กองทัพอากาศเตือน ภาคเหนือ-ใต้ เป็นพื้นที่เสี่ยงสถานีอวกาศเทียนกง-1 ของจีน โหม่งโลก หลังขัดข้องจนเสียการควบคุม เมื่อปี 2559
จากกรณีที่หน่วยงานอวกาศแห่งชาติจีนเผยว่า สถานีอวกาศแห่งแรกของจีน "เทียนกง-1" หนัก 8.5 ตัน ที่ถูกส่งสู่ห้วงอวกาศเมื่อปี พ.ศ. 2554 กระทั่งเมื่อเดือนมีนาคม 2559 เทียนกง-1 เกิดขัดข้องสูญเสียการควบคุมจนต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ไป และคาดการณ์ว่า หากเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศไม่หมด จะตกลงสู่พื้นผิวโลก ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึง 4 เมษายน นั้น
ล่าสุด วันที่ 28 มีนาคม 2561 พล.อ.อ. จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) ได้คำนวณ Ground Track ของสถานีอวกาศเทียนกง-1 และประเมินพื้นที่เสี่ยงของประเทศไทย ดังนี้
จากกรณีที่หน่วยงานอวกาศแห่งชาติจีนเผยว่า สถานีอวกาศแห่งแรกของจีน "เทียนกง-1" หนัก 8.5 ตัน ที่ถูกส่งสู่ห้วงอวกาศเมื่อปี พ.ศ. 2554 กระทั่งเมื่อเดือนมีนาคม 2559 เทียนกง-1 เกิดขัดข้องสูญเสียการควบคุมจนต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ไป และคาดการณ์ว่า หากเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศไม่หมด จะตกลงสู่พื้นผิวโลก ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึง 4 เมษายน นั้น
ล่าสุด วันที่ 28 มีนาคม 2561 พล.อ.อ. จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) ได้คำนวณ Ground Track ของสถานีอวกาศเทียนกง-1 และประเมินพื้นที่เสี่ยงของประเทศไทย ดังนี้
เวลาประมาณ 03.55 น. พื้นที่เสี่ยง คือ ภาคเหนือ
เวลาประมาณ 11.17 น. พื้นที่เสี่ยง คือ ภาคใต้
- วันที่ 31 มีนาคม
เวลาประมาณ 03.27 น. พื้นที่เสี่ยง คือ ภาคเหนือ
เวลาประมาณ 12.48 น. พื้นที่เสี่ยง คือ ภาคใต้
- วันที่ 1 เมษายน
เวลาประมาณ 12.28 น. พื้นที่เสี่ยง คือ ภาคใต้
- วันที่ 2 เมษายน
เวลาประมาณ 11.47 น. ระยะสูง 183 กิโลเมตร พื้นที่เสี่ยง คือ ภาคใต้
เวลาประมาณ 02.26 น. ระยะสูง 178 กิโลเมตร พื้นที่เสี่ยง คือ ภาคเหนือ
- วันที่ 3 เมษายน
เวลาประมาณ 11.14 น. ระยะสูง 178 กิโลเมตร พื้นที่เสี่ยง คือ ภาคใต้
- วันที่ 4 เมษายน
เวลาประมาณ 01.21 น. ระยะสูง 171 กิโลเมตร พื้นที่เสี่ยง คือ ภาคเหนือ
เวลาประมาณ 10.40 น. ระยะสูง 173 กิโลเมตร พื้นที่เสี่ยง คือ ภาคใต้
ทั้งนี้หากผู้ใดพบเห็นวัตถุต้องสงสัยว่าจะเป็นชิ้นส่วนของสถานีอวกาศเทียนกง-1 ให้ปฏิบัติตน ดังนี้
1. ห้ามสัมผัสวัตถุต้องสงสัย เนื่องจากอาจมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
2. ห้ามเก็บไว้ในครอบครอง เนื่องจากผิดกฎหมายระหว่างประเทศ (รัฐบาลไทยต้องส่งคืนรัฐบาลจีน)
3. แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด หรือสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองกิจการอวกาศ ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ โทร. 09-8389-3566
ภาพจาก STR/AFP
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก