โลกใต้ทะเลมีอะไรให้คุณอัศจรรย์ใจได้ไม่รู้จบ ก็พื้นที่ใต้น้ำนั้นกินพื้นที่ถึง 3 ใน 4 ของโลก มากกว่าผืนแผ่นดินเสียอีก ยิ่งถ้าเป็นพื้นที่ใต้ทะเลลึกน่าจะยังมีปลาหน้าตาประหลาด ๆ ที่เราไม่เคยได้พบเห็นอยู่อีกก็เป็นได้ แต่กับตัวที่เราจะนำมาให้รู้จักกันในวันนี้ ไม่ได้อยู่ที่ถิ่นที่เข้าถึงยาก แถมอยู่ในน่านน้ำทางอินโด-แปซิฟิก นี่เองล่ะ เจ้าตัวที่ว่านี้คือ "หมึกสายจอมเลียนแบบ" มีความสามารถโดดเด่นเป็นเลิศเหมือนอย่างชื่อของมัน คือการลอกเลียนแบบนั่นเอง จะเจ๋งขนาดไหนลองมาดูกัน
หมึกสายจอมเลียนแบบ หรือ มิมิค ออคโตปุส (Mimic Octopus หรือ Thaumoctopus mimicus) เป็นหมึกที่อาศัยอยู่ ในทะเลแถบอินโด-แปซิฟิก บริเวณปากอ่าวในน่านน้ำของอิ นโดนีเซียและมาเลเซีย แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจนิดหน่ อยก็คือมนุษย์เราเพิ่งจะค้นพบมั นเมื่อปี 1998 นี่เอง บางทีอาจเป็นเพราะสกิลการพรางตั วขั้นสุดยอดของมัน ที่อาจทำให้เราเข้าใจว่ามันเป็ นสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นไปกระมัง
หมึกแปลงกายชนิดนี้ มีลำตัวอ่อนนุ่ม ไม่มีกระดอง ไม่มีกระดูก แถมยังไม่มีพิษ เรียกได้ว่ามันคืออาหารชั้ นยอดของนักล่าที่กินเนื้อ ฉะนั้นมันจึงอาศัยการพรางตั วในการเอาตัวรอดจากการถูกล่า โดยมักเปลี่ยนตัวเองให้เมือนสั ตว์มีพิษอื่นๆ อาทิ ดอกไม้ทะเล ปลาลิ้นหมา ปลาสิงโต งูทะเล ฯลฯ เพื่อขับไล่นักล่าออกไป แต่ในขณะเดียวกันมันก็ใช้ การ
พรางตัวนี้เพื่อหาอาหารด้วย สัตว์เล็กหลาย ๆ ชนิดที่เป็นอาหารของหมึก
อย่างปลาตัวน้อย ๆ และรวมถึงครัสตาเชียนเล็ก ๆ ต่าง ๆ อาทิ กุ้ง ปู
ล้วนจะว่ายหนีกันหมดเมื่อเห็ นหมึกเข้ามาใกล้ เจ้าหมึกสายเลียนแบบจึงพรางตั วเป็นสิ่งอื่นที่จะไม่ทำให้เหยื ่่อของมันตกใจ เมื่อสบโอกาสก็เข้าใกล้ แล้วใช้หนวดที่มีปุ่มสุญญากาศจั บล็อกเหยื่อผู้โชคร้ายเอาไว้ทั นใด
แปลงร่างเป็นปลาสิงโต
แปลงร่างเป็นงูทะเลก็ยังได้
ปลาลิ้นหมาก็เหมือนอยู่
เท่าที่มีการศึกษาพบว่า เจ้าหมึกจอมเลียนแบบนี้ สามารถพรางตัวเป็นสัตว์อื่นที่ อยู่ร่วมพื้นที่เดียวกันได้ถึง 15 สายพันธุ์ด้วยกัน และไม่ใช่แค่พรางตัวเปลี่ยนสีสั นเท่านั้น มันยังเลียนแบบทั้งรูปทรง รูปแบบการเคลื่อนไหว การว่ายน้ำ ความเร็วในการว่าย ถือว่าลอกเลียนได้อย่างแนบเนี ยนและแยบยลสุด ๆ ทีเดียว นี่ถ้าหมึกกลายเป็นคนคงเป็นนักต้ มตุ๋นร้ายระดับพระกาฬเชียวแหละ :P
world_id:555c70ac38217ad477000000
world_id:555c70c038217af173000001
world_id:555c70cd38217a6f74000001
world_id:555c70dc38217a6e74000001
world_id:555c70c038217af173000001
world_id:555c70cd38217a6f74000001
world_id:555c70dc38217a6e74000001
ภาพจาก Ross Piper , University of Utah
ขอบคุณข้อมูลจาก