x close

สดร. ปลื้ม..ฟ้าเป็นใจ คนแห่ชมดาวพฤหัสบดีโคจรใกล้โลกมากสุด เห็นชัดมาเต็ม !!

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

          สดร. ปลื้ม.. ฟ้าเป็นใจ คนแห่ชมดาวพฤหัสบดีแน่นทุกจุด เห็นชัดมาเต็ม สมการรอคอย กทม. เฮ มหาชนหลายพันต่อคิวส่องพี่ใหญ่แห่งระบบสุริยะเต็มพื้นที่ลานพาร์คพารากอน

          สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยบรรยากาศสังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดี ใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2560 คืนวันที่ 8 เมษายน 2560 ทั้ง 4 จุดสุดคึกคัก (กรุงเทพฯ เชียงใหม่ โคราช ฉะเชิงเทรา) พาร์คพารากอน คนแห่ร่วมกว่าพันคน ส่วนหอดูดาวสิรินธร มช. หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ โคราช และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา มีผู้สนใจร่วมกิจกรรมจำนวนมากเช่นกัน หวังดันดาราศาสตร์เข้าถึงประชาชนไทยมากขึ้น
          ดร.ศรัณย์  โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ เปิดเผยว่า หลังจากที่ลุ้นกันตลอดช่วงเย็นจนถึงช่วงหัวค่ำของวันที่ 8 เมษายน 2560 กับกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี ซึ่ง สดร. ตั้งจุดสังเกตการณ์ไว้ 4 จุดหลัก ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ โคราช ฉะเชิงเทรา และเครือข่ายโรงเรียนอีกกว่า 160 แห่ง ใน 61 จังหวัด วันนี้เกือบทุกจุดมีเมฆค่อนข้างมาก จึงทำให้หลายคนคิดว่าอาจจะไม่ได้เห็นดาวพฤหัสบดีที่พวกเขารอคอย จนช่วงเวลาประมาณ 20.45 น. ณ พาร์คพารากอน ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งเป็นจุดส่องดาวในพื้นที่กรุงเทพฯ ประชาชนหลายพันคนส่งเสียงเฮ เนื่องจากฟ้าเปิดสามารถดูดาวพฤหัสบดีผ่านกล้องทั้ง 5 ตัว ได้อย่างชัดเจน

          นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาบนดาวพฤหัสบดีและจุดแดงใหญ่ ซึ่ง สดร. ถ่ายทอดสดจากกล้องโทรทรรศน์ ขนาด 0.7 เมตร ของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ บนดอยอินทนนท์ แสดงบนจอภาพขนาดยักษ์ภายในบริเวณงานอีกด้วย

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

          สำหรับจุดสังเกตการณ์หลักอีก 3 จุด ได้แก่ หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา มีประชาชนที่สนใจเดินทางมาร่วมกิจกรรมในแต่ละที่กว่าหลายร้อยคน ดาวพฤหัสบดีโผล่พ้นเมฆมาให้เห็นเป็นช่วง ๆ ตั้งแต่หัวค่ำ สามารถสังเกตเห็นแถบเมฆและดวงจันทร์บริวารทั้งสี่ผ่านกล้องโทรทรรศน์ชนิดต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน นอกจากดาวพฤหัสบดีแล้ว ยังมีดวงจันทร์ปรากฏให้เห็นในค่ำคืนดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งอีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คือการถ่ายภาพดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์ด้วยมือถือผ่านกล้องโทรทรรศน์เก็บกลับบ้านไปเป็นที่ระลึก นับเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่ช่วยสร้างความตระหนักและความตื่นตัวให้ประชาชนไทยหันมาสนใจดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

          ดร.ศรัณย์ กล่าวว่า ตามปกติแล้วดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง) หรือใกล้โลกมากที่สุดเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 8 เมษายน 2560 เวลาประมาณ 04.28 น. ตามเวลาประเทศไทย ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างมาก ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงรุ่งเช้า ซึ่งหลังจากนี้ เรายังสามารถชมความสวยงามของดาวพฤหัสบดีในช่วงเวลาดังกล่าวได้จนถึงประมาณเดือนกรกฎาคม ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์หรือใกล้โลกมากที่สุด ครั้งต่อไปในวันที่ 9 พฤษภาคม 2561

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

ดูดาวพฤหัสบดี

ภาพและข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สดร. ปลื้ม..ฟ้าเป็นใจ คนแห่ชมดาวพฤหัสบดีโคจรใกล้โลกมากสุด เห็นชัดมาเต็ม !! อัปเดตล่าสุด 9 เมษายน 2560 เวลา 12:14:34 5,764 อ่าน
TOP