กรมประมง แจงชัด จับและกินปลากระเบนนก ไม่ผิดกฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่ไม่ควร เหตุสหภาพสากลฯ จัดเป็นสัตว์น้ำที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ จึงสมควรอยู่ในทะเลมากกว่าจับมาบริโภค
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง
กลายเป็นประเด็นเดือดที่ชาวเน็ตวิพากษ์วิจารณ์กันในหลายแง่มุม หลังรายการ MasterChef Thailand นำปลากระเบนนกมาเป็นวัตถุดิบในการแข่งขันทำอาหาร บ้างก็บอกเป็นสัตว์หายากควรร่วมกันอนุรักษ์ ไม่ควรนำมาประกอบอาหาร บ้างก็ว่าหาซื้อได้ตามทั่วตลาด และสามารถล่าได้ไม่ผิดกฎหมายอีกด้วย
ล่าสุด (5 มีนาคม 2562) เฟซบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง รายงานว่า นายอรุณชัย พุทธเจริญ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ปลากระเบนที่ปรากฏอยู่ในรายการดังกล่าว จากการตรวจสอบพบมี 2 ชนิดพันธุ์ คือ กระเบนหิน และ กระเบนนกจุดขาว สำหรับปลากระเบนนกจุดขาว หรือ ปลากระเบนค้างคาว หรือ ปลากระเบนยี่สน อยู่ในตระกูลปลากระเบนนก (Myliobatidae) เป็นปลากระเบนทะเลที่พบได้ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และอีกหลายประเทศ รวมถึงน่านน้ำประเทศไทย ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
โดยลักษณะเด่นมีผิวหนังเรียบ หลังสีดำมีจุดขาวกระจาย ท้องสีขาว หางเรียวยาวมาก มีส่วนหัวแยกออกจากครีบอย่างชัดเจน ทำให้ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนนกบิน มีขนาดกว้างได้ถึง 1.5 เมตร และเคยพบสูงสุดถึง 3 เมตร น้ำหนัก 230 กิโลกรัม กินปลาขนาดเล็ก หอย ปลาหมึก กุ้ง และปูเป็นอาหาร
ในประเทศไทยปลากระเบนนกเป็นสัตว์ที่พลอยได้จากการประมง ไม่อยู่ในเป้าหมายการจับ และไม่มีเครื่องมือจับเฉพาะ เป็นสัตว์น้ำที่ไม่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง และบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)
แต่ทางสหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ
(IUCN) ได้ทำการสำรวจและประเมินแล้วว่า ปลากระเบนนกชนิดนี้
รวมถึงปลาฉลามและปลากระเบนทั่วโลกจำนวน 1,038 ชนิด
เป็นสัตว์น้ำที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
จึงขอความร่วมมือประเทศที่มีสัตว์น้ำดังกล่าว
ให้ความสำคัญและร่วมกันอนุรักษ์
ดังนั้น เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำไม่ให้ลดน้อยลงจนถึงขั้นสูญพันธุ์ จึงขอความร่วมมือพี่น้องชาวประมงหากจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่สัตว์น้ำเศรษฐกิจได้ ขอให้ช่วยกันปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ แม้สัตว์น้ำบางชนิดจะไม่ใช่สัตว์น้ำเศรษฐกิจ และไม่นิยมนำมาบริโภค แต่ก็สามารถเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของท้องทะเลไทยได้เป็นอย่างดี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เฟซบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง
ล่าสุด (5 มีนาคม 2562) เฟซบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง รายงานว่า นายอรุณชัย พุทธเจริญ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ปลากระเบนที่ปรากฏอยู่ในรายการดังกล่าว จากการตรวจสอบพบมี 2 ชนิดพันธุ์ คือ กระเบนหิน และ กระเบนนกจุดขาว สำหรับปลากระเบนนกจุดขาว หรือ ปลากระเบนค้างคาว หรือ ปลากระเบนยี่สน อยู่ในตระกูลปลากระเบนนก (Myliobatidae) เป็นปลากระเบนทะเลที่พบได้ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และอีกหลายประเทศ รวมถึงน่านน้ำประเทศไทย ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
โดยลักษณะเด่นมีผิวหนังเรียบ หลังสีดำมีจุดขาวกระจาย ท้องสีขาว หางเรียวยาวมาก มีส่วนหัวแยกออกจากครีบอย่างชัดเจน ทำให้ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระเหมือนนกบิน มีขนาดกว้างได้ถึง 1.5 เมตร และเคยพบสูงสุดถึง 3 เมตร น้ำหนัก 230 กิโลกรัม กินปลาขนาดเล็ก หอย ปลาหมึก กุ้ง และปูเป็นอาหาร
ในประเทศไทยปลากระเบนนกเป็นสัตว์ที่พลอยได้จากการประมง ไม่อยู่ในเป้าหมายการจับ และไม่มีเครื่องมือจับเฉพาะ เป็นสัตว์น้ำที่ไม่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง และบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)
ดังนั้น เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำไม่ให้ลดน้อยลงจนถึงขั้นสูญพันธุ์ จึงขอความร่วมมือพี่น้องชาวประมงหากจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่สัตว์น้ำเศรษฐกิจได้ ขอให้ช่วยกันปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ แม้สัตว์น้ำบางชนิดจะไม่ใช่สัตว์น้ำเศรษฐกิจ และไม่นิยมนำมาบริโภค แต่ก็สามารถเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของท้องทะเลไทยได้เป็นอย่างดี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เฟซบุ๊ก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง