เปิดเรื่องราวชีวิตหญิงอินเดีย ผู้ป่วยเป็นโรคหายาก ร่างกายไม่เจริญเติบโต แม้อายุ 40 ปี แต่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนอายุ 14 ปี เผยใช้ชีวิตยาก เคยซึมเศร้าและทุกข์ แต่ทุกวันนี้มีความสุข เพราะเรียนรู้ที่จะรักตัวเอง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos
ภาพจาก Pinky Bahroos
เรื่องราวชีวิตที่น่าประหลาดใจของผู้หญิงคนนี้ถูกหยิบมารายงานโดยเว็บไซต์เดลี่เมล เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561 พิงกี้ป่วยเป็นโรคเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้โครโมโซมเพศ หรือต่อมเพศไม่เจริญ ส่งผลให้ผู้ป่วยประสบปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่าง ทั้งในด้านเจริญพันธุ์ กระดูก ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และสิ่งที่ปรากฏชัดเจนคือ การเจริญเติบโตของร่างกาย สำหรับกรณีของพิงกี้นั้น เธอเกิดมาปกติเหมือนเด็กคนอื่น ๆ แต่เมื่อเธออายุได้ 13 ปี เค้าลางความผิดปกติก็ปรากฏให้เห็น
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos
ด้วยเหตุนี้ โมฮานและภัควตี จึงตัดสินใจพาพิงกี้ ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยแพทย์พบว่าโครโมโซม X ของเธอหายไป นั่นหมายความว่าเธอจะไม่โตขึ้น ร่างกายของเธอจะไม่มีวันพัฒนาเข้าสู่วัยหนุ่มสาว และลืมเรื่องการมีลูกไปได้เลย เพราะเธอจะไม่มีประจำเดือน
"ตอนที่ฉันยังเด็ก ร่างกายของฉันก็ปกติดีเหมือนคนอื่น ๆ ฉันมีความสุข ร่าเริงสดใสตามวัยของฉัน แต่แล้วในวันหนึ่ง ฉันไปพบแฟ้มสีน้ำเงินเล่มหนึ่งซ่อนเอาไว้ในบ้าน มันคือผลการตรวจร่างกายของฉัน พ่อแม่เอามันไปซ่อนไว้ เพราะพวกเขาช็อกมากที่รับรู้ว่าลูกสาวของพวกเขาเป็นอะไร และไม่สามารถทำใจยอมรับได้ แฟ้มนั้นหนามาก มีเอกสารเยอะ และเมื่ออ่านไปถึงหน้าสุุดท้าย มันมีรายละเอียดระบุว่าฉันไม่มีโครโมโซม X"
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos
"ตอนนั้นฉันไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ว่ามันหมายความว่ายังไง
มันแปลว่าฉันไม่ปกติเหรอ หรือแปลว่าฉันไม่ใช่เด็กผู้หญิง ?
มันทำให้ฉันตกใจมากเลยค่ะ มันเป็นสิ่งที่ทำใจยอมรับได้ยากสุด ๆ
และฉันก็ไม่กล้าเข้าไปถามพ่อแม่ว่าตกลงแล้วมันคืออะไรกันแน่ " พิงกี้
เล่าถึงวันที่เธอรับรู้ว่าตัวเองเป็นอะไร
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos
ภาพจาก Pinky Bahroos
"พอน้องสาวฉันแต่งงาน
ฉันเหมือนถูกซัดด้วยคลื่นลูกใหญ่มาก
มันไม่ใช่ว่าฉันไม่มีความสุขกับน้องสาวนะ ฉันยินดีที่เธอได้แต่งงาน
แต่เมื่อมองดูตัวเอง ฉันคิดว่าตัวเองคงไม่มีวันได้มีคู่ เหล่าป้า ๆ
ก็เอาแต่ถามฉันว่ามีอะไรผิดปกติกับฉันหรือเปล่า ทำไมฉันถึงไม่มีแฟน
ทำไมฉันถึงยังไม่หาสามี เพราะน้องสาวก็เป็นฝั่งเป็นฝาไปแล้ว
ตอนนั้นฉันอ้ำอึ้งไปหมด พูดอะไรไม่ออก และก็ได้แต่ร้องไห้
คำถามพวกนั้นทำให้ฉันทั้งโกรธและรู้สึกแย่ ฉันกลายเป็นคนซึมเศร้า
ไม่กินไม่นอน และไม่อยากทำอะไรอีกแล้ว" พิงกี้
เล่าถึงช่วงเวลาเลวร้ายที่เธอพบเจอ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos
สำหรับคนเราแล้ว การแก่ตัวตามวัยเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพบเจอกันทั้งนั้น
แต่เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากแก่ โดยเฉพาะผู้หญิง
เพราะการแก่ตัวลงย่อมหมายถึงความงามที่เสื่อมลงไปด้วย หลาย ๆ
คนจึงสรรหาวิธีสารพัดเพื่อชะลอความชรา
ไม่ว่าจะเป็นการโปะครีมบำรุงกระชับผิว ร้อยไหม ฉีดโบท็อกซ์
ไปจนถึงการทำศัลยกรรมยกเครื่องใบหน้า
เพื่อคงไว้ซึ่งความสาวความสวยของวัยเยาว์
แต่สำหรับหญิงชาวอินเดียที่ชื่อ พิงกี้ บาห์รู นั้น
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเธอมันตรงกันข้ามกับคนอื่น ๆ
สิ่งที่ชีวิตของเธอปรารถนามากที่สุดคือการได้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับผู้ใหญ่
และอยากดูแก่เหมือนผู้หญิงวัยกลางคน
เนื่องจากรูปลักษณ์ของเธอดูเด็กกว่าอายุไปมาก มากจนสร้างปัญหาในชีวิต
เพราะเธอมีรูปร่างหน้าตาไม่ต่างจากเด็กอายุ 14 ปี
ทั้งที่แท้จริงอายุของเธอเลยวัย 40 ปี ไปแล้ว !
ภาพจาก Pinky Bahroos
เรื่องราวชีวิตที่น่าประหลาดใจของผู้หญิงคนนี้ถูกหยิบมารายงานโดยเว็บไซต์เดลี่เมล เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561 พิงกี้ป่วยเป็นโรคเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้โครโมโซมเพศ หรือต่อมเพศไม่เจริญ ส่งผลให้ผู้ป่วยประสบปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่าง ทั้งในด้านเจริญพันธุ์ กระดูก ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และสิ่งที่ปรากฏชัดเจนคือ การเจริญเติบโตของร่างกาย สำหรับกรณีของพิงกี้นั้น เธอเกิดมาปกติเหมือนเด็กคนอื่น ๆ แต่เมื่อเธออายุได้ 13 ปี เค้าลางความผิดปกติก็ปรากฏให้เห็น
ตอนที่พิงกี้ถึงวัยเข้าเรียนมัธยมนั้น
โมฮาน และ ภัควตี พ่อแม่ของเธอ
เริ่มสังเกตได้ว่าลูกสาวของพวกเขาแตกต่างไปจากเด็กผู้หญิงคนอื่น ๆ
พวกเขาพบว่าพิงกี้ไม่โตขึ้นเลย เธอเป็นคนตัวเล็ก สูงแค่ 142 เซนติเมตร หนัก
31.7 กิโลกรัม และเมื่อเวลาผ่านไป ความกังวลใจของพ่อแม่ก็เพิ่มขึ้น
เพราะตามปกติแล้ว
วัยรุ่นหญิงในวัยนี้จะมีความเปลี่ยนแปลงตามวัยที่เห็นได้ชัดมาก
ทั้งทรวดทรงองค์เอว และการมีประจำเดือน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos
ด้วยเหตุนี้ โมฮานและภัควตี จึงตัดสินใจพาพิงกี้ ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยแพทย์พบว่าโครโมโซม X ของเธอหายไป นั่นหมายความว่าเธอจะไม่โตขึ้น ร่างกายของเธอจะไม่มีวันพัฒนาเข้าสู่วัยหนุ่มสาว และลืมเรื่องการมีลูกไปได้เลย เพราะเธอจะไม่มีประจำเดือน
"ตอนที่ฉันยังเด็ก ร่างกายของฉันก็ปกติดีเหมือนคนอื่น ๆ ฉันมีความสุข ร่าเริงสดใสตามวัยของฉัน แต่แล้วในวันหนึ่ง ฉันไปพบแฟ้มสีน้ำเงินเล่มหนึ่งซ่อนเอาไว้ในบ้าน มันคือผลการตรวจร่างกายของฉัน พ่อแม่เอามันไปซ่อนไว้ เพราะพวกเขาช็อกมากที่รับรู้ว่าลูกสาวของพวกเขาเป็นอะไร และไม่สามารถทำใจยอมรับได้ แฟ้มนั้นหนามาก มีเอกสารเยอะ และเมื่ออ่านไปถึงหน้าสุุดท้าย มันมีรายละเอียดระบุว่าฉันไม่มีโครโมโซม X"
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos
การที่พิงกี้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนเด็กอายุ 13-14 ปี ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเธอในทุก ๆ
ด้าน เพราะไม่มีใครเชื่อว่าเธอเป็นผู้ใหญ่ ทุกครั้งที่พิงกี้ไปดูหนัง
เข้าผับ หรือซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เธอจะต้องควักบัตรประชาชนออกมายืนยันว่าเธอไม่ใช่เด็ก ซึ่งหลาย ๆ
คนก็ไม่เชื่อเธอ บ้างก็คิดว่าเป็นบัตรปลอม ตอนที่เธอไปสมัครงานเป็นครูนั้น
เจ้าหน้าที่ที่โรงเรียนคิดว่าเธอเป็นเด็กที่เข้ามาสมัครเรียน
และเวลาที่เธอไปไหนมาไหนกับหลานชาย วัย 17 ปี คนอื่น ๆ
จะคิดว่าเธอเป็นน้องสาวของเขา เพื่อน ๆ
ของเขาที่โรงเรียนก็คิดว่าเธอกับเขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos
นอกจากจะใช้ชีวิตลำบากแล้ว
สุขภาพของเธอก็ไม่ค่อยจะดี เพราะกระดูกไม่แข็งแรง
ทำให้เธอต้องดูแลรักษาตัวเองเป็นพิเศษ ยิ่งไปกว่านั้น
เธอยังตกเป็นที่ล้อเลียนของคนอื่น และถูกแซวมาตลอดชีวิต
แม้ว่าบางครั้งคนที่แซวเธอไม่ได้มีเจตนาร้าย
แต่พิงกี้ไม่ได้สนุกหรือตลกขบขันไปกับพวกเขาด้วย
สิ่งเหล่านี้มันทำให้เธอเครียด เก็บกด ไม่มีความสุขในสิ่งที่ตัวเองเป็น
และกลายเป็นโรคซึมเศร้า เธอจมอยู่กับความทุกข์เป็นปี ๆ ไม่อยากออกไปไหน
ไม่อยากออกไปเจอใคร คิดว่าชีวิตนี้ตัวเองคงไม่มีทางได้เจอความรัก
และคงไม่มีวันได้แต่งงาน
"สมัยฉันเป็นวัยรุ่น เพื่อน ๆ
ไม่รู้ว่าฉันผิดปกติ พวกเขาดีกับฉันมาก และคิดว่าฉันแค่เป็นคนตัวเล็ก
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ฉันก็เหมือนถูกผลักออกไปนอกวง
เพราะร่างกายของฉันไม่เคยเข้าสู่วัยสาว
ฉันจึงไม่เคยมีประสบการณ์เหมือนพวกเธอ ทั้งขนาดหน้าอก รวมทั้งประจำเดือน
ฉันเลยคุยกับพวกเธอไม่รู้เรื่อง แถมหลาย ๆ คนยังให้ฉันเรียกพวกเธอว่าพี่
และในวันแข่งกีฬาสี ฉันก็ได้ที่โหล่ตลอด"
ภาพจาก Pinky Bahroos
หลังเรียนจบ
พิงกี้ได้งานเป็นเอเจนซี่ท่องเที่ยวและทำงานที่ดูไบ
เธอได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์มากมาย และได้เจอผู้คนที่หลากหลาย
เธอตัดสินใจลาออกและกลับบ้านเกิดหลังจากอยู่ที่นั่นได้ 12 ปี
เนื่องจากปัญหาสุขภาพของเธอ โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุน และเมื่อเวลาผ่านไป
พิงกี้ก็เรียนรู้ที่จะอยู่กับความแตกต่าง เริ่มยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น
การเปลี่ยนมุมมองชีวิตครั้งนี้ มันทำให้พิงกี้รักตัวเองมากขึ้น
และคิดว่าตัวเองโชคดีแล้วที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ในทุกวันนี้
เพราะเด็กที่ป่วยเป็นโรคเทอร์เนอร์ มักจะเสียชีวิตตั้งแต่กำเนิด
มีโอกาสรอดชีวิตแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แม้ร่างกายของเธอจะไม่โต
แต่ความคิดของเธอมันได้โตขึ้น ปัจจุบันพิงกี้อายุ 40 ปีแล้ว
เธอทำงานเป็นครูสอนเด็ก ๆ อายุ 3-8 ขวบ
ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองวาโดดารา รัฐคุชราต ทางตะวันตกของประเทศอินเดีย
และเธอก็มีความสุขกับงานนี้มาก
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos
พิงกี้ เผยว่า การได้อยู่กับเด็ก ๆ
มันทำให้เธอได้เรียนรู้ความหมายของชีวิต และทำให้เธอมีความสุข
เธอชื่นชอบการเล่านิทานและแต่งกลอนอธิบายความรู้สึกของตัวเอง
และเธอก็ได้จับปากกาเขียนหนังสือบอกเล่าถึงประสบการณ์ชีวิตของเธอในฐานะคนป่วยโรคเทอร์เนอร์ ซึ่งกำลังจะวางแผนเร็ว ๆ นี้
เธอตื่นเต้นที่จะได้รับรู้กระแสตอบรับจากสังคมเกี่ยวกับหนังสือของเธอ
พิงกี้หวังว่ามันจะเป็นหนังสือที่ให้ความรู้แก่ใครหลาย ๆ คน
และทำให้สังคมเข้าใจภาวะความผิดปกตินี้มากขึ้น
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pinky Bahroos