ครั้งหนึ่งในชีวิตผู้ร่วมเดินริ้วขบวนแห่พระศพ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
บรรยากาศงานพระราชพิธีออกพระเมรุพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ผ่านสายตาปวงชนชาวไทยไปแล้วด้วยความตระการตายิ่ง ความสง่างาม อลังการ ของริ้วขบวนพระมหาพิชัยราชรถ ราชรถน้อย กระทั่งพระยานมาศสามลำคาน ที่เชิญพระโกศพระศพตรึงตาอยู่ในความทรงจำของประชาชนที่ได้เห็น
"สง่างาม สมพระเกียรติ ที่สุด" คือความรู้สึกของประชาชนสองฟากฝั่งถนนรอบๆ สนามหลวง ซึ่งเป็นมณฑลพระราชพิธี
สำหรับคนที่มีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของริ้วขบวนอันสำคัญและเป็นบันทึกประวัติศาสตร์นี้ แน่นอนว่ายิ่งตื่นเต้นที่ได้ชื่นชม "ของจริง" อย่างใกล้ชิด เป็นโอกาสที่แทบจะหาไม่ได้เลยในชีวิต
"คนเหล่านั้นความรู้สึกเช่นไร ต่อไปนี้คือ คำตอบ"
"เกรียงศักดิ์ เล่าเรียนเพียรเจริญ" ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ 5 กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายให้เป็นคนหามเสลี่ยงกลีบบัว ซึ่งให้พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่นั่งในช่วงเดินทักษิณานุปทานรอบพระเมรุ กล่าวด้วยความรู้สึก
"เพิ่งจะเคยมาร่วมงานเป็นครั้งแรกในชีวิต รู้สึกตื่นเต้นมากนอนไม่ค่อยหลับ เพราะกังวลว่าจะทำอะไรได้ถูกต้องตามที่ซ้อมมาหรือไม่ ตอนซ้อมก็ไม่มีอะไรมากไม่มีปัญหาเลย สามารถผ่านไปด้วยดี แต่พอมาเจอกับเหตุการณ์จริงตื่นเต้นมากครับ ต้องคอยระวังจังหวะในการเดิน การก้าว ต้องให้พร้อมเพรียงกับคนอื่นๆ ในขบวน"
อย่างไรก็ตาม เกรียงศักดิ์บอกว่า เป็นความภาคภูมิใจมากที่ได้รับเลือกให้มาทำหน้าที่นี้ "ทั้งตื่นเต้นและภูมิใจครับ เพราะไม่รู้ว่าชีวิตนี้จะมีโอกาสมาร่วมงานแบบนี้อีกหรือไม่" เกรียงศักดิ์กล่าวยิ้มๆ
เจ้าพนักงาน "จ.ส.ต.ธวัช มูลเดช" ประจำอยู่กรมพลาธิการทหาร เปิดเผยความรู้สึกของการได้เข้าร่วมในพระราชพิธีอันสำคัญนี้ ว่าได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมเดินในริ้วขบวนที่ 1 ธงสามชาย ซึ่งจะต้องเดินเป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ว่าเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในชีวิต โดยเฉพาะการได้รับใช้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯเป็นครั้งสุดท้าย ตลอดช่วงที่มีพระชนม์ชีพอยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อประชาชนคนไทยอย่างมาก โดยเฉพาะทรงห่วงใยและดูแลทหารในถิ่นทุรกันดาร ทรงงานทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อพสกนิกร
"ครั้งนี้ถือว่าเป็นเกียรติยศกับวงศ์ตระกูลอย่างมาก ทั้งตื้นตันและภูมิใจ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็อดจะใจหายไม่ได้ที่ท่านไม่ได้อยู่กับพวกเราชาวไทยแล้ว จะไม่ลืมท่านเลย กลับไปบ้านจะไปเล่าให้พ่อแม่ญาติพี่น้องฟังถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ผมถ่ายรูปไว้เยอะจะเอาไปให้คนที่บ้านดูและเล่าให้พวกเขาฟัง"
"รสิตา วัชโรทัย" เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักพระราชวัง กล่าวถึงความรู้สึกของการได้เข้าร่วมเดินในริ้วขบวนซึ่งเป็นครั้งแรกในชีวิตเช่นกัน ว่ารู้สึกตื่นเต้นเป็นธรรมดา ก่อนหน้านี้ได้ไปซ้อมเดินกับคนอื่นๆ ที่จะร่วมในขบวน ซึ่งในส่วนของการซักซ้อมมีปัญหานิดหน่อย แต่ไม่มีอะไรมาก
"ได้เดินในริ้วขบวนที่ 4 ของวันที่ 16 พฤศจิกายน ในเวลา 08.00 น. ซึ่งเป็นริ้วขบวนที่อัญเชิญพระโกศพระอัฐิจากพระเมรุท้องสนามหลวงกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง เพื่อนำไปประดิษฐานที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ความรู้สึกที่มีคือตื้นตันใจและประทับใจมาก รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เป็นครั้งแรกในชีวิตจริงๆ สำหรับตัวเองเป็นตัวแทนจากกองประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง"
นายจุมพล โตเมศร์ ผู้ประคองพระโกศพระศพ - ขบวนธงสามชาย
รสิตาบอกว่า ก่อนหน้านี้ทราบว่าจะมีการคัดเลือกบุคลากรร่วมเดินในริ้วขบวน แต่ไม่ทราบว่าจะถูกคัดเลือก พอรู้ว่าได้รับคัดเลือกก็ดีใจและตื้นตันมากที่จะได้รับใช้เป็นครั้งสุดท้าย พ่อแม่ก็ภูมิใจและดีใจที่ลูกมีส่วนร่วมในริ้วขบวนครั้งนี้ เพราะเป็นตัวแทนของวงศ์ตระกูล"
หญิงสาวอธิบายถึงริ้วขบวนที่เธอร่วมเดินว่า สำหรับริ้วขบวนที่ 4 มีชาย 40 คน หญิง 40 คน การแต่งตัวใช้ชุดดำเป็นชุดไทย ประดับด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขั้นสูงสุดที่ได้รับ
"ชุดนี้ทางสำนักพระราชวังจัดสรรงบประมาณเพื่อให้บุคลากรสำนักพระราชวังได้ตัดชุด ส่วนการเดินนั้นเป็นการเดินมาร์ชปกติ ไม่เหมือนกับการเดินในวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่เป็นมาร์ชพญาโศก ความแตกต่าง คือมาร์ชปกติจะก้าวซ้าย-ขวาตามปกติ ซึ่งต้องพร้อมเพรียงกัน ทั้งผู้หญิงผู้ชาย" กล่าวสีหน้ายิ้มแย้ม
"จุลพล โตเมศร์" ผู้เข้าร่วมพระราชพิธีในริ้วขบวนที่ 1 แต่งกายเป็นเทวดาทำหน้าที่ประคองพระโกศพระศพ เปิดเผยถึงความรู้สึกที่ได้ร่วมเดินในริ้วขบวนประวัติศาสตร์ ว่ายังตื่นเต้นและตื้นตันใจเหมือนเคย เพราะตนเคยร่วมเดินในริ้วขบวนมาแล้วครั้งหนึ่ง ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่ 2 ในชีวิต
"ถึงแม้จะไม่ใช่ครั้งแรก แต่ความรู้สึกยังตื่นเต้นและซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และถือเป็นการทำงานรับใช้ครั้งสุดท้าย ในงานครั้งนี้ โดยผมทำหน้าที่เป็นเทวดาประคองพระโกศพระศพ ซึ่งการทำงานครั้งนี้เราต้องนั่งไปบนพระมหาพิชัยราชรถ ต้องอาศัยการประคองตัวพอสมควร โดยนั่งคู่กับคุณวัชรกิติ วัชโรทัย ดังนั้น ก่อนถึงวันงานก็ต้องฟิตซ้อมร่างกายให้แข็งแรง เพราะพระมหาพิชัยราชรถหากมองจากพื้นขึ้นไปก็สูงเหมือนกันและขึ้น-ลงลำบากอยู่สักหน่อย"
อย่างไรก็ตาม จุลพลบอกว่า จะจดจำเหตุการณ์นี้ไปตลอดชีวิต เพราะเป็นความปลาบปลื้มที่สุดที่ได้รับใช้จนถึงที่สุด
(บน) ประชาชนผู้เข้าร่วมเดินในริ้วขบวนงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอฯ
(ล่าง) นักเรียนจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
"จ.ส.อ.นิรันดร์ บัวเผื่อน" ตำแหน่งพลขับ กองพันทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ อายุ 47 ปี ซึ่งทำหน้าที่ยิงปืนเล็กยาวเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธี เป็นอีกผู้หนึ่งที่บอกเล่าความรู้สึกในงานประวัติศาสตร์ ว่าเป็นอีกครั้งที่รู้สึกภาคภูมิใจ เพราะครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่ได้มาทำหน้าที่สำคัญยิงปืนใหญ่งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ โดยครั้งแรกทำหน้าที่ในงานพระบรมศพสมเด็จย่า
"ผมอยู่หมู่ที่ 3 ทำหน้าที่เป็นพลขับลากปืนใหญ่มาจอดที่ท้องสนามหลวง และจะต้องร่วมนับกระสุนด้วยว่ายิงครบตามจำนวนหรือไม่ การทำหน้าที่นี้ แม้จะไม่ได้ร่วมเดินในขบวน แต่ก็ถือว่าได้ทำงานถวายพระองค์ท่านด้วยความจงรักภักดี ในชีวิตผมครั้งนี้เป็นความเสียใจที่ยิ่งใหญ่ครั้งที่ 2 ครั้งแรกนั้นรู้สึกใจหายที่สมเด็จย่าท่านสวรรคต และก็มาครั้งนี้ที่ในหลวงท่านทรงสูญเสียพี่สาวที่รักยิ่ง การสูญเสียของในหลวงนั้นประชาชนชาวไทย ทหารทุกเหล่าทัพก็เสียใจเช่นเดียวกัน ผมเองภูมิใจครับที่ได้เข้าร่วมในพิธีทั้งสองครั้ง เพราะนับเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตราชการก่อนที่จะเกษียณ" จ.ส.อ.นิรันดร์กล่าว
ส่วนเพื่อนที่มาทำหน้าที่ด้วยกัน "จ.ส.อ.บุญมี ตักโพธิ์" กล่าวความในใจด้วยว่า "ผมรู้สึกพูดไม่ออกที่จะต้องสูญเสียบุคคลสำคัญที่สุดผู้หนึ่งของประเทศ และยังทรงเป็นที่รักของประชาชนชาวไทย"
"ผมทำงานเป็นทหารรับใช้ชาติมา 7 ปีแล้ว รู้สึกภาคภูมิใจมากกับหน้าที่ของตัวเอง ครั้งนี้เป็นครั้งหนึ่งในชีวิตที่มีโอกาสรับใช้ท่าน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ไม่เคยทรงเลือกว่าจะช่วยเหลือฝ่ายใด ทรงช่วยเหลือทุกหมู่เหล่าโดยไม่แบ่งแยกว่าจะเป็นฝ่ายใด" เสียงเข้มแข็งของ ส.อ.นพดล เดชคง พลขับรถลากปืน อายุ 33 ปี
ด้าน "พ.ท.อัครเดช ศิริชัย" หัวหน้าแผนกกองกำลังพล กรมพลาธิการทหารบก ทำหน้าที่ควบคุมฉัตรเครื่องสูงและเสลี่ยงกลีบบัวพระนำ ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวดหลังพระนำ ฉัตรเครื่องสูงหักทองขวางหน้า อินทร์พรหมจามร (อยู่เคียงคู่กับเสลี่ยงกลีบบัวพระนำในริ้วขบวนที่ 1 เล่าว่า เป็นครั้งแรกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของริ้วขบวนอัญเชิญพระศพ โดยกองทัพบกมอบหมายให้ดูแลเรื่องฉัตรเครื่องสูงต่างๆ ซึ่งเมื่อได้รับมอบหมายมาแล้วต้องศึกษาจากจดหมายเหตุงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และศึกษาจากวิดีโอ เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด ให้สมพระเกียรติที่สุด
"ปัญหาคือ ฉัตรมีน้ำหนักค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นต้องคัดเลือกคนที่ตัวใหญ่ และต้องเข้าคอร์สออกกำลังเป็นพิเศษ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมสำหรับวันงานพระราชพิธี แม้จะเป็นทหาร แต่เมื่อต้องมาเดินในริ้วขบวนอัญเชิญพระโกศก็ยังต้องฝึกซ้อมท่าเดินไม่ให้พลาด โดยซ้อมตั้งแต่เดือนสิงหาคม เป็นงานที่ตั้งใจอย่างเต็มที่ที่สุด รู้สึกเป็นเกียรติแก่ตนเอง วงศ์ตระกูล และหน่วยงานอย่างมาก" พ.ท.อัครเดชบอก
"พ.จ.อ.อัฑฒวรรษ วุฒิกูล" ผู้ซึ่งอยู่ในชุด "สารวัตร" คอยให้สัญญาณ วัยอายุ 51 ปี เป็นผู้ควบคุมเครื่องประโคม ตั้งแต่กลองชนะถึงสังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง เล่าให้ฟังว่า เริ่มมีส่วนร่วมในริ้วขบวนตั้งแต่ครั้งงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และงานพระราชทานเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และครั้งนี้ โดยในริ้วขบวนครั้งแรกและครั้งที่สองนั้น ทำหน้าที่เป่าแตรงอน กับสังข์ ปัจจุบันมาช่วยราชการสำนักพระราชวัง เพราะมีความรู้ ประสบการณ์ ทำให้หัวหน้าฝ่ายเครื่องสูงและกลองชนะไว้ใจให้ดูแลควบคุมวงแทนท่านที่อายุ 70 ปีแล้ว
นอกจากควบคุมเครื่องประโคมแล้ว พ.จ.อ.อัฑฒวรรษ ยังมีความรู้ในเรื่องการจัดริ้วขบวน ซึ่งในครั้งนี้ได้ทำหน้าที่แนะนำการวางตัวบุคคลแต่ละริ้วขบวน เพราะเคยเห็นมาแล้ว
"เราอยู่ในขบวนเครื่องประโคมจะอยู่แต่ข้างหน้า ไม่เคยเห็นเครื่องสูงที่อยู่ด้านหลัง จึงต้องศึกษาบันทึกเก่าๆ และดูจดหมายเหตุ จนทุกวันนี้ มั่นใจว่ามีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น สามารถแนะนำการจัดริ้วขบวนได้อย่างถูกต้อง" กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่น
หากถามถึงความภาคภูมิใจกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในครั้งนี้...
พ.จ.อ.อัฑฒวรรษบอกว่า รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก เพราะงานพระราชพิธีครั้งนี้ แต่ละริ้วขบวนจะใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง ในการเดิน ซึ่งเหนื่อยมาก แต่ก็ภูมิใจที่ได้รับใช้พระองค์ท่านที่ทรงเหน็ดเหนื่อยยากกว่าเป็นแสน เป็นล้านเท่า ดังนั้น เวลาอยู่ในงาน นึกถึงพระองค์ก็หายเหนื่อย หายปวด หายเมื่อย หายล้า
"ผมทำหน้าที่ด้วยความปลาบปลื้มใจที่มีโอกาสได้รับใช้ แม้ในช่วงที่ท่านยังมีพระชนม์ชีพ เราไม่ได้สนองพระคุณ แต่เมื่อวันที่ท่านสิ้นพระชนม์ เราก็ได้ทำแล้ว เป็นความภูมิใจสูงสุดในชีวิต ที่ได้รับใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ โดยรับใช้มาตั้งแต่อายุ 22 ปี จนถึงตอนนี้ อายุ 51 ปีแล้ว"
"วันนี้มาทำหน้าที่ควบคุมวง เวลาสั่งวง แล้วมีเสียงประโคมดังขึ้นมาจะรู้สึกตื้นตันใจทุกครั้ง เพราะนี่เป็นสิ่งที่เราเคยปฏิบัติ" ชายวัย 51 ปี บอกกล่าวความรู้สึก
เสียงปี่เปิงครวญเพลง "พญาโศกลอยลม" ดังลอยมา ได้ยินแล้วให้รู้สึกเศร้า จวนเจียนใจจะขาด เป็นเสียงปี่เปิงที่ดังประโคมอยู่ตลอดเวลาในริ้วขบวนงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายแล้วที่เหล่าพสกนิกรได้ร่วมกันส่งเสด็จยังพระวิมานชั้นฟ้า
ร่วมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
บรรยากาศงานพระราชพิธีออกพระเมรุพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ผ่านสายตาปวงชนชาวไทยไปแล้วด้วยความตระการตายิ่ง ความสง่างาม อลังการ ของริ้วขบวนพระมหาพิชัยราชรถ ราชรถน้อย กระทั่งพระยานมาศสามลำคาน ที่เชิญพระโกศพระศพตรึงตาอยู่ในความทรงจำของประชาชนที่ได้เห็น
"สง่างาม สมพระเกียรติ ที่สุด" คือความรู้สึกของประชาชนสองฟากฝั่งถนนรอบๆ สนามหลวง ซึ่งเป็นมณฑลพระราชพิธี
สำหรับคนที่มีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของริ้วขบวนอันสำคัญและเป็นบันทึกประวัติศาสตร์นี้ แน่นอนว่ายิ่งตื่นเต้นที่ได้ชื่นชม "ของจริง" อย่างใกล้ชิด เป็นโอกาสที่แทบจะหาไม่ได้เลยในชีวิต
"คนเหล่านั้นความรู้สึกเช่นไร ต่อไปนี้คือ คำตอบ"
"เกรียงศักดิ์ เล่าเรียนเพียรเจริญ" ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ 5 กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายให้เป็นคนหามเสลี่ยงกลีบบัว ซึ่งให้พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่นั่งในช่วงเดินทักษิณานุปทานรอบพระเมรุ กล่าวด้วยความรู้สึก
"เพิ่งจะเคยมาร่วมงานเป็นครั้งแรกในชีวิต รู้สึกตื่นเต้นมากนอนไม่ค่อยหลับ เพราะกังวลว่าจะทำอะไรได้ถูกต้องตามที่ซ้อมมาหรือไม่ ตอนซ้อมก็ไม่มีอะไรมากไม่มีปัญหาเลย สามารถผ่านไปด้วยดี แต่พอมาเจอกับเหตุการณ์จริงตื่นเต้นมากครับ ต้องคอยระวังจังหวะในการเดิน การก้าว ต้องให้พร้อมเพรียงกับคนอื่นๆ ในขบวน"
อย่างไรก็ตาม เกรียงศักดิ์บอกว่า เป็นความภาคภูมิใจมากที่ได้รับเลือกให้มาทำหน้าที่นี้ "ทั้งตื่นเต้นและภูมิใจครับ เพราะไม่รู้ว่าชีวิตนี้จะมีโอกาสมาร่วมงานแบบนี้อีกหรือไม่" เกรียงศักดิ์กล่าวยิ้มๆ
เจ้าพนักงาน "จ.ส.ต.ธวัช มูลเดช" ประจำอยู่กรมพลาธิการทหาร เปิดเผยความรู้สึกของการได้เข้าร่วมในพระราชพิธีอันสำคัญนี้ ว่าได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมเดินในริ้วขบวนที่ 1 ธงสามชาย ซึ่งจะต้องเดินเป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ว่าเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในชีวิต โดยเฉพาะการได้รับใช้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯเป็นครั้งสุดท้าย ตลอดช่วงที่มีพระชนม์ชีพอยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อประชาชนคนไทยอย่างมาก โดยเฉพาะทรงห่วงใยและดูแลทหารในถิ่นทุรกันดาร ทรงงานทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อพสกนิกร
"ครั้งนี้ถือว่าเป็นเกียรติยศกับวงศ์ตระกูลอย่างมาก ทั้งตื้นตันและภูมิใจ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็อดจะใจหายไม่ได้ที่ท่านไม่ได้อยู่กับพวกเราชาวไทยแล้ว จะไม่ลืมท่านเลย กลับไปบ้านจะไปเล่าให้พ่อแม่ญาติพี่น้องฟังถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ผมถ่ายรูปไว้เยอะจะเอาไปให้คนที่บ้านดูและเล่าให้พวกเขาฟัง"
"รสิตา วัชโรทัย" เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักพระราชวัง กล่าวถึงความรู้สึกของการได้เข้าร่วมเดินในริ้วขบวนซึ่งเป็นครั้งแรกในชีวิตเช่นกัน ว่ารู้สึกตื่นเต้นเป็นธรรมดา ก่อนหน้านี้ได้ไปซ้อมเดินกับคนอื่นๆ ที่จะร่วมในขบวน ซึ่งในส่วนของการซักซ้อมมีปัญหานิดหน่อย แต่ไม่มีอะไรมาก
"ได้เดินในริ้วขบวนที่ 4 ของวันที่ 16 พฤศจิกายน ในเวลา 08.00 น. ซึ่งเป็นริ้วขบวนที่อัญเชิญพระโกศพระอัฐิจากพระเมรุท้องสนามหลวงกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง เพื่อนำไปประดิษฐานที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ความรู้สึกที่มีคือตื้นตันใจและประทับใจมาก รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เป็นครั้งแรกในชีวิตจริงๆ สำหรับตัวเองเป็นตัวแทนจากกองประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักพระราชวัง"
นายจุมพล โตเมศร์ ผู้ประคองพระโกศพระศพ - ขบวนธงสามชาย
รสิตาบอกว่า ก่อนหน้านี้ทราบว่าจะมีการคัดเลือกบุคลากรร่วมเดินในริ้วขบวน แต่ไม่ทราบว่าจะถูกคัดเลือก พอรู้ว่าได้รับคัดเลือกก็ดีใจและตื้นตันมากที่จะได้รับใช้เป็นครั้งสุดท้าย พ่อแม่ก็ภูมิใจและดีใจที่ลูกมีส่วนร่วมในริ้วขบวนครั้งนี้ เพราะเป็นตัวแทนของวงศ์ตระกูล"
หญิงสาวอธิบายถึงริ้วขบวนที่เธอร่วมเดินว่า สำหรับริ้วขบวนที่ 4 มีชาย 40 คน หญิง 40 คน การแต่งตัวใช้ชุดดำเป็นชุดไทย ประดับด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขั้นสูงสุดที่ได้รับ
"ชุดนี้ทางสำนักพระราชวังจัดสรรงบประมาณเพื่อให้บุคลากรสำนักพระราชวังได้ตัดชุด ส่วนการเดินนั้นเป็นการเดินมาร์ชปกติ ไม่เหมือนกับการเดินในวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่เป็นมาร์ชพญาโศก ความแตกต่าง คือมาร์ชปกติจะก้าวซ้าย-ขวาตามปกติ ซึ่งต้องพร้อมเพรียงกัน ทั้งผู้หญิงผู้ชาย" กล่าวสีหน้ายิ้มแย้ม
"จุลพล โตเมศร์" ผู้เข้าร่วมพระราชพิธีในริ้วขบวนที่ 1 แต่งกายเป็นเทวดาทำหน้าที่ประคองพระโกศพระศพ เปิดเผยถึงความรู้สึกที่ได้ร่วมเดินในริ้วขบวนประวัติศาสตร์ ว่ายังตื่นเต้นและตื้นตันใจเหมือนเคย เพราะตนเคยร่วมเดินในริ้วขบวนมาแล้วครั้งหนึ่ง ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่ 2 ในชีวิต
"ถึงแม้จะไม่ใช่ครั้งแรก แต่ความรู้สึกยังตื่นเต้นและซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และถือเป็นการทำงานรับใช้ครั้งสุดท้าย ในงานครั้งนี้ โดยผมทำหน้าที่เป็นเทวดาประคองพระโกศพระศพ ซึ่งการทำงานครั้งนี้เราต้องนั่งไปบนพระมหาพิชัยราชรถ ต้องอาศัยการประคองตัวพอสมควร โดยนั่งคู่กับคุณวัชรกิติ วัชโรทัย ดังนั้น ก่อนถึงวันงานก็ต้องฟิตซ้อมร่างกายให้แข็งแรง เพราะพระมหาพิชัยราชรถหากมองจากพื้นขึ้นไปก็สูงเหมือนกันและขึ้น-ลงลำบากอยู่สักหน่อย"
อย่างไรก็ตาม จุลพลบอกว่า จะจดจำเหตุการณ์นี้ไปตลอดชีวิต เพราะเป็นความปลาบปลื้มที่สุดที่ได้รับใช้จนถึงที่สุด
(บน) ประชาชนผู้เข้าร่วมเดินในริ้วขบวนงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอฯ
(ล่าง) นักเรียนจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
"จ.ส.อ.นิรันดร์ บัวเผื่อน" ตำแหน่งพลขับ กองพันทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ อายุ 47 ปี ซึ่งทำหน้าที่ยิงปืนเล็กยาวเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธี เป็นอีกผู้หนึ่งที่บอกเล่าความรู้สึกในงานประวัติศาสตร์ ว่าเป็นอีกครั้งที่รู้สึกภาคภูมิใจ เพราะครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่ได้มาทำหน้าที่สำคัญยิงปืนใหญ่งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ โดยครั้งแรกทำหน้าที่ในงานพระบรมศพสมเด็จย่า
"ผมอยู่หมู่ที่ 3 ทำหน้าที่เป็นพลขับลากปืนใหญ่มาจอดที่ท้องสนามหลวง และจะต้องร่วมนับกระสุนด้วยว่ายิงครบตามจำนวนหรือไม่ การทำหน้าที่นี้ แม้จะไม่ได้ร่วมเดินในขบวน แต่ก็ถือว่าได้ทำงานถวายพระองค์ท่านด้วยความจงรักภักดี ในชีวิตผมครั้งนี้เป็นความเสียใจที่ยิ่งใหญ่ครั้งที่ 2 ครั้งแรกนั้นรู้สึกใจหายที่สมเด็จย่าท่านสวรรคต และก็มาครั้งนี้ที่ในหลวงท่านทรงสูญเสียพี่สาวที่รักยิ่ง การสูญเสียของในหลวงนั้นประชาชนชาวไทย ทหารทุกเหล่าทัพก็เสียใจเช่นเดียวกัน ผมเองภูมิใจครับที่ได้เข้าร่วมในพิธีทั้งสองครั้ง เพราะนับเป็นครั้งหนึ่งในชีวิตราชการก่อนที่จะเกษียณ" จ.ส.อ.นิรันดร์กล่าว
ส่วนเพื่อนที่มาทำหน้าที่ด้วยกัน "จ.ส.อ.บุญมี ตักโพธิ์" กล่าวความในใจด้วยว่า "ผมรู้สึกพูดไม่ออกที่จะต้องสูญเสียบุคคลสำคัญที่สุดผู้หนึ่งของประเทศ และยังทรงเป็นที่รักของประชาชนชาวไทย"
"ผมทำงานเป็นทหารรับใช้ชาติมา 7 ปีแล้ว รู้สึกภาคภูมิใจมากกับหน้าที่ของตัวเอง ครั้งนี้เป็นครั้งหนึ่งในชีวิตที่มีโอกาสรับใช้ท่าน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ไม่เคยทรงเลือกว่าจะช่วยเหลือฝ่ายใด ทรงช่วยเหลือทุกหมู่เหล่าโดยไม่แบ่งแยกว่าจะเป็นฝ่ายใด" เสียงเข้มแข็งของ ส.อ.นพดล เดชคง พลขับรถลากปืน อายุ 33 ปี
ด้าน "พ.ท.อัครเดช ศิริชัย" หัวหน้าแผนกกองกำลังพล กรมพลาธิการทหารบก ทำหน้าที่ควบคุมฉัตรเครื่องสูงและเสลี่ยงกลีบบัวพระนำ ฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวดหลังพระนำ ฉัตรเครื่องสูงหักทองขวางหน้า อินทร์พรหมจามร (อยู่เคียงคู่กับเสลี่ยงกลีบบัวพระนำในริ้วขบวนที่ 1 เล่าว่า เป็นครั้งแรกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของริ้วขบวนอัญเชิญพระศพ โดยกองทัพบกมอบหมายให้ดูแลเรื่องฉัตรเครื่องสูงต่างๆ ซึ่งเมื่อได้รับมอบหมายมาแล้วต้องศึกษาจากจดหมายเหตุงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และศึกษาจากวิดีโอ เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด ให้สมพระเกียรติที่สุด
"ปัญหาคือ ฉัตรมีน้ำหนักค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นต้องคัดเลือกคนที่ตัวใหญ่ และต้องเข้าคอร์สออกกำลังเป็นพิเศษ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมสำหรับวันงานพระราชพิธี แม้จะเป็นทหาร แต่เมื่อต้องมาเดินในริ้วขบวนอัญเชิญพระโกศก็ยังต้องฝึกซ้อมท่าเดินไม่ให้พลาด โดยซ้อมตั้งแต่เดือนสิงหาคม เป็นงานที่ตั้งใจอย่างเต็มที่ที่สุด รู้สึกเป็นเกียรติแก่ตนเอง วงศ์ตระกูล และหน่วยงานอย่างมาก" พ.ท.อัครเดชบอก
"พ.จ.อ.อัฑฒวรรษ วุฒิกูล" ผู้ซึ่งอยู่ในชุด "สารวัตร" คอยให้สัญญาณ วัยอายุ 51 ปี เป็นผู้ควบคุมเครื่องประโคม ตั้งแต่กลองชนะถึงสังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง เล่าให้ฟังว่า เริ่มมีส่วนร่วมในริ้วขบวนตั้งแต่ครั้งงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และงานพระราชทานเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และครั้งนี้ โดยในริ้วขบวนครั้งแรกและครั้งที่สองนั้น ทำหน้าที่เป่าแตรงอน กับสังข์ ปัจจุบันมาช่วยราชการสำนักพระราชวัง เพราะมีความรู้ ประสบการณ์ ทำให้หัวหน้าฝ่ายเครื่องสูงและกลองชนะไว้ใจให้ดูแลควบคุมวงแทนท่านที่อายุ 70 ปีแล้ว
นอกจากควบคุมเครื่องประโคมแล้ว พ.จ.อ.อัฑฒวรรษ ยังมีความรู้ในเรื่องการจัดริ้วขบวน ซึ่งในครั้งนี้ได้ทำหน้าที่แนะนำการวางตัวบุคคลแต่ละริ้วขบวน เพราะเคยเห็นมาแล้ว
"เราอยู่ในขบวนเครื่องประโคมจะอยู่แต่ข้างหน้า ไม่เคยเห็นเครื่องสูงที่อยู่ด้านหลัง จึงต้องศึกษาบันทึกเก่าๆ และดูจดหมายเหตุ จนทุกวันนี้ มั่นใจว่ามีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น สามารถแนะนำการจัดริ้วขบวนได้อย่างถูกต้อง" กล่าวด้วยน้ำเสียงหนักแน่น
หากถามถึงความภาคภูมิใจกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในครั้งนี้...
พ.จ.อ.อัฑฒวรรษบอกว่า รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก เพราะงานพระราชพิธีครั้งนี้ แต่ละริ้วขบวนจะใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง ในการเดิน ซึ่งเหนื่อยมาก แต่ก็ภูมิใจที่ได้รับใช้พระองค์ท่านที่ทรงเหน็ดเหนื่อยยากกว่าเป็นแสน เป็นล้านเท่า ดังนั้น เวลาอยู่ในงาน นึกถึงพระองค์ก็หายเหนื่อย หายปวด หายเมื่อย หายล้า
"ผมทำหน้าที่ด้วยความปลาบปลื้มใจที่มีโอกาสได้รับใช้ แม้ในช่วงที่ท่านยังมีพระชนม์ชีพ เราไม่ได้สนองพระคุณ แต่เมื่อวันที่ท่านสิ้นพระชนม์ เราก็ได้ทำแล้ว เป็นความภูมิใจสูงสุดในชีวิต ที่ได้รับใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ โดยรับใช้มาตั้งแต่อายุ 22 ปี จนถึงตอนนี้ อายุ 51 ปีแล้ว"
"วันนี้มาทำหน้าที่ควบคุมวง เวลาสั่งวง แล้วมีเสียงประโคมดังขึ้นมาจะรู้สึกตื้นตันใจทุกครั้ง เพราะนี่เป็นสิ่งที่เราเคยปฏิบัติ" ชายวัย 51 ปี บอกกล่าวความรู้สึก
เสียงปี่เปิงครวญเพลง "พญาโศกลอยลม" ดังลอยมา ได้ยินแล้วให้รู้สึกเศร้า จวนเจียนใจจะขาด เป็นเสียงปี่เปิงที่ดังประโคมอยู่ตลอดเวลาในริ้วขบวนงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายแล้วที่เหล่าพสกนิกรได้ร่วมกันส่งเสด็จยังพระวิมานชั้นฟ้า
ร่วมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก