ศาสตร์และศิลป์พระราชา ร้อยเรื่องราวแห่งพระมหากรุณาธิคุณ

          กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดทำ "ศาสตร์และศิลป์พระราชา" หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของในหลวง รัชกาลที่ ๙

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

          ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ พสกนิกรไทยและชาวโลกล้วนเห็นภาพของพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ มากมายในทุกยุคสมัยและในทุกท้องถิ่นทุกภูมิภาค

          ภาพทรงก้าวพระบาทข้ามแม่น้ำลำธาร หรือภาพทรงตรวจงานจนพระเสโทหลั่งไหลหยดค้างปลายพระนาสิก หรือภาพประทับนั่งข้างรถพระที่นั่ง เพื่อทอดพระเนตรแผนที่ที่จะเสด็จฯ ต่อ เพราะไม่มีทางเหลือให้รถวิ่งอีกต่อไป รวมทั้งภาพทรงประกอบพระราชพิธีและพิธีต่าง ๆ ทางวัฒนธรรมมากมายจนนับไม่ถ้วน เหล่านี้เป็นภาพที่พสกนิกรไทยคุ้นชิน  แต่เบื้องหน้าหรือเบื้องหลังหรือที่มาที่ไปของพระราชกรณียกิจเหล่านั้น น้อยคนนักที่จะได้รับรู้

          ๗๐ ปีแห่งการครองราชย์อันเป็นระยะเวลาอันยาวนานนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงดำริ ทรงไตร่ตรอง และทรงพินิจพิจารณาแล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่เพียงแค่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจหรือพระราชพิธีต่าง ๆ ไปตามกำหนด แต่หากทรงวางแผน แก้ไข สืบสาน สืบทอดและสร้างสรรค์ในทุกพระราชพิธีหรือพระราชกรณียกิจที่ทรงทำ เพื่อประชาชนของพระองค์อย่างมีเป้าหมาย

          กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้จัดทำหนังสือ "ศาสตร์และศิลป์พระราชา" ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และได้พบว่านอกจากพระราชภารกิจที่เกี่ยวข้องกับ "ศาสตร์" หรือความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ในพระราชกรณียกิจแล้ว พระองค์ยังทรงมี "ศิลป์" ในการเข้าถึงประชาชน และทรงมี "ศิลป์" ในพระราชหฤทัยด้วย ดังนี้

๑. ด้านวรรณกรรมและภาษา

          - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ฯ

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

          - พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านและความหมายภาษาไทยฉบับพระราชทาน

          - พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๙ : ทรงสร้างสรรค์งานวรรณศิลป์เป็นแบบอย่าง (พระมหาชนก ติโต เรื่องทองแดง และนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ)

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

          - แนวทางปฏิบัติพระราชทานต่อกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาของพวกเขา

๒. ด้านศิลปะการแสดง

          - การประโคมย่ำยามในพระราชพิธีพระบรมศพ

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

          - โนรา

          - เพลงพระราชนิพนธ์

          - บัลเลต์มโนห์รา : ทรงสร้างสรรค์ศิลปะผสมผสานตะวันออกกับตะวันตก

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

          - ดนตรีไทย : ทรงริเริ่มไว้เป็นปฐม

          - พลานุภาพของพระมหาชนกผ่านการแสดง

๓. ด้านแนวทางปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณีและเทศกาล

          - ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีพยุหยาตราทางชลมารค : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทย

          - พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ : ทรงฟื้นฟูบำรุงขวัญเกษตรกรไทย

          - ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีพระราชทานครอบประธานประกอบพิธีไหว้ครูโขนละคร และพิธีต่อท่ารำเพลงหน้าพาทย์
  องค์พระพิราพ

          - ประเพณีแข่งเรือยาว : ทรงส่งเสริม

          - ประเพณีเสด็จฯ ไปทรงดนตรี : พระมหากรุณาธิคุณพิเศษ

          - พระราชพิธีถวายเทียน : ทรงสืบทอดรักษา

ศาสตร์และศิลป์พระราชา


          - พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร : ทรงสืบทอดรักษา

          - การศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม : ทรงส่งเสริมสนับสนุน

          - เอกอัครศาสนูปถัมภก : ทรงอุปภัมภ์ศาสนาทุกศาสนาอย่างเสมอภาค

          - พระบรมราโชวาทสู่แนวปฏิบัติทางสังคม

          - พิธีพระราชทานปริญญาบัตร : เพื่อบัณฑิตน้อมนำไปปฏิบัติ

๔. ด้านความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

          - ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย : สนองพระราชปรารภ

          - การอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง : สืบเนื่องจากพระราชดำรัส

          - พระปรีชาสามารถด้านโหราศาสตร์ไทย : ประโยชน์แก่พสกนิกร

          - ภูมิปัญญาการทำเหมืองฝายตามแนวพระราชดำริ

          - ภูมิปัญญาการใช้หญ้าแฝกตามพระราชดำริเพื่อควบคุมระบบนิเวศ

          - การอนุรักษ์ดินอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

          - ปฏิทินหลวงพระราชทาน

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

          - ละครลิงตามพระราชประสงค์

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

          - ภูมิปัญญาการเลี้ยงโคนม : ทางสู่อาชีพพระราชทาน

          - ภูมิปัญญาการเลี้ยงควายไทย : พระมหากรุณาธิคุณต่อเกษตรกร

          - ช้างสำคัญสู่พระบรมโพธิสมภาร

๕. ด้านการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว

          - ว่าวไทย : ทรงส่งเสริมเป็นแบบอย่าง

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

          - การแข่งเรือเจริญก้าวหน้าสูงสุดในรัชสมัย

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

          - พระมหากรุณาธิคุณต่อวงการมวยไทย

          - การแข่งเรือใบ : พระปรีชาสามารถระดับโลก

๖. ด้านงานช่างฝีมือ

          - เรือใบฝีพระหัตถ์

          - ชุดไทยพระราชนิยมจากพระราชดำริ

          - ภาพเขียนบนผนังในพระพุทธรัตนสถาน : พระอัจฉริยะในแนวคิด

ศาสตร์และศิลป์พระราชา

          - งานปั้นพระพุทธรูป : ประติมากรรมฝีพระหัตถ์

          - "บ้านไร่ของในหลวง" : สถาปัตยกรรมตามแนวพระราชดำริในโครงการชั่งหัวมันฯ

          - ภาพถ่าย : พระปรีชาสามารถขจรขจาย

          หนังสือ "ศาสตร์และศิลป์พระราชา" เล่มนี้ จึงเสมือนเป็นบันทึกแห่งยุคสมัย อันเป็นสิ่งแทนความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและความจงรักภักดีที่ปวงพสกนิกรชาวไทยมีต่อพระองค์อย่างไม่เสื่อมคลาย

          ผู้ที่สนใจหนังสือ "ศาสตร์และศิลป์พระราชา" สามารถเข้าไปอ่านเนื้อหาและชมพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี รวมทั้งพระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ ของพระองค์เพิ่มเติมได้ที่
book.culture.go.th หรือเพียงคุณหยิบสมาร์ตโฟนขึ้นมาแล้วสแกนคิวอาร์โค้ด ก็สามารถอ่านหนังสือในแบบฉบับเต็มได้อย่างสะดวกสบายสุด ๆ


          ศาสตร์และศิลป์พระราชา


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ศาสตร์และศิลป์พระราชา ร้อยเรื่องราวแห่งพระมหากรุณาธิคุณ อัปเดตล่าสุด 26 ตุลาคม 2561 เวลา 17:43:28 6,584 อ่าน
TOP