x close

400ปี กล้องโทรทรรศน์ กาลิเลโอ






เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก math.brown.edu

          วันนี้ใครที่เปิดเว็บไซต์ http://www.google.co.th คงเห็นโลโก้ที่สวยแปลกตาไปจากทุกวัน  และหากเลื่อนเมาส์ไปหยุดบริเวณโลโก้สวยๆ นั้น จะเจอคำว่า 400th Anniversary of Galileo's Telescope หรือครบรอบ 400 ปี กล้องดูดาวแบบกาลิเลโอ  และวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ท่องเอกภพย้อนกลับไปอดีตเมื่อ 400 ปีก่อน เพื่อไปทำความรู้จักกับ กล้องดูดาวแบบกาลิเลโอ กันค่ะ

          เมื่อ 400 ปีก่อน ในราวปี ค.ศ. 1609 กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)  นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อก้องโลก ได้บุกเบิกการสำรวจท้องฟ้าด้วย กล้องโทรทรรศน์ กำลังขยาย 30 เท่า เป็นกล้องดูดาวแบบหักเหแสงที่เขาประดิษฐ์เองอย่างง่ายๆ  ส่องสำรวจจักรวาลเป็นครั้งแรก โดยเขาสำรวจดวงจันทร์, ดาวพฤหัส และค้นพบดาวบริวารทั้งสี่ของดาวพฤหัส และเสนอทฤษฎีที่ว่า โลกกลม ...นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มสำรวจจักรวาลโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ และนำมาซึ่งการค้นพบสำคัญๆ อีกมากมาย

          ทั้งนี้ กล้องโทรทรรศน์ ดังกล่าว ถูกเรียกเพื่อเป็นเกียรติแก่ กาลิเลโอ ว่า "กล้องดูดาวแบบกาลิเลโอ" (Galileo's Telescope) สำหรับกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงของกาลิเลโอนั้น เลนส์วัตถุจะเป็นเลนส์นูน และเลนส์ตาจะเป็นจากเลนส์เว้า ข้อดีของการใช้ระบบเลนส์แบบนี้คือ ภาพที่ได้จะเป็นภาพหัวตั้งโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นมาช่วย แต่ข้อเสียของการใช้เลนส์เว้าเป็นเลนส์ตาคือ ระบบกล้องจะมีมุมมองภาพที่แคบมาก

          อย่างไรก็ดี การเพิ่มกำลังขยายของ กล้องดูดาวแบบกาลิเลโอ หรือกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงนี้ จะแปรผันตามระยะโฟกัสของเลนส์วัตถุ นั่นคือ การทำให้กำลังขยายของกล้องดูดาวเพิ่มขึ้น ระยะโฟกัสจะต้องมากขึ้น เลนส์ก็ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น และความยาวของกล้อง ก็ต้องมากตามไปด้วย ทำให้มีข้อจำกัดของกล้องประเภทนี้ อยู่ที่ความยาวของตัวมันเอง เนื่องจากเมื่อของเส้นผ่านศูนย์กลางเลนส์ เกิน 1 เมตรแล้ว มันจะรับน้ำหนักของตัวมันเองไม่ไหวนั่นเอง

          ต่อมา โยฮันเนส เคปเลอร์ ได้พยายามต่อยอดความคิดของ กาลิเลโอ โดยใช้เลนส์นูนเป็นเลนส์ตาของกล้องโทรทรรศน์แทน ซึ่งทำให้ระบบกล้องโทรทรรศน์ให้ภาพกลับหัว และมีมุมมองภาพกว้างขึ้น ระบบเลนส์แบบนี้ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน


  คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, darasart.com




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
400ปี กล้องโทรทรรศน์ กาลิเลโอ อัปเดตล่าสุด 26 สิงหาคม 2552 เวลา 07:30:32 30,483 อ่าน
TOP