ปิดคดีเหมืองคลิตี้! ศาลปกครองสูงสุดสั่งกรมควบคุมมลพิษ จ่ายชดเชยชาวบ้านที่ได้รับพิษสารตะกั่วจากโรงงานปล่อยน้ำเสีย รายละ 1.7 แสน รวม 22 ราย หลังต่อสู้คดีมายาวนานกว่า 9 ปี
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2556 ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษาคดีที่ชาวบ้านในชุมชนคลิตี้ล่าง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กรมควบคุมมลพิษ เป็นจำเลย ฐานปล่อยปละละเลย ไม่ควบคุมตรวจสอบการประกอบกิจการ ของ บริษัท ตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปล่อยน้ำเสียซึ่งมีสารตะกั่วเจือปนในลำห้วยคลิตี้ อำเภอทองผาภูมิ ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนคลิตี้ล่างได้รับผลกระทบอย่างมาก จึงฟ้องร้องให้กรมควบคุมมลพิษเรียกเก็บค่าเสียหายจาก บริษัท ตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อมาจ่ายให้ผู้เสียหาย ฐานเป็นผู้ก่อมลพิษ และขอให้กำหนดมาตรการในการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
ทั้งนี้ หลังจากการพิจารณา ในที่สุดศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีคำพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษ จ่ายค่าเสียหายชดเชยให้แก่ชาวบ้านคลิตี้ล่างที่ได้รับผลกระทบจากสารตะกั่ว จำนวน 22 ราย รายละ 177,159.50 บาท รวมเป็นเงิน 3,897,509 บาท ภายใน 90 วัน ตั้งแต่คดีถึงที่สุด
พร้อมกันนี้ ศาลยังมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องกลับไปจัดทำแผนฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ และดำเนินการฟื้นฟู โดยการตรวจสอบคุณภาพน้ำในทุกฤดูกาลจนกว่าสารตะกั่วในน้ำจะอยู่ในระดับที่ไม่เกินค่ามาตรฐานการควบคุม ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 ปี
พร้อมกันนี้ ศาลยังมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องกลับไปจัดทำแผนฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ และดำเนินการฟื้นฟู โดยการตรวจสอบคุณภาพน้ำในทุกฤดูกาลจนกว่าสารตะกั่วในน้ำจะอยู่ในระดับที่ไม่เกินค่ามาตรฐานการควบคุม ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 ปี
สำหรับคดีดังกล่าวนั้นอยู่ในการพิจารณาของชั้นศาลมานานกว่า 9 ปีแล้ว ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ขณะที่ชาวบ้านในชุมชนคลิตี้ล่างต่างได้รับผลกระทบจากสารตะกั่วที่ปนเปื้อนในห้วยคลิตี้มานานกว่า 14 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนชาวบ้านหลายคนมีอาการป่วยเรื้อรัง ภายหลังจึงออกมาใช้สิทธิเรียกร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้รัฐช่วยฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ให้กลับมาใช้อุปโภค-บริโภคได้ตามเดิม พร้อมทั้งขอให้เยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากพิษของสารตะกั่ว
กระทั่งในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษดำเนินการเรียกเก็บค่าเสียหายจากบริษัท ตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อนำมาให้ผู้ฟ้อง 22 ราย รายละ 33,783 บาท รวมค่าเสียหายทั้งสิ้น 743,226 บาท ภายใน 90 วันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ก่อนที่กรมควบคุมมลพิษจะขออุทธรณ์ ทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีสิ่งแวดล้อม มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2555 ด้วยเหตุนี้ กรมควบคุมมลพิษจึงยื่นเรื่องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้พิจารณาอีกครั้ง และในที่สุด ศาลปกครองสูงสุดก็มีคำสั่งตามเดิม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก