x close

7 ใน 10 คนไทยยังไม่พอใจกับน้ำหนักตนเอง

อ้วน

พบ 7 ใน 10 คนไทยยังไม่พอใจกับน้ำหนักตนเอง (มติชนออนไลน์)

นีลเส็นสำรวจผลผู้บริโภคทั่วโลกต้องการ"ฟิตหุ่น"รับปีใหม่

          จากผลของการสำรวจออนไลน์ชิ้นล่าสุดของนีลเส็นใน 52 ประเทศทั่วโลกเกี่ยวกับน้ำหนักตัว อาหารและการออกกำลังกาย เมื่อวันที่ 27 มกราคม ระบุว่าผู้บริโภคทั่วโลกมีความต้องการที่จะพัฒนาสุขภาพโดยการรับประทานอาหาร ที่ดีขึ้นและออกกำลังกายอย่างถูกวิธี  ผลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 72% กำลังต่อสู้กับปัญหาน้ำหนักตัวของตนซึ่งจัดอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ โลก

          การสำรวจถูกจัดทำขึ้นทางออนไลน์ในปลายเดือนกันยายน 2551 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจที่นีลเส็นจัดทำขึ้นเป็นประจำ ปีละสองครั้งเพื่อติดตามเทรนด์ของผู้บริโภคทั่วโลก และสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคในแต่ละทวีป ในประเทศไทย ผลการสำรวจมาจากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชายและหญิงที่ใช้อินเตอร์เน็ต จำนวน 500 คน อายุ 15 ปี ขึ้นไป

          เมื่อผู้บริโภคชาวไทยถูกถามว่า คิดอย่างไรเกี่ยวกับน้ำหนักปัจจุบันของตนเอง มีเพียงผู้บริโภคจำนวน 28% รู้สึกมีความสุขกับน้ำหนักของตน ในขณะที่ผู้บริโภคทั่วโลก (40%) และผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิค (43%) คิดว่าตนมีน้ำหนักที่พอดีแล้ว นอกจากนี้ผู้บริโภคชาวไทยยังรู้สึกว่าตน "มีน้ำหนักเกินนิดหน่อย" (40%) "ค่อนข้างจะมีน้ำหนักเกิน" (15%) "น้ำหนักน้อยเกินไป" (11%) "น้ำหนักมากเกินไปมาก" (6%)


                                     ประเทศไทย เอเชีย-แปซิฟิค ทั่วโลก


น้ำหนักน้อยเกินไป  

  11% 

 15%

10%

น้ำหนักพอดี 

 28%

 43% 

40% 

น้ำหนักเกินนิดหน่อย    

40% 

27% 

 32% 

ค่อนข้างจะมีน้ำหนักเกิน  

 15%

12% 

14% 

น้ำหนักมากเกินไป     

 6% 

3% 

 4% 



          หากเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศในเอเซีย แปซิฟิค ประเทศไทยเป็นผู้นำของทวีปด้วยผู้บริโภคจำนวน 63% ที่กำลังพยายามจะลดน้ำหนัก ลำดับรองลงมาคือ ออสเตรเลีย (62%) และ ญี่ปุ่น(31%) ตามลำดับ 

          เอเซีย แปซิฟิค มีสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุดของผู้บริโภคที่มีความคิดเห็นต่อน้ำหนัก ตัวของตนว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ในขณะเดียวกันภูมิภาคนี้ก็เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีสัดส่วนเปอร์เซ็นต์สูง ที่สุด คือ 53 เปอร์เซ็นต์ ของผู้บริโภคที่ต้องการจะลดน้ำหนัก โดยภูมิภาคที่ติดอันดับแรกของโลกที่พบผู้บริโภคที่ต้องการจะลดน้ำหนักคือ ทวีป ลาติน อเมริกา (57%)

          ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้บริโภคทั่วโลกรวมทั้งผู้บริโภคชาวไทยส่วนมาก วางแผนที่จะลดน้ำหนักโดยต้องการจะเปลี่ยนแปลงนิสัยการรับประทานอาหารควบคู่ ไปกับการออกกำลังกาย โดยกลยุทธ์หลักก็คือ เน้นการปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารเป็นเรื่องแรก (85%) และออกกำลังกายให้มากขึ้นเป็นลำดับต่อมา (72%) การรับประทานยาตามคำสั่งจากแพทย์เป็นทางเลือกสุดท้ายที่คนไทยจะใช้ในการลด น้ำหนัก  (ตารางที่ 2)

กลยุทธ์ในการลดน้ำหนัก

          79% กล่าวว่าพวกเขาจะตัดอาหารที่มีไขมันออกไป

          61% ปฏิญาณว่าจะรับประทานอาหารแบบเดิมแต่ลดปริมาณลง 

          59% ตั้งใจว่าจะลดการรับประทานช็อคโกแลต และน้ำตาล

          40% จะรับประทานอาหารที่สดสะอาดจากธรรมชาติ

          10% จะรับประทานอาหารที่แปรรูปให้น้อยลง

          น้อยกว่า 10% เปลี่ยนไปใช้วิธีการลดน้ำหนักอย่างอื่น เช่น การรัปประทานอาหารตามทฤษฎีของแอ็ทกินส์ แบบโลว์คาร์บ การเข้าศูนย์ควบคุมน้ำหนัก หรือการเข้าโปรมแกรมการลดน้ำหนักของสถาบันต่างๆ 

          เมื่อกล่าวถึงทางเลือกของการออกกำลัง ผลปรากฏว่าผู้บริโภคจากทวีปอเมริกาเหนือ ได้แก่ ชาวอเมริกัน และแคนาดาซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้บริโภคที่คิดว่าตนมีน้ำหนักเกินมากที่สุด เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ มีระดับการออกกำลังกายที่สูงที่สุดถึง 70% โดยระบุว่าพวกเขาออกกำลังกายอาทิตย์ละครั้งเป็นอย่างน้อย ในทางตรงกันข้ามผู้บริโภคในทวีป เอเซีย แปซิฟิค เป็นกลุ่มที่ควบคุมน้ำหนักของตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่ออกกำลังกายน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยมีผู้บริโภค (58%) ที่ระบุว่าออกกำลังกายอาทิตย์ละครั้งเป็นอย่างน้อย

          ส่วนในประเทศไทย ผู้บริโภค(60%) กล่าวว่าพวกเขาออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง โดยทางเลือกของการออกกำลังที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ การวิ่ง (27 %) และเดิน (24%) 

          นางจันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ นีลเส็น (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในขณะที่ปัญหาบางอย่างเช่น การลดน้ำหนักเป็นปัญหาที่ผู้บริโภคทั่วโลกตระหนักถึง แต่ผู้บริโภคในแต่ละทวีปก็มีการมองปัญหา และวิธีการทำให้ถึงจุดหมายที่แตกต่างกันไปอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่เราทราบจากการวิจัยไม่ใช่เป็นเพียงข้อมูลที่น่าจะบอกต่อแล้ว แต่ยังเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าต่อนักการตลาดที่ต้องการเข้าถึงผู้บริโภคทั่ว โลก

รับประทานอาหารให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้นได้อย่างไร?

          มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคชาวไทย (53 %) กล่าวว่าพวกเขายินดีที่จะตัดอาหารบางกลุ่มออกไปเพื่อที่จะรักษาความสมดุล ในขณะที่บางกลุ่ม (26%) กล่าวว่า พวกเขาจะรับประทานแบบเดิม แต่ควบคุมประมาณ และอีก 20 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าพวกเขาบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว

          หากเปรียบเทียบระหว่างทวีป ประมาณ 20%ของผู้ตอบแบบสอบถามใน 4 ทวีปใน เอเชียแปซิฟิค ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา และละตินอเมริการู้สึกว่าพวกเขาบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่แล้ว ยกเว้นผู้บริโภคในทวีปอเมริกาเหนือ ได้แก่ชาวอเมริกัน และแคนาดา ที่คิดว่าพวกเขาสามารถที่จะปรับปรุงการรับประทานให้ดีขึ้นกว่าปัจจุบันได้ โดยพบผู้บริโภคเพียง 14% คิดว่าอาหารที่เขารับประทานมีประโยชน์ต่อสุขภาพดีอยู่แล้ว

ความสับสนเกี่ยวกับข้อมูลของการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

          ครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคในประเทศไทยและทั่วโลก รู้สึกสับสนกับข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ที่ตนได้รับ ในปัจจุบันอย่างล้นหลาม ซึ่งส่วนใหญ่จะขัดแย้งกันเอง เมื่อผู้บริโภคชาวไทยถูกถามว่า พวกเขาได้รับข้อมูลที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อ สุขภาพ ได้ที่ไหน

          66%  อ้างอิงข้อมูลที่มาจากหมอ และเภสัชกร

          44%  เชื่อรายการทางทีวี และสารคดี

          41%  เลือกหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

          38%  อ่านหนังสือเกี่ยวกับอาหาร และโภชนาการ

          32% เชื่อในข้อมูลทางโภชนาการที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ของสินค้า 

คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
7 ใน 10 คนไทยยังไม่พอใจกับน้ำหนักตนเอง อัปเดตล่าสุด 2 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 14:37:42 11,348 อ่าน
TOP