เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกียวข้องกับข้อมูล
วงสัมมนาหวั่นโลกเจอภัยพิบัติในปี 2556 หลังนาซ่าพบระบบสุริยะเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ความร้อนสูงขึ้น ด้าน ดร.สมิทธ ไม่เห็นด้วยย้ายเมืองหลวง แนะให้ความรู้ประชาชนเอาตัวรอดจากภัยพิบัติ
วานนี้ ( 19 ธ.ค.) หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ร่วมกับมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และเว็บไซต์พลังจิต จัดงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "เจาะลึกภัยพิบัติ...พลิกวิกฤตให้เป็นทางรอด" เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และให้ประชาชนสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ ตอนหนึ่งของการสัมมนา ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรชาวไทยที่ทำงานในองค์การนาซ่า สหรัฐอเมริกา เปิดเผยข้อมูลว่า ระบบสุริยะจักรวาลได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปีหลังมานี้ ส่งผลให้ดาวต่าง ๆ มีความร้อนและแสงสว่างเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับ "โลก" ที่มีรังสีคอสมิกมากขึ้น ฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น และชั้นบรรยากาศลดลง โลกจึงไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนอกโลกมากขึ้น
ดร.ก้องภพ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ต้องเฝ้าภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์ที่จะส่งผลกระทบต่อโลก เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กของโลก จนทำให้โลกเกิดความร้อนเพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงต้นปี ค.ศ.2013 หรือ พ.ศ.2556 ดังนั้น ควรเตรียมรับมือภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นตลอดเวลา
ขณะที่ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า โลกเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ดูจากอุณหภูมิของประเทศไทยพุ่งสูงที่สุดถึง 42.5 องศาเซลเซียส จากอดีตที่อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 37.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตได้
ส่วนประเด็นที่ว่า ควรจะย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพมหานครไปอยู่ภาคอื่นนั้น ดร.สมิทธ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย เพราะหากย้ายไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็มีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ หากย้ายไปภาคเหนือ ก็ต้องเฝ้าระวังแผ่นดินไหว หากย้ายไปภาคใต้ฝั่งตะวันออกก็เสี่ยงเจอกับสตอร์มเซิร์จ ดังนั้น จึงควรเร่งให้ความรู้ประชาชนในการปรับตัว และเอาตัวรอด รับมือจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นให้ได้
ทั้งนี้ ดร.สมิทธ ยังฝากเตือนศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติว่า ให้ตรวจสอบดูแลระบบอุปกรณ์เตือนภัยสึนามิให้ดี เพราะหากเกิดสึนามิขึ้นในทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย แล้วเครื่องเตือนภัยไม่ทำงาน ประชาชนที่อยู่ใน 6 จังหวัดภาคใต้จะมีเวลาเพียงแค่ 10 กว่านาทีเท่านั้นในการหลบภัย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก