ร่วมฟังปาฐกถาค้นพบผลงานระดับอัจฉริยะของรัชกาลที่ ๔ หลัง 150 ปีผ่านไป และงานเสวนาปฏิทินไทย ทำไมคลาดเคลื่อน ? วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคมนี้ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์แห่งชาติ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
สำหรับคนที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ ต้องไม่พลาดไปร่วมฟังปาฐกถาพิเศษและงานเสวนาที่น่าสนใจถึง 2 เรื่อง ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคมนี้
อาจารย์ลอย ชุนพงษ์ทอง ได้ค้นพบความเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ของพระองค์ท่าน นำไปสู่การประดิษฐ์เครื่องคำนวณปฏิทินไทยได้อย่างเที่ยงตรงแม่นยำ สมบูรณ์แบบอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะสามารถคำนวณดิถี และเดือนในปฏิทินจันทรคติได้อย่างเที่ยงตรงแม่นยำหลายพันปี ทำให้ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับจันทร์เพ็ญ และวันวิสาขบูชาตกในเดือนพฤษภาคม
ร่วมฟังการถอดรหัสความลับของกระดานดำปริศนาที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ในเวลา 10.00 น. ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
ส่วนกิจกรรมที่ 2 คืองานเสวนา "เปิดเสวนาปฏิทินไทย ทำไมคลาดเคลื่อน ? และแนวทางการปรับแก้" ซึ่งเราอาจจะเคยสงสัยว่า
...ทำไมรูปดวงจันทร์บนปฏิทินแขวนไม่สอดคล้องกับดวงจันทร์บนท้องฟ้า ดวงจันทร์ยังไม่เต็มดวงในวันขึ้น 15 ค่ำ และยังไม่มืดดับในวันแรม 15 ค่ำ ?
...ทำไมบางปี จัดวันวิสาขบูชา ในเดือน 7 ตกเดือนมิถุนายน แทน พฤษภาคม ?
ร่วมเสวนาโดยนักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และนักคำนวณปฏิทินชั้นนำของไทย
- ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต นักคำนวณปฏิทิน อดีตนายกราชบัณฑิตยสภา
- อาจารย์นิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิต นักดาราศาสตร์ อดีตนายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย
- อาจารย์ลอย ชุนพงษ์ทอง สหวิทยาการราชบัณฑิต ที่ปรึกษาการคำนวณปฏิทินหลวง สำนักพระราชวัง
- อาจารย์เกริก อัครชิโนเรศ ที่ปรึกษาการคำนวณปฏิทินล้านนา ชมรมปักกะตืนล้านนา เชียงใหม่
- อาจารย์วรพล ไม้สน ที่ปรึกษาการคำนวณปฏิทินโหร สมาคมโหราศาสตร์ ในสังฆราชูปถัมภ์
ดำเนินการเสวนา โดย ดร.อติชาต เกตตะพันธุ์ อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบกับงานเสวนาน่าสนใจเรื่องนี้ได้ในวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2559 เวลา 13.00-15.30 น. ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี