ทำความรู้จัก 5 ขั้นตอน การลงชื่อคัดเลือกจาก ส.ส. - ส.ว. ทั้ง 750 คน ทุกคนต้องโหวตเปิดเผยขานชื่อเรียงตัวหนุนใครเป็นนายกฯ ล่าสุดเหลือเพียง 6 แคนดิเดตคุณสมบัติครบ จาก 5 พรรคการเมือง
หลังเลือกตั้ง 2562 ผ่านพ้นไป เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา
ท่ามกลางวังวนแห่งความวุ่นวาย
ที่ส่อเค้าลางมาตั้งแต่ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง
จนถึงตอนนี้หลายคนคงเกิดความสงสัยว่า เลือกตั้งเสร็จแล้วเราจะได้นายกฯ
คนใหม่ เมื่อไร มีวิธีการเลือกนายกรัฐมนตรี และการจัดตั้งรัฐบาลอย่างไร
ในส่วนของขั้นตอนการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น
ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ได้กำหนดเอาไว้ใน 5
หมวดการพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1.
ผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อให้ ส.ส. โหวต จะต้องมีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 159 คือ มาจากพรรคการเมืองที่มี ส.ส.
ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของสมาชิกที่มีอยู่ (25 คน หากมี ส.ส. เต็มสภา 500 คน)
ทำให้ขณะนี้เหลือตัวเลือกในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพียง 6 คน จากพรรคที่มี
ส.ส. เกิน 25 คน คือ
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (เพื่อไทย)
- นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (เพื่อไทย)
- นายชัยเกษม นิติสิริ (เพื่อไทย)
- พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พลังประชารัฐ)
- นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (อนาคตใหม่)
- นายอนุทิน ชาญวีรกูล (ภูมิใจไทย)
2. การเสนอชื่อผู้ใดเข้าสู่การโหวตจะต้องมีเสียง ส.ส.
รับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของ ส.ส. ที่มีอยู่ หรือคิดเป็นจำนวน 50 คน จาก
500 คน
3.
การออกเสียงลงคะแนนพิจารณาให้ความเห็นชอบให้บุคคลดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีให้กระทําเป็นการเปิดเผย
โดยเลขาธิการจะเรียกชื่อสมาชิกตามลําดับอักษร
และให้แต่ละคนออกเสียงลงคะแนนเป็นรายบุคคล โดยการกล่าว เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ
หรือ งดออกเสียง
4.
มติเห็นชอบจะต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิก ส.ส. และ
ส.ว. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือคิดเป็น 376 จาก 750 คน
หากคะแนนเห็นชอบไม่มากกว่ากึ่งหนึ่ง ก็จะทำการออกเสียงลงคะแนนชื่อคนต่อไป
5. หากลงคะแนนแล้วไม่มีใครได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่ง
ก็จะวนโหวตต่อไปจนกว่าจะมีผู้ได้คะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ทั้งนี้ ข้อแตกต่างของรัฐธรรมนูญฉบับนี้กับฉบับปี 2550 คือ
ฉบับปัจจุบันไม่กำหนดเวลาในการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ ขณะที่ฉบับปี 2550
กำหนดเวลาไว้ 30 วัน หากพ้น 30 วัน ยังไม่มีใครได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่ง
ก็จะให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรีโดยอัตโนมัติ
และธรรมนูญฉบับนี้กับฉบับปี 2550 กำหนดให้โหวตเลือกนายกฯ ได้เฉพาะ ส.ส.
ส่วน ส.ว. 250 คน ไม่มีสิทธิ์มาร่วมโหวตด้วยเหมือนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก