ชูวิทย์ ไขสาเหตุ เพราะเหตุใด สนธิ ลิ้มทองกุล ติดคุกเพียง 3 ปี ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ปล่อยตัวพ้นคุก พร้อมสอนวิธีนับโทษผู้ต้องหา
เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ระบุถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 72 ปี ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว จากการเป็นผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม หลังรับโทษในเรือนจำมาแล้ว 3 ปี 1 เดือน เข้าข่ายได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว ตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2562 เนื่องจากเป็นนักโทษชั้นเยี่ยมที่ช่วยเหลืองานของทางราชการหลายอย่าง และเป็นผู้ที่มีอายุเกิน 70 ปีบริบูรณ์ ว่า เมื่อนักโทษเด็ดขาด มีอายุเกิน 70 ปี จะมีคุณสมบัติตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2562 แต่กรณีของนายสนธิ นั้นถูกตีความว่ามีคดีติดบัญชีแนบท้าย จึงไม่ได้รับการปล่อยตัวออกมาในตอนนั้น
แต่ต่อมา มีนักโทษในคดีลักษณะเดียวกันได้ไปร้องอุทธรณ์ ทางกรมราชทัณฑ์จึงส่งไปให้ศาลตีความ และได้รับการปล่อยตัวนายสนธิ จึงได้รับผลพลอยได้จากการตีความของศาลในครั้งนั้น เพราะเป็นนักโทษลักษณะเดียวกัน
นอกจากนี้ นายชูวิทย์ ยังอธิบายเกี่ยวกับวิธีนับโทษเอาไว้ว่า
กรณีนักโทษเด็ดขาดชายคดีหนึ่ง ต้องโทษ 15 ปี ไม่ติดคดีแนบท้าย เช่น คดีฆ่า
ข่มขืน ฉ้อโกงประชาชน จำคุกมาแล้ว 3 ปี ไม่เคยต้องโทษมาก่อน
เป็นนักโทษชั้นเยี่ยม เมื่อมีพระราชทานอภัยโทษ จะได้ลดโทษลง 1 ใน 2 จาก 15
ปี เหลือ 7 ปี 6 เดือน เมื่อติดไปแล้ว 3 ปี จึงเหลือโทษจำคุกอีก 4 ปี 6
เดือน
ผ่านไปอีก 2 ปี มีอภัยโทษอีกครั้ง เพราะยังเป็นนักโทษชั้นเยี่ยม นักโทษคนดังกล่าวจะได้ลดโทษอีกเป็น 1 ใน 2 จาก 7 ปี 6 เดือน เหลือ 3 ปี 9 เดือน เมื่อคิดกับเวลาที่เคยติดมาแล้ว 5 ปี ก็เท่ากับว่าได้กลับบ้านในที่สุด
เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ระบุถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล อายุ 72 ปี ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว จากการเป็นผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม หลังรับโทษในเรือนจำมาแล้ว 3 ปี 1 เดือน เข้าข่ายได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว ตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2562 เนื่องจากเป็นนักโทษชั้นเยี่ยมที่ช่วยเหลืองานของทางราชการหลายอย่าง และเป็นผู้ที่มีอายุเกิน 70 ปีบริบูรณ์ ว่า เมื่อนักโทษเด็ดขาด มีอายุเกิน 70 ปี จะมีคุณสมบัติตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2562 แต่กรณีของนายสนธิ นั้นถูกตีความว่ามีคดีติดบัญชีแนบท้าย จึงไม่ได้รับการปล่อยตัวออกมาในตอนนั้น
แต่ต่อมา มีนักโทษในคดีลักษณะเดียวกันได้ไปร้องอุทธรณ์ ทางกรมราชทัณฑ์จึงส่งไปให้ศาลตีความ และได้รับการปล่อยตัวนายสนธิ จึงได้รับผลพลอยได้จากการตีความของศาลในครั้งนั้น เพราะเป็นนักโทษลักษณะเดียวกัน
ผ่านไปอีก 2 ปี มีอภัยโทษอีกครั้ง เพราะยังเป็นนักโทษชั้นเยี่ยม นักโทษคนดังกล่าวจะได้ลดโทษอีกเป็น 1 ใน 2 จาก 7 ปี 6 เดือน เหลือ 3 ปี 9 เดือน เมื่อคิดกับเวลาที่เคยติดมาแล้ว 5 ปี ก็เท่ากับว่าได้กลับบ้านในที่สุด