป็นตามข้อต่างๆ ซึ่งจะต้องอ่านตามกฎหมายก่อนถึงจะเป็นรัฐมนตรีได้

//image.kapook.com/images/w_02.gif  เมื่อรับตำแหน่ง ก็ออกรายการจนมีคนทักท้วง เทปที่บอกว่าถ่ายครั้งหนึ่งใช้เวลาออกอากาศ 4 ตอน ช่วง 6 กันยายน -18 พฤษภาคม 2551 น่าจะเป็นช่วงที่ทำรายการไปบางส่วนแล้วใช่หรือไม่

          ผมไม่คิดว่าเป็นความผิดก็ทำไป ความผูกพัน 7 ปีแล้วก็ทำจนคุ้นเคย

//image.kapook.com/images/w_02.gif  รายการชิมไปบ่นไปทำมา 7 ปีเพราะมีการจัดครบรอบ 7 ปีที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ โดยบริษัทเฟซมีเดียเป็นเจ้าภาพ มีการเชิญนายกฯไปทำข้าวผัดพันธมิตรถูกต้องหรือไม่

          ผมไม่ได้ไปทำรายการ เขาเชิญสปอนเซอร์ทั้งหลายมาทำข้าวผัดและให้ผมไปตรวจสอบว่าของใครอร่อย ผมไม่ได้ทำ ส่วนที่ไปก็แค่เชิญมาไม่ได้ มีอะไรเสียหาย

//image.kapook.com/images/w_02.gif  การยื่นแสดงภาษีของบริษัท เฟซมีเดีย จำกัด ในเมื่อครั้งไม่ได้เป็นนายกฯเขียนเป็นพิธีกรไปหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 5 ครั้งละ 1 แสน หารด้วย 0.95 มีข้อสังเกตรายการหักภาษีทั้งหมดของนายกฯจะสูงในระดับต้นๆ เหตุที่นายกฯเคยได้รับเงินจำนวนสูงถึง 1 แสนบาทเพราะมีความสัมพันธ์กับบริษัทใช่หรือไม่

          จะถามผมแบบนี้มันเกิดเหตุตั้งแต่เมื่อไรที่มีภาษีสูงต่าง ๆ ก่อนผมเป็นนายกฯมีไหม ก่อนหน้านั้นเกี่ยวอะไรกับผมไม่มีสถานะอะไรพิจารณา ผมจะทำอะไรไม่เห็นต้องไปเกี่ยวข้อง คุณจะต้องพิสูจน์ว่าหลังจาก 6 กุมภาพันธ์ เป็นนายกฯแล้วไปมีรายได้มากมายก่ายกองมีไหม ก่อนหน้านี้มีรายได้จริงแต่ไม่เกี่ยวกับตำแหน่ง

//image.kapook.com/images/w_02.gif  หลังจากเป็นนายกฯไม่ขอรับค่าตอบแทนแต่รับค่าน้ำมันและค่าซื้ออาหาร นายสมัครได้รับครั้งละ 3-5 พันบาทจริงหรือไม่

          เป็นการให้คนขับรถ ส่วนรายการของผมไม่เคยเรียกร้องสักบาทถึงไม่ให้ผมก็ทำ เพราะผมชอบทำของผม ถ้าจะเลิกผมก็ต้องเลิก ทั้งนี้ ผมไม่สนใจว่าเรื่องเงินต้องเป็นสาระสำคัญ ซึ่งต้องพิสูจน์ว่า หลังเป็นนายกฯผมเคยได้รับเงินจากบริษัทหรือไม่ แต่ที่ผมไม่คิดว่าผิดเพราะทนายบอกว่าเป็นรับจ้างไม่ใช่ลูกจ้าง ผมก็แน่ใจว่าไม่ผิด ผมทำเพราะเห็นว่าไม่ผิด พอมีคนทักท้วงผมก็หยุดทำ

//image.kapook.com/images/w_02.gif  นายสมัครเคยพูดในฐานะพิธีกรว่า "ท่านชอบผมกรุณาดูรายการผมด้วยนะครับ" ความหมายนี้นายสมัครมีส่วนเกี่ยวข้องจะดูแลจัดการใช่หรือไม่

          ไม่ใช่ มันเป็นการโฆษณาอยากให้ใครมาดูรายการ มันก็เท่านั้นจะเป็นยังไง ผมไม่ได้ปฏิเสธ มันเป็นการโฆษณาผมไม่คิดอะไรอื่น

//image.kapook.com/images/w_02.gif  เคยมีการเชิญนายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ผู้สนับสนุนรายการ "ชิมไปบ่นไป" ออกรายการหรือไม่

          เคยเชิญ ทุกสปอนเซอร์มาหมด ทุกรายการให้มาเพื่อให้คนรู้ว่ามีผลิตภัณฑ์อะไรที่น่าสนใจสำหรับอาหารการกิน ผมยืนยันว่าเห็นว่าไม่ผิดจึงทำ ที่มีเทปต่างๆ ผมไม่ปฏิเสธ เพราะทนายก็บอกว่ารับจ้างไม่ใช่ลูกจ้าง และในวันสงกรานต์หลังเป็นนายกฯเขาก็เชิญมาคุยไม่เห็นเป็นปัญหาใดๆ มานั่งคุยตามรายการที่เขาจัดมาให้ผมไม่ได้เชิญด้วยใครมานั่งคุยผมก็คุย 

          จากนั้น พ.อ.สันธิรัตน์ มหัทธนชาติ เลขาฯอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงในฐานะผู้แทนจาก กกต. ผู้ร้องซักถามนายสมัครดังนี้

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ในรายการชิมไปบ่นไป และยกโขยง 6 โมงเช้านายสมัครเคยเรียกร้องผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ในฐานะที่ทำรายการ

          ไม่มีอ่ะ ผมยืนยันสาบานไว้ ณ ตรงนี้ ผมสาบานเมื่อกี้ (ก่อนให้การต่อหน้าคณะตุลาการ) ด้วยความสัตย์จริง ๆ ทุกประการผมไม่เคยเรียกร้องเลย ถ้าเรียกร้องอะไรเขา ขออย่าให้ผมมีความเจริญรุ่งเรืองบรรลัยวายวอด แต่ถ้าหากผมไม่ทำอย่างนั้น ขอให้ผมมีความเจริญรุ่งเรือง 

          ผมซื้อวัตถุดิบตามท้องตลาดตามความพอใจของผม ในรายการยกโขยงฯ ผมไปตลาดแต่เช้าผมจ่ายของผมเอง ส่วนค่าน้ำมันก็เรื่องของคนขับรถเป็นคนดูแล ถ้าผมออกเงินเองก็ไม่เคยเรียกร้องอะไร

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ทำรายการโดยไม่คิดค่าตอบแทนมีจุดประสงค์ใดเพื่อไม่รับค่าตอบแทน

          ผมจะเลิกอยู่แล้ว และให้หาพิธีกรมาใหม่ ระหว่างที่อยู่ให้เพราะทนายแนะนำมาว่าเรื่องรับจ้างไม่ใช่ลูกจ้าง เขาเอาตำรามาเปิดทุกข้อหมด (รัฐธรรมนูญ) ถ้าเป็นลูกจ้างจะเข้าตามนี้ ผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทเลย พอมีคนทักท้วงผมก็เลิก ถึงมีเทปก็ให้บอกเลิก ผมก็ขอสั่งให้เขาเลิก

//image.kapook.com/images/w_02.gif  เคยถ่ายทำ 4 ตอนต่อครั้งหนึ่งใน 2 รายการต่อมาเมื่อเป็นนายกฯแล้วเคยสั่งระงับยับยั้งในการนำเทปมาออกอากาศหรือไม่

          ตอนที่ยังไม่มีเรื่องผมไม่เคยระงับยับยั้ง แต่พอมีเรื่องผมก็สั่งห้าม เมื่อมีข่าวตามหนังสือพิมพ์ก็สั่งระงับทันที ทุกสถานีก็หยุดหมด ผมก็ไปเก็บเทปมาหมดด้วย

จากนั้น นายธนา เบญจาธิกุล ทนายความนายสมัคร ได้ซักถามนายศักดิ์ชัย ดังนี้

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ได้รู้จักกับนายสมัครเป็นการส่วนตัวหรือไม่

          ไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัว

//image.kapook.com/images/w_02.gif  เห็นว่าท่านมีคุณสมบัติอย่างไรจึงให้ท่านมาจัดรายการ 

          เราดูจากหนังสือที่ท่านเขียนเห็นว่าท่านเป็นคนที่รอบรู้ ในการเดินทางในการเดินตลาด และทำไมท่านถึงได้เก่งเรื่องอาหาร ท่านได้บรรยายลงในหนังสือจึงมีความคิดว่าท่านน่าจะเป็นบุคคลท่านหนึ่งที่ สามารถจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการประกอบอาหารของสังคมไทย จึงได้เขียนจดหมายไปทาบทามท่าน

//image.kapook.com/images/w_02.gif  เหตุผลที่ต้องทำรายการอาหารเห็นว่ามีประโยชน์อย่างไร

          สังคมไทยปัจจุบันมีอาหารฟาสต์ฟู้ด เข้ามาเกลื่อนตลาด และในครอบครัวน่าจะทานอาหารด้วยกันอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ถ้าพ่อสามารถปรุงอาหารได้ ก็เป็นผู้นำครอบครัวที่มีความอบอุ่น ก็มีความคิดอยู่เพียงเท่านี้

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ก่อนที่ผู้ถูกร้องจะเป็นนายกรัฐมนตรีมีวิธีการผลิตรายการอย่างไร

          ผลิตรายการปกติ คือ 1 เดือนอัดรายการครั้งเดียวแต่สามารถใช้ออกอากาศได้ 4 ครั้ง โดยใช้เวลาในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันขัตฤกษ์ วันที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานอัดรายการ

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ผู้ถูกร้องมีตำแหน่งอะไรในบริษัทบ้าง

          ไม่มีเลยให้การด้วยความสัตย์จริงตั้งแต่ทำรายการด้วยกันมา ท่านยังไม่รู้ว่าบริษัทอยู่ที่ไหน และยังไม่เคยไปเหยียบที่บริษัทเลย เพราะบันทึกเทปที่สตูดิโอ หรือที่ครัวจริงๆ เช่น ครัวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ก่อนผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรี มีค่าตอบแทนอะไรให้หรือไม่

          เป็นค่าตอบแทนในลักษะของดารานักแสดงทั่วๆ ไป บริษัทที่ทำรายการอาหารไม่ใช่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นพิธีกรรับจ้างอยู่คนเดียว บางทีท่านไม่มาก็ให้ดาราคนอื่นทำรายการแทน เช่นมีคุณน้ำผึ้ง, โอ-วรุต วรธรรม หรือดาราดังๆ มาแทน

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ผู้ถูกร้องถือว่าเป็นลูกจ้างบริษัทหรือไม่ 

          ไม่ถือครับเพราะไม่มีการจ่ายเงินเดือน ค่าประกันสังคม หรืออะไรทั้งสิ้น

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ช่วงที่ผู้ถูกร้องเป็นผู้ว่าฯกทม. ได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่องค่าตอบแทนหรือไม่

          ได้มีการพูดคุยกันหลังจากที่เราได้ดำเนินการ 2 เดือน ปรากฏว่าสังคมเริ่มรู้สึกว่า ผู้ว่าฯ กทม.เอาเวลามาทำงานหรือเปล่า ดังนั้นเพื่อให้สังคมยุติข้อพิพาทตรงนี้เราจึงยกเลิกรายการไป และนำเทปที่ท่านนายกฯเคยบันทึกไว้มาตัดต่อใหม่ ก็สามารถนำออกอากาศได้ ประมาณ 7-8 เดือน

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ช่วงที่ผู้ถูกร้องมาสมัครเป็นผู้แทนราษฎร ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้หรือไม่

          เราได้ทำจดหมายไปสอบถามท่านเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2550 ว่า ท่านยังสามารถเป็นนักแสดงการประกอบอาหารได้หรือไม่ จะขัดกฎหมายหรือไม่ ท่านก็มีจดหมายตอบกลับมาว่า ได้ปรึกษานักกฎหมายแล้วสามารถกระทำได้ แต่ว่าการกระทำนี้ท่านจะไม่รับเงินทั้งสิ้น และก็ได้ดำเนินการบันทึกเทปแค่ครั้งเดียว

//image.kapook.com/images/w_02.gif  รายการชิมไปบ่นไปมีการผลิตรายการอย่างไร มีการถ่ายรายการสดหรือไม่

          ไม่มีการถ่ายทำรายการสด เพราะรายการอาหารเป็นรายการที่ค่อนข้างจะยุ่งยากเพราะต้องมีวัสดุในการประกอบอาหารค่อนข้างเยอะ

//image.kapook.com/images/w_02.gif  หลังจากที่ผู้ถูกร้องได้เข้าเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว มีการบันทึกเทปช่วงไหน

          ได้บันทึกเทปก่อนล่วงหน้ารับตำแหน่ง

//image.kapook.com/images/w_02.gif  หลังจากที่ได้รับตำแหน่งมีการบันทึกเทปหรือไม่

          ได้มีการบันทึกเทปในวันที่มีการรดน้ำดำหัว ซึ่งเป็นการเก็บภาพบรรยากาศเฉพาะการรดน้ำดำหัวท่านนายกฯ ส่วนวิธีการทำอาหารก็ได้มีการบันทึกไว้ล่วงหน้าแล้ว

//image.kapook.com/images/w_02.gif  มีครั้งหนึ่งที่ได้ไปบันทึกเทปที่บ้านเป็นช่วงไหน 

          หลังจากที่นายสมัครเป็นนายกฯแล้ว ก็ไม่สามารถออกอากาศได้ เพราะท่านไม่เอา

//image.kapook.com/images/w_02.gif  รายการยกโขยง 6 โมงเช้า มีการบันทึกเทปหรือถ่ายทอดรายการสด 

          เหมือนกันเป็นการบันทึกเทปเพียงครั้งเดียว ก็ได้มา 3-4 เทปบ้าง

//image.kapook.com/images/w_02.gif  หลังจากเป็นนายกฯแล้วได้มีการบันทึกเทปรายการยกโขยงฯ หรือไม่ 

          เท่าที่จำได้มีแค่ครั้งถึง 2 ครั้ง

//image.kapook.com/images/w_02.gif  เมื่อได้ติดต่อให้นายสมัครมาเป็นพิธีกร ท่านได้เรียกร้องค่าตอบแทนหรืออะไรหรือไม่ 

          ไม่เคย

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ก่อนที่นายสมัครจะเป็นนายกฯทางบริษัทให้ค่าตอบแทนคำนวณอย่างไร 

          อยู่ในดุลพินิจของบริษัท ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ และก็ได้มี การเสียภาษีมาตลอดและถูกต้อง

//image.kapook.com/images/w_02.gif  หลังจากที่นายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วมีการคุยกันถึงเรื่องค่าตอบแทนหรือไม่ 

          ผมทำหนังสือเรียนถามท่านไปและท่านก็ได้ตอบกลับมาว่าท่านจะไม่รับค่าตอบแทน เราก็ไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

//image.kapook.com/images/w_02.gif  มีคำเบิกความของท่านและของคุณดาริกา รุ่งโรจน์ ว่ามีการจ่ายเงิน 3-5 พัน ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร 

          ข้อเท็จจริงก็ให้เงินคนขับรถไปเติมน้ำมันและฝากซื้อกับข้าวมาประกอบอาหารเท่านั้นเอง และก็ให้ไปแค่ครั้งเดียวแล้วเกิดเรื่องนี้ขึ้นมา

//image.kapook.com/images/w_02.gif  การขายโฆษณาเป็นเรื่องของใคร 

          เป็นเรื่องของทางบริษัท เฟซมีเดีย จำกัด ท่านนายกฯไม่มีส่วนมาเกี่ยวข้องเลย และท่านก็ไม่ใช่พนักงานของบริษัท เพราะฉะนั้นจะไปเกี่ยวข้องกับบริษัทคงเป็นไปไม่ได้ 

//image.kapook.com/images/w_02.gif  การขายโฆษณานายสมัครจะเป็นตัวดึงดูดให้ขายโฆษณาให้ดีใช่หรือไม่ 

          มุมมองของคนทั่วไปก็อาจจะคิดได้อย่างนั้น แต่ถ้าเป็นมุมมองของนักการตลาดก็จะดูว่าสินค้าของเขาเหมาะกับพรีเซ็นเตอร์คน ไหน เช่นอาจารย์ยิ่งศักดิ์ ก็มีแฟนประจำของเขา คุณชายถนัดศรี หรือหมึกแดงก็มีแฟนประจำ จึงอยู่ในดุลพินิจของการตลาดมากกว่าว่าจะสนับสนุนรายการหรือไม่

//image.kapook.com/images/w_02.gif  คนทำอาหารและเป็นพรีเซ็นเตอร์ด้วยในประเทศไทยมีเยอะหรือไม่ 

          มีไม่น่าจะเกิน 5-6 คน

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ผู้ซื้อโฆษณาจะพิจารณาเงื่อนไขอะไร 

          ดูช่วงเวลาที่ออกอากาศและกลุ่มเป้าหมายด้านการตลาดว่าตรงหรือไม่

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ประเภทของสินค้าที่จะสนับสนุนรายการเขาจะดูอย่างไร 

          สินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหารเลยก็ไม่มาสนับสนุนรายการ ต่อให้สนิทกันแค่ไหนหรือชอบใจกันแค่ไหน ก็คงไม่ลงเพราะไม่มีเหตุผลที่จะลง เช่นสินค้าจำพวกรถยนต์หรือเทคโนโลยี มาลงรายการอาหารก็ไม่เหมาะ จะเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

//image.kapook.com/images/w_02.gif  บริษัทมีรายได้อะไรจากการผลิตรายการ 

          มีรายได้จากการขายโฆษณาโดยครึ่งชั่วโมงเราจะขายโฆษณาได้ 5 นาที ตามเวลาที่สถานีกำหนดให้ ซึ่งถือเป็นกฎระเบียบของสถานี

//image.kapook.com/images/w_02.gif  เวลาผลิตรายการเสร็จแล้วเทปบันทึกรายการต้องส่งให้ใครก่อน 

          ส่งให้คณะกรรมการเซ็นเซอร์พิจารณาก่อนว่ามีโฆษณาแฝงหรือไม่ มีการใช้ถ้อยคำที่ขัดต่อกฎหมายในการออกอากาศหรือไม่ หากไม่ผ่านก็จะให้นำกลับมาแก้ไข

//image.kapook.com/images/w_02.gif  คำว่าโฆษณาแฝงหมายความว่าอย่างไร 

          เป็นโฆษณาที่เหมือนกับสังคมเมืองนอก เช่นรายการเรื่องเล่าเช้านี้มีถ้วยเนสกาแฟตั้งอยู่ ก็ถือว่าเป็นโฆษณาแฝง

//image.kapook.com/images/w_02.gif  โฆษณาแฝงแบบนี้ทำได้หรือไม่ได้ 

          เป็นเงื่อนไขของสถานีว่าจะกำหนดไว้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร จริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีรายได้หรือผลประโยชน์อะไรมากมาย บางทีก็เป็นตัวแถมมากกว่าไม่ใช่ค่าตอบแทน ถ้าสถานีกำหนดเอาไว้และทำเกินก็กำหนดให้มีโฆษณาแฝงเท่านี้แต่ทางรายการทำ เกินก็ต้องตัดออก แก้ไขหรือหาแผ่นป้ายมาบังไว้

//image.kapook.com/images/w_02.gif  มีผู้ร้องระบุว่า ผู้ถูกร้องไปทำรายการและยกไม้ยกมือในลักษณะเหมือนสนับสนุน เครื่องหมายการค้าของสินค้าหนึ่งเป็นการตกลงกันหรือไม่อย่างไร 

          ไม่มีเรื่องนี้สินค้าตัวดังกล่าวได้อยู่กับ เฟซมีเดีย มาตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง สิ่งที่กระทำมาเรื่อยๆ ก็เป็นเพียงการหยอกล้อกัน ที่ยกตัวอย่างอย่างนั้นก็หมายถึงอร่อย ไม่ได้หมายถึงที่ 1 และทุกครั้งก็จะพูดว่ามือที่ 3 ซึ่งหมายถึง กว่าจะมาถึงตัวนายสมัครก็เป็นมือที่ 3 แล้ว ไม่ได้มีนัยสำคัญหรือมาอะไรแอบแฝงทั้งสิ้น

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ช่วงที่มีการเชิญแขกรับเชิญมาสัมภาษณ์ในรายการใครเป็นผู้กำหนด 

          ผมเอง เพราะผมอ่านหนังสือพิมพ์และจะรู้เรื่องในวงการว่าตอนนี้ใครต้องการประชา สัมพันธ์อะไร สินค้าอะไรออกใหม่ และมีอะไรที่น่าสนใจในรายการผมจะเป็นคนเลือกเอง

//image.kapook.com/images/w_02.gif  คนที่สั่งให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ในความหมายของรายการคือใคร 

          ผู้กำกับการแสดง เมื่อผมผูกไทใส่สูท ผมก็จะมีหน้าที่เป็นมาร์เกตติ้ง แต่เมื่อเข้ามาในสตูดิโอแล้วผมก็จะเป็นโปรดิวเซอร์หลักของรายการ

//image.kapook.com/images/w_02.gif  พิธีกรสามารถบังคับให้คนโน้นคนนี้ทำตามในขณะผลิตรายการได้หรือไม่ 

          ตัวพิธีกรไม่สามารถบังคับได้ เราทำงานกับนายสมัครก็รู้กิตติศัพท์ดีว่าจะไปบังคับเขาไม่ได้ ต้องทำตามความเหมาะสม แต่หลักใหญ่โปรดิว เซอร์จะเป็นผู้สั่งการ ว่าจะให้รายการดำเนินไปในแนวทางไหน

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ในรายการยกโขยง 6 โมงเช้าหลังจากที่นายสมัครมาเป็นนายกฯแล้วมีตัวท่านเป็นพิธีกรกี่ครั้ง 

          ประมาณ 2 ครั้ง โดยถ่ายทำก่อนที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งที่จะเป็นนายกฯ

//image.kapook.com/images/w_02.gif  หลังจากที่นายสมัครเข้ามารับหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้มีการหารือเรื่องตัวพิธีกรอย่างไร 

          ผมในฐานะที่เป็นคนไทยก็ยังไม่รู้เรื่องรัฐธรรมนูญปี 50 จึงได้มีจดหมายไปถามท่านว่าสามารถมาทำหน้าที่พิธีกรได้เหมือนเดิมหรือไม่ เราก็ไม่ได้เรียนกฎหมายมา จึงต้องปรึกษาท่านให้ชัดเจนก่อน ท่านก็ตอบกลับมาว่าสามารถทำได้ แต่ไม่ขอรับค่าตอบแทน ซึ่งที่ออกอากาศหลังจากนายสมัครเป็นนายกฯ ก็ทำให้เปล่าๆ แต่ก็ถือว่าเป็นการสร้างคุโณปการให้สังคมไทย เพราะท่านเป็นเหมือนอาจารย์คนหนึ่ง เป็นครูหรือวิทยากรคนหนึ่ง

จากนั้นนายเรืองไกร ในฐานะผู้ร้องได้ซักถามนายศักดิ์ชัย ดังนี้

//image.kapook.com/images/w_02.gif  หลังจากที่บันทึกเทปที่บ้านนายสมัครรับตำแหน่งเป็นนายกฯแล้ว แต่ยังไม่ได้ออกอากาศ หลังจากนี้ได้มีการบันทึกเทปอีกหรือไม่ 

          ไม่มี

//image.kapook.com/images/w_02.gif  หนังสือพิมพ์ข่าวสดวันที่ 9 มีนาคม 50 พาดหัวข่าวว่า "หมัก โผล่ประจวบ โชว์เขียวหวานไก่" มีเนื้อหาว่านายสมัครพร้อมทีมงานจาก รายการยกโขยง 6 โมงเช้าทางช่อง 3 รายการดังกล่าวสอดคล้องกับเทปที่ได้ดู ซึ่งมีพยานของบริษัทอยู่ในเหตุการณ์ด้วย พยานยังยืนยันหรือไม่ว่าไม่เคยบันทึกเทปหลังจากที่นายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรี 

          ผมเรียนให้ทราบว่า มีการไปถ่ายทำจริง แต่ว่าจะได้ออกอากาศหรือไม่ขึ้นอยู่กับเทปเก่าที่ยังไม่ได้ออกอากาศมีอยู่ หรือไม่ ถ้ายังมีก็ต้องนำเทปเก่ามาออกอากาศก่อน 

          ในกรณีที่ไปหัวหินมีการออกอากาศ 2 ครั้ง ซึ่งเห็นรูปของพยานกลัวสังกะสีจะไปโดนหัวนายกฯก็เอามือไปจับออกไป และในตลาดสุโขทัย ที่มีผู้หญิงเสื้อเหลืองมาทักทายนายสมัครว่า "สวัสดีค่ะท่านนายกฯ" ลักษณะดังกล่าวพยานจำไม่ได้หรือว่านายสมัครได้บันทึกเทปหลังจากเป็นนายกฯ แล้ว และในข่าวมีระบุตามอีกว่า สั่งยุติรายการวันที่ 17 พฤษภาคม 2551 กะทันหัน และนายสมัครก็นำมาพูดในรายการสนทนาประสาสมัครวันที่ 18 พฤษภาคม 51 ว่านายกรัฐมนตรีสั่งยุติรายการ ซึ่งขัดแย้งกับที่ท่านบอกว่าเป็นเพียงผู้รับทำรายการยิ่งไปกว่านั้นทุกครั้ง ที่เห็นนายกฯสมัคร 

         
ขณะที่นายเรืองไกรได้ถามถึงช่วงนี้นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ตั้งคำถามกับนายเรืองไกร โดยกล่าวว่า ฝ่ายผู้ถูกร้องได้มา เบิกความก็ได้ยอมรับพยานวัตถุหรือเทปต่างๆ ไว้แล้ว ในส่วนนี้คิดว่าไม่ต้องถามพยานและวันเวลาในการบันทึกก็มีปรากฏอยู่แล้วให้ เปลี่ยนคำถามและขอให้ถามแยกรายการด้วย 

          ส่วนนายศักดิ์ชัย กล่าวว่าขอนิดนึง เดี๋ยวจะหาว่าผมให้การเท็จ ที่ให้การเมื่อสักครู่เป็นรายการชิมไปบ่นไป ซึ่งผมให้การไปแบบนั้นคือเรื่องของรายการชิมไปบ่นไป แต่เรื่องรายการยกโขยง 6 โมงเช้า เป็นเรื่องพลอยฟ้าพลอยฝนทีหลัง ขอชี้แจงให้ทราบ จากนั้นนายเรืองไกรได้ซักถามต่อว่า


//image.kapook.com/images/w_02.gif  ต้องการชี้ให้เห็นว่าช่วงที่ถ่ายทำรายการยกโขยง 6 โมงเช้า ก็มีการออกไปถ่ายทำใน 3-4 จังหวัด หลังจากที่เป็นนายกฯแล้วใช่หรือไม่ 

          เมื่อผู้ถูกร้องยอมรับไปแล้วผมก็คงไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ 

          ปรากฏว่านายวสันต์ได้กล่าวขึ้นว่าคุณพูดยังไง คุณศักดิ์ชัย นี่คุณแปลว่า ถ้าหากท่านนายกฯไม่ยอมรับคุณก็พร้อมที่จะโกหกศาลงั้นเหรอ 

          นายศักดิ์ชัย ตอบว่า ผมไม่ได้โกหก ผมบอกให้แยกรายการว่าชิมไปบ่นไปเป็นแบบนั้น ทำให้นายวสันต์ ได้ถามขึ้นอีกว่า

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ในระหว่างที่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ได้มีการถ่ายทำกันกี่ครั้ง 

          ประมาณ 2-3 ครั้ง ในหลายจังหวัด

//image.kapook.com/images/w_02.gif  แบบแสดงรายการเสียภาษีของนายกรัฐมนตรี ว่ามีเงินได้ 8 แสน บาท เป็นเงินที่หัก ณ ที่จ่ายบริษัทเฟซมีเดีย จ่ายให้ถูกต้องหรือไม่ 

          เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของฝ่ายบัญชีการเงิน 

          จากนั้นนายวสันต์ได้ระบุว่า ให้ยุติตามนั้นเพราะผู้ถูกร้องก็ยอมรับตามนั้น ลูกน้องของพยานก็ยอมรับตามนั้น สรรพากรเขาก็ยืนยันตามนั้น คุณเรืองไกรจะถามให้มันได้อะไร 

         
เมื่อพูดถึงตรงนี้นายเรืองไกรได้กล่าวขึ้นว่า มีครับท่านต้องขออนุญาตเนื่องจากว่าใน ภ.ง.ด.1 ก. ปี 50 ยื่นว่า ตัวพยาน (ศักดิ์ชัย) มีเงินได้ทั้งปี 240,000 บาท เงิน 800,000 บาท กับเงิน 240,000 บาท ที่ผมจะเรียนให้ท่านพิจารณามีความต่างกัน มีสาระสำคัญที่แตกต่างกัน ซึ่งแสดงว่าแม้แต่คนที่เป็นกรรมการผู้จัดการ ยังมีเงินได้ทั้งปีน้อยกว่าคนที่เป็นพิธีกร 

          ทำให้นายวสันต์ กล่าวว่า ท่านเรืองไกรครับไม่ใช่เรื่องใหญ่โต คุณศักดิ์ชัยเป็นเจ้าของบริษัทก็มีส่วนแบ่งจากการถือหุ้น เขามีเงินปันผลเขามีอะไรอีกสารพัดกรรมการมีเงินเดือนไม่กี่สตางค์หรอก แต่เขามีรายได้อื่นอีกเยอะ จากนั้นนายเรืองไกร ถามต่ออีกว่า


//image.kapook.com/images/w_02.gif  รายการที่ออกอากาศช่วงเช้าคือรายการยกโขยง 6 โมงเช้า เที่ยว เมืองสิงห์บุรีพิธีกรของท่านคือใคร 

          เป็นดารา คือ ไชยา มิตรชัย และดาราสาวคือแอน มีความต่าง กันที่คุณศักดิ์ชัยไม่ได้ตามไปกำกับรายการและกรรมการบริษัทซีพีก็ไม่ได้ตาม ไปทำให้เห็นความสำคัญของตัวพิธีกร หลังจากที่นายสมัครมาเป็นพิธีกร ทุกคนรู้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรี และต้องเสียเวลา เอาเวลาในการบริหารราชการแผ่นดินและนายสมัครมักจะพูดอยู่เสมอว่า อาหารที่เขาทำอร่อยแน่ ไม่ใส่ผง ชูรส โดยใช้พริกไทยตรามือก็อร่อยทุกครั้ง ที่อัดรายการชิมไปบ่นไป ซึ่งพยานไม่ใช่โปรดิวเซอร์แต่นายสมัครเป็นผู้จัดการเองทุกอย่าง แม้แต่เทปก็สามารถ สั่งหยุดรายการได้ 

          ระหว่างนั้นตุลาการท่านหนึ่งพูดแทรกขึ้นว่า ต้องให้พยานตอบและสิ่งที่ผู้ร้องถามเป็นข้อเท็จจริงของศาลที่จะใช้ดุลยพินิจ ว่าการกระทำดังกล่าวใกล้ชิดกันอย่างไร ถ้าจะให้พยานยอมรับก็ต้องตอบไปเรื่อยเปื่อยอาจจะให้เหตุผลว่าติดธุระไปไม่ ได้ ขอให้เปลี่ยนคำถามดีกว่ามันเสียเวลา 

         
ทั้งนี้นาย เรืองไกร ได้อ้างเอกสาร ส1/77 กรณีที่นายสมัครไม่ยื่นรายได้ เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์ ที่ทางบริษัทจะทำหนังสือจำนวนเงิน 378,000 บาท และบริษัท เฟซ มีเดีย จำนวนเงิน 80,000 บาท และได้อ้างในพยานหลักฐาน ส1/714 ในการหักภาษี ณ ที่จ่ายบริษัทเฟซ มีเดีย หักนายสมัครเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 43 จำนวนเงิน 80,000 บาท หักไว้ 3% เป็นเงิน 2,400 บาท ทำไมต้องมีค่าลิขสิทธิ์ 

         
ทำให้ตุลาการท่านนั้นกล่าวขึ้นว่า ค่าลิขสิทธิ์เขาจ่ายให้กับบริษัทผู้พิมพ์หนังสือเป็นคนละส่วนของพยาน ไม่เกี่ยวกัน 

          นายเรืองไกรพยายามชี้แจงว่า บริษัทเฟซ มีเดียจะต้องจ่ายให้ท่านนายกฯ ทำให้ตุลาการท่านนั้นกล่าวว่า บริษัทอัมรินทร์ พรินติ้งน่าจะเป็นผู้จ่าย ส่วนบริษัทเฟซ มีเดีย จะจ่ายให้เฉพาะค่าแสดง นายเรืองไกร จึงกล่าวยืนยันกับศาลว่า บริษัทเฟซ มีเดีย ต้องจ่ายโดยให้ดูในพยานหลักฐานที่ตนนำมาแสดงต่อศาล ซึ่งมีระบุเอาไว้ชัดเจน ทำให้ศาลก็ถามกลับไปว่า แล้วผู้ร้องจะถามพยานเพื่อให้ได้อะไรขึ้นมา นายเรืองไกร กล่าวว่า เพื่อให้เห็นว่าประโยชน์จากการเป็นพิธีกรแล้ว ยังมีผลประโยชน์อื่นที่เคยรับมาจากบริษัทอัมรินทร์ พรินติ้งด้วยหรือไม่


//image.kapook.com/images/w_02.gif  ศาลถามว่า ทำไมไม่ถามตัวผู้ถูกร้องเอง 

          เนื่องจากทางบริษัทเฟซ มีเดียเป็นผู้หัก และนำส่งสรรพากร

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ศาลถามต่อว่า ถ้าค่าลิขสิทธิ์เป็นของอัมรินทร์ฯ แล้วทำไมบริษัทเฟซ มีเดียจะต้องเป็นผู้หักภาษี 

          ที่นายกฯสมัครยื่นแบบไว้ มีลิขสิทธิ์ของ 2 บริษัท ดังนั้นจึงต้องการถามพยานว่า พยานบอกว่าเริ่มตั้งแต่ปี 44 แล้วทำไมลิขสิทธิ์ถึงได้เกิดเมื่อปี 43 ขอให้ตุลาการได้พิจารณาด้วย

จากนั้น พ.อ.สันธิรัตน์ ผู้ถูกร้องที่ 2 ในฐานะตัวแทน กกต.ได้ ซักถามนายศักดิ์ชัย ดังนี้

//image.kapook.com/images/w_02.gif  พยานมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการจ่ายค่าน้ำมัน ให้กับนายสมัคร ที่มาทำหน้าที่พิธีกรของพยาน 

          ดูจากกิโลเมตร ไปกลับแล้วบวกเพิ่มอีก 10-15% ใช้หลักการเดียวกับพนักงานส่งเอกสาร

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ใครเป็นผู้อนุมัติจ่ายเงินให้กับนายสมัคร 

          ได้แจ้งว่าได้จ่ายให้คนขับรถ น่าจะบอกว่าจ่ายให้กับคนขับรถใช่นายสมัคร 

          ระหว่างนั้นศาลได้แทรกขึ้นมาว่า ผู้ร้องถามว่าหลักเกณฑ์การจ่ายใครเป็นผู้อนุมัติ ต้องมีผู้อนุมัติใช้หรือไม่ ทำให้นายศักดิ์ชัย กล่าวว่า เป็นพนักงานบัญชีคือนางดาริกา กับบุคคลหนึ่งที่สามารถสั่งจ่ายได้

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ใครเป็นผู้นำเงินไปมอบให้กับคนขับรถ 

          ฝ่ายบัญชีการเงิน

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ท่านเคยสอบถามหรือไม่ว่าเงินค่าน้ำมันรถที่จ่ายให้คนขับรถนั้น คนขับรถได้เรียนให้นายสมัครทราบหรือไม่ 

          ไม่เคยถาม

//image.kapook.com/images/w_02.gif  การจัดซื้อวัตถุดิบนอกเหนือจากที่ทางรายการกำหนดได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินเพิ่มให้กับนายสมัครอย่างไร 

          ปกติแล้วทางรายการจะเตรียมไว้ให้ แต่บางอย่างพิธีกรจะเชี่ยวชาญ กว่าอาจจะไม่ถูกใจ ก็ตั้งงบเพื่อไว้ 10-15%

//image.kapook.com/images/w_02.gif  บริษัทเฟซ มีเดีย มีที่ปรึกษากฎหมายหรือไม่ 

          ไม่มี

//image.kapook.com/images/w_02.gif  มีข้อความในหนังสือระบุว่า ก่อนที่จะมีการรับสมัครเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 23 ธันวาคม พยานได้ถามนายสมัครว่า สามารถที่จะทำหน้าที่เป็นพิธีกรได้หรือไม่ ซึ่งข้อความดังกล่าวระบุถึงความห่วงใย ดังนั้นท่านได้ระงับยับยั้งหรือไม่หากเทปที่ได้ออกอากาศไป จะทำให้ท่านสมัครเกิดความเสียหาย 

          หลังจากที่ได้รับจดหมายทุกอย่างก็ได้ยุติลง และเริ่มบันทึกเทปใหม่

//image.kapook.com/images/w_02.gif  ในฐานะที่ท่านก็ห่วงใยเมื่อนายสมัครรับตำแหน่งนายกฯแล้วเหตุใดท่านจึงไม่ระงับการออกอากาศ เพื่อไม่ให้ท่านเกิดความเสียหาย 

          การส่งเทปให้ส่งก่อนล่วงหน้า 1 สัปดาห์ ส่งได้ทีครั้งละ 1 เทป

จากนั้นศาลได้ซักถามนายศักดิ์ชัย ดังนี้

//image.kapook.com/images/w_02.gif  รายการที่นายกฯไปเป็นพิธีกรมีสัญญาลักษณ์เป็นรูปตัวการ์ตูนคนครัว และจมูกชมพู่ อยากทราบว่าสัญลักษณ์นี้ใช้มาตลอดตั้งแต่ นายกฯเป็นพิธีกรจนถึงปัจจุบัน แม้นายกฯไม่ได้ เป็นพิธีกรแล้วใช่หรือไม่ 

          ใช่ครับ

//image.kapook.com/images/w_02.gif  บริษัทเฟซ มีเดีย เคยจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับผู้ถูกร้องใช่หรือไม่ 

          การจ่ายเงินเราจะจ่ายเป็นเทปๆ ส่วนการ ลงบัญชีเป็นค่าอะไรก็เป็นเรื่องของผู้ถูกร้อง เราก็จ่ายเป็นเทปเหมือนดาราทั่วไป และในช่วงแรกที่เราทำงานกับนายกฯทางบริษัทอัมรินทร์ฯ ก็เป็นผู้ประสานงานให้

//image.kapook.com/images/w_02.gif  การโฆษณาในรายการ ถ้านำสินค้ามาโชว์หรือนำมาใช้ โดยพลิกยี่ห้อให้เห็นถือเป็นโฆษณาแฝงหรือฆษณาตรง 

          บ้านเราเรียกโฆษณาแฝง ซึ่งทุกรายการทำแบบนี้

//image.kapook.com/images/w_02.gif  เขาได้สปอนเซอร์หรือไม่ 

          สปอนเซอร์จะจ่ายโดยวิธีเป็นแบบเหมาจ่าย ส่วนรายการอื่นจะไปแยกอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการตกลง

//image.kapook.com/images/w_02.gif  โฆษณาอีกแบบหนึ่งมีตราสินค้าหรือผู้ผลิตติดอยู่หลังพิธีกร ถือเป็นโฆษณาแฝงหรือโฆษณาจริง 

          เป็นโฆษณาที่ทางช่องอนุมัติ

//image.kapook.com/images/w_02.gif  รู้สึกอย่างไรที่นายสมัครมาเป็นพิธีกรให้ฟรีๆ ถือว่าบริษัทได้ ประโยชน์ใช่หรือไม่ 

          ถ้าคิดอย่างนักธุรกิจที่ไม่มีจรรยาบันก็ใช่ ซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

//image.kapook.com/images/w_02.gif  เคยคิดหรือไม่ว่ามีนายกฯมาช่วยทำมาหากิน 

          ผมไม่ได้คบกับนายกรัฐมนตรี ผมคบกับนายสมัคร 

          หมายเหตุ.........ผู้ร้องและผู้ถูก ร้องได้ซักค้านพยานแล้วพร้อมทั้งให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้สอบถามโดยใช้ เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นได้นัดอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 9 กันยายน ในเวลา 14.00 น. ที่ศาลรัฐธรรมนูญ



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดคำให้การ สมัคร สุนทรเวช คดีชิมไปบ่นไป อัปเดตล่าสุด 9 กันยายน 2551 เวลา 11:44:00 15,685 อ่าน
TOP