"ความเชื่อ" เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมานานแสนนาน
จึงไม่แปลกที่ในเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ เราจะได้ยินชื่อของพิธีกรรม
และความเชื่อมากมายที่เราอาจไม่เคยรู้ อย่างเช่น "วันลอยกระทง"
นอกจากจะมีพิธีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ ปล่อยโคมลอย การประกวดนางนพมาศ
อย่างที่เรารู้จักกันดีแล้ว
อีกหนึ่งพิธีกรรมความเชื่อที่ชาวบ้านบางแห่งปฏิบัติกันก็คือ
"พิธีอาบน้ำเพ็ญ" หรือ "อาบแสงเพ็ญ"
สำหรับ
"พิธีอาบน้ำเพ็ญ" นี้ เป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่โบราณ ที่คนเชื่อกันว่า
การได้อาบน้ำตามแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ
หรือแม้แต่อาบน้ำในภาชนะที่รองไว้ในที่โล่งแจ้งกลางแสงจันทร์ในวันพระจันทร์เต็มดวง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 และอธิษฐานในสิ่งดี ๆ จะช่วยเสริมบารมี
และสิริมงคลให้แก่ชีวิต เพราะน้ำที่ต้องแสงจันทร์จะช่วยชำระบาป
สาปส่งสิ่งที่ไม่ดี ช่วยสะเดาะเคราะห์
และขจัดสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายให้หายไปจากจิตใจและร่างกาย
ทั้งนี้ พิธีดังกล่าวเป็นการเอาเคล็ดเอาชัยซึ่งถือปฏิบัติกันมาในบางแห่ง และในบางครอบครัวที่มีความเชื่อเท่านั้น ไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนัก ในสมัยก่อน ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะเป็นบุคคลที่ได้รับรู้มา หรือได้รับการสืบทอดวิชาประเภทศาสตร์ลี้ลับ ไม่เป็นที่เปิดเผยแก่บุคคลหรือสาธารณชนทั่วไป
ทั้งนี้ พิธีดังกล่าวเป็นการเอาเคล็ดเอาชัยซึ่งถือปฏิบัติกันมาในบางแห่ง และในบางครอบครัวที่มีความเชื่อเท่านั้น ไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนัก ในสมัยก่อน ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะเป็นบุคคลที่ได้รับรู้มา หรือได้รับการสืบทอดวิชาประเภทศาสตร์ลี้ลับ ไม่เป็นที่เปิดเผยแก่บุคคลหรือสาธารณชนทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้
ยังมีวัดบางแห่งที่มีการกระทำพิธีกรรมนี้เป็นประจำทุกปีในคืนวันลอยกระทง ที่จะมีพระสงฆ์ และฆราวาสมาร่วมพิธีในลานกลางแจ้ง
และใช้น้ำที่พระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์แล้ว
บางแห่งก็จะมีสายสิญจน์โยงสู่ภาชนะที่เก็บน้ำต่อเนื่องไปยังผู้เข้าร่วมพิธีทุกคน
เพื่อให้มนต์และคาถาแผ่เมตตาเชื่อมโยงไปให้บังเกิดแต่สิ่งที่ดี
มีความสำเร็จ มีความสุข สุขภาพแข็งแรง
ก็เป็นอีกหนึ่งพิธีกรรมความเชื่อของคนโบราณที่คนรุ่นใหม่ควรจะรู้จักไว้ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงคติ และวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อนอย่างเห็นได้ชัด...