EEC ร่วมปฏิวัติวงการศึกษาไทย สร้างหลักสูตร Demand Driven Education เน้นผลิตคนคุณภาพตอบสนองความต้องการ (Demand) ของภาคอุตสาหกรรม ลดปัญหาเด็กจบใหม่ตกงาน สู่การพัฒนาประเทศไทยยุค 4.0 อย่างยั่งยืน
ปัญหาเด็กจบใหม่ตกงานจำนวนมากในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสาขาที่เรียนไม่ตรงตามความต้องการของตลาด โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ยังขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทางที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณภาพเพียงพอ ที่จะเข้าไปช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้มีความเข้มแข็ง EEC เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงได้จับมือกับภาครัฐและเอกชน เร่งพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาในสาขาอาชีพต่าง ๆ ภายใต้โครงการ “Demand Driven Education” เพื่อป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม อันเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ในช่วงหลายปีมานี้ คำว่า “EEC” เริ่มจะผ่านหูผ่านตาใครหลายคนกันมาบ้างแล้ว แต่รู้ไหมว่า EEC สำคัญต่อประเทศไทยอย่างไร และคนไทยได้อะไรจาก EEC บ้าง เราจะขออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
EEC เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกอย่างบูรณาการ
ยกระดับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้สำเร็จ
อย่างยั่งยืน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศพัฒนา
EEC คืออะไร ?
EEC : Eastern Economic Corridor เป็นโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เน้นการพัฒนา 4 ด้านหลัก ๆ คือ โครงสร้างพื้นฐาน ธุรกิจอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว เมืองใหม่และชุมชน โดยมีเป้าหมายคือ “การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับโลก” ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ “Eastern Seaboard” ที่ได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 30 ปี ในอนาคตอันใกล้นี้ EEC เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศมีการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับเศรษฐกิจโลกให้เติบโตได้ในระยะยาว
แล้วทำไม EEC ถึงต้องเริ่มที่ภูมิภาคนี้ คำตอบคือ 3 จังหวัดที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ถือว่าเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมและแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เพราะมีทั้งนิคมอุตสาหกรรมกว่า 32 แห่ง, ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง, ศูนย์การผลิตปิโตรเคมีขนาดใหญ่ของเอเชีย, ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาอีกด้วย แต่ภาคตะวันออกเป็นเพียงโครงการตั้งต้นเท่านั้น ในอนาคต ECC จะเร่งพัฒนาภูมิภาคอื่น ๆ ให้กลายเป็นเขตพัฒนาพิเศษเช่นเดียวกัน
บัณฑิตจบใหม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของ EEC
โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นโครงการใหญ่ที่ต้องการบุคลากรจำนวนมาก กว่า 475,000 คน ซึ่งแม้ว่าในตลาดแรงงานปัจจุบัน จะมีบัณฑิตจบใหม่มากมาย แต่กลับมีศักยภาพไม่ตรงตามความต้องการ จึงเป็นที่มาของการเร่งสร้างคนคุณภาพ จนเกิดเป็นหลักสูตร “Demand Driven Education” หรือการจัดการศึกษารูปแบบใหม่เพื่อผลิตกำลังคนให้ตรงความต้องการ (Demand) เน้นสร้างคนที่มีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เป็นสำคัญ เพื่อป้อนเข้าสู่ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, อุตสาหกรรมดิจิทัล, อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร, อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต, อุตสาหกรรมโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี, อุตสาหกรรมระบบราง และอุตสาหกรรมการบิน
Demand Driven Education กับ EEC เกี่ยวข้องกันอย่างไร
หลักสูตร Demand Driven Education คืออะไร
หลักสูตร Demand Driven Education ดีอย่างไร
- ช่วยแก้ปัญหาบัณฑิตจบใหม่ล้นตลาด เพราะมีงานรองรับหลังเรียนจบ
- ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าทำงานในภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
- ช่วยผลิตคนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
- ช่วยพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตตรงจุด ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ
- ช่วยพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0
สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมหลักสูตร Demand Driven Education
ในขณะนี้มีสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมสร้างบุคลากรแบบ Demand Driven Education ทั้งในและนอกเขต EEC จำนวนมาก ระดับมหาวิทยาลัยกว่า 10 แห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิทยาลัยอาชีวศึกษา 43 แห่ง โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 205 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ 335 แห่ง
หากระบบการศึกษาตามหลักสูตร Demand Driven Education ได้รับการผลักดันเข้าสู่สถานศึกษาในวงกว้าง เพื่อช่วยพัฒนาคนที่มีคุณภาพเข้าสู่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้โดยตรง บัณฑิตที่จบใหม่ก็จะมีรายได้ มีอนาคต อัตราการว่างงานต่ำลง และยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้ก้าวไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 แล้วเราจะ “กล้า ก้าว ไกล ไปด้วยกัน”
#EEC #เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก #DemandDrivenEducation
ขอบคุณข้อมูลจาก
กระทรวงอุตสาหกรรม
www.eeco.or.th
www.salika.co