x close

I Am Plastic : ชุบชีวิตน้องพลาสติกช่วงโควิด 19

          เปิดใจน้องพลาสติกกับทางเดินชีวิตในช่วงโควิด 19 พร้อมเปลี่ยนความคิดปลุกชีพสู่ของมีค่า แล้วคุณจะรู้ว่า พวกเรายังสร้างประโยชน์ได้อีกเยอะ

          แม้ทั่วโลกจะรณรงค์ให้มีการกำจัดขยะพลาสติกอย่างถูกวิธี แต่ในช่วงที่โควิด 19 ระบาดและผู้คนยังต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้านนั้น อาจส่งผลให้ปริมาณการใช้พลาสติกเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากการสั่งอาหารเดลิเวอรี่หรือสั่งของออนไลน์ในทุก ๆ วัน ลองคิดภาพเล่น ๆ ดูว่า กว่าโควิดจะคลี่คลาย ภายในสิ้นปีนี้จะมีขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นกี่เท่าตัว
จำได้ไหม ? ฉันคือพลาสติก

          ยังจำกันได้ไหม ฉันเองไง “พลาสติก” เป็นปิโตรเคมีที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายและกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตมนุษย์มานาน แต่จะมีประโยชน์มากแค่ไหน สุดท้ายก็ต้องกลายเป็นขยะอยู่ดี ในเมื่อฉันถูกสังเคราะห์ขึ้นมาให้แข็งแรงทนทาน ก็ต้องแลกกับการใช้เวลาย่อยสลายที่นานนับร้อยปี การกำจัดพลาสติกอย่างถูกวิธีจึงเป็นทางเดียวที่จะป้องกันไม่ให้ฉันทำร้ายใคร 
 

I Am Plastic

          และในเมื่อผู้คนใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านจำเป็นต้องพึ่งพาบริการเดลิเวอรี่ ทั้งสั่งของออนไลน์และสั่งอาหาร ฉันจึงมีเพื่อนเพิ่มขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ พลาสติกห่อของ ใส่อาหาร ช้อน-ส้อม แก้วน้ำ ขวดน้ำ หลอด ถุง และพลาสติกอื่น ๆ นานาชนิด และตอนนี้พวกเขากำลังเคว้งคว้างเพราะอาจถูกเธอทิ้งขว้างกันไปแบบไม่ถูกวิธีนัก แล้วสุดท้ายพลาสติกอย่างเราจะทำอย่างไรดี
3R Forever ช่วยฉันให้กลายเป็นคนใหม่

          สร้างโลกใบใหม่ให้พลาสติกอย่างพวกฉันกลายเป็นขยะช้าลงได้ ด้วยหลัก 3R ที่คุ้นเคยกันมานาน นั่นก็คือ
 

1. Reduce (รีดิวซ์) ลดการใช้พลาสติกตั้งแต่ก่อนสั่ง เช่น ระบุให้ใส่ถุงหิ้วใบเดียว กดปฏิเสธไม่รับช้อน-ส้อม-หลอดพลาสติก หรืองดรับเครื่องปรุง หากไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อลดความฟุ่มเฟือย

2. Reuse (รียูส) นำพลาสติกใช้แล้วและยังใช้งานได้อยู่ กลับมาใช้ซ้ำแทนการใช้ของใหม่ เพื่อยืดระยะเวลาการเป็นขยะให้ช้าที่สุด เปลี่ยนพลาสติกที่กำลังจะเป็นขยะให้กลายเป็นของใช้ในบ้านได้อีกครั้ง

3. Recycle (รีไซเคิล) คือ การแยกพลาสติกที่ใช้งานไม่ได้แล้วส่งกลับไปยังโรงงานเพื่อผ่านกระบวนการทำเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ได้ วนกลับเข้าระบบและใช้งานได้ต่อไปเรื่อย ๆ ที่เรียกว่า Circular Economy สามารถเข้าไปดูประเภทขยะพลาสติกรีไซเคิลได้ที่ I Am Plastic : คำขอร้องจากน้องพลาสติก
 

ไอเดียเปลี่ยนเพื่อนฉันเป็นคนใหม่สู่ของใช้ง่าย ๆ ในบ้าน
          ลองมาดูไอเดียรียูสเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นของใช้หรือของตกแต่งบ้านเก๋ ๆ กันดีกว่า แล้วจะรู้ว่าพลาสติกอย่างพวกฉันมีประโยชน์อีกเยอะเลย 

1. พืชผักสวนขวด เทรนด์ฮิตของคนอยู่บ้าน

I Am Plastic

          ไอเดียยอดฮิตในยุคโควิด 19 กับการปลูกผักในขวดน้ำ เพียงนำขวดพลาสติกใส PET (สัญลักษณ์หมายเลข 1) ที่ดื่มจนเกลี้ยงแล้ว หรือแม้แต่ขวดพลาสติกชีวภาพ PLA มาปลูกผัก ทั้งปลูกแบบใส่น้ำ-ใส่ดิน ถ้ามีพื้นที่ไม่มาก ลองเจาะรูที่ขวดและผูกเชือกต่อกันเพื่อทำเป็นสวนแนวตั้ง ก็เริดไม่เบาเลยล่ะ (ดู วิธีปลูกผักในขวดพลาสติก << คลิก)
 

          นอกจากนี้ ขวดพลาสติกใส PET ก็ยังสามารถนำมา DIY เป็นกระเป๋าใส่เหรียญหรือของเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้อีกด้วย

I Am Plastic

2. แก้วเพาะชำพืชผัก

I Am Plastic

          แก้วพลาสติกสามารถนำมาเพาะต้นกล้าและปลูกผักในน้ำได้อีกหลายชนิด เช่น ผักชี หัวหอม ผักกาดขาว สะระแหน่ หรืออะโวคาโด ช่วยลดขยะ ประหยัดเงิน แถมมีผักสดไว้กินฟรีด้วย (วิธีปลูกผักสวนครัวในน้ำ) และมีอีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจคือ โครงการ “แก้วเพาะชำกล้าไม้” ของกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เมื่อต้นปีที่ผ่านมาได้ให้พนักงานส่งมอบแก้วกาแฟพลาสติก Café Amazon ใช้แล้วที่ย่อยสลายได้ไปเพาะกล้าไม้ โดยผู้ที่ร่วมโครงการจะได้รับแก้วต้นไม้พร้อมหูหิ้วคนละ 1 ใบ กลับไปปลูกที่บ้าน ถือเป็นการลดขยะพลาสติกและยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวไปในตัวด้วย
I Am Plastic

ภาพจาก โครงการ “แก้วเพาะชำกล้าไม้” ของกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

I Am Plastic

ภาพจาก Green for Life

          โดยแก้วเครื่องดื่มเย็น Amazon Bio Cup (Ingeo PLA) ของ Café Amazon เป็นแก้วกาแฟนวัตกรรมใหม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำจากวัสดุธรรมชาติ ผลิตจากเม็ดพลาสติกชีวภาพ ทำจากพืช ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 100% ในระยะเวลา 6-24 เดือน โดยอัตราเร็วของการสลายตัวขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ความชื้น รวมถึงขนาดและความหนาของพลาสติกด้วย สามารถดูผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ที่ GREEN FOR LIFE

3. กล่องใส่วิตามินจากถ้วยน้ำจิ้ม

I Am Plastic

          หากไม่อยากพกวิตามินกระปุกใหญ่ ๆ ไปไหนมาไหนให้กินพื้นที่ในกระเป๋า ลองนำถ้วยน้ำจิ้มพลาสติกมาล้างให้สะอาด แล้วไปตากให้แห้งสนิท ก่อนนำมาใส่วิตามินต่าง ๆ พกไว้ติดกระเป๋า ก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียชุบชีวิตพลาสติกให้กลายเป็นของที่เข้าท่าไม่น้อย

4. ของเล่นเด็ก สร้างจินตนาการ ปลูกฝังการรียูส

I Am Plastic

          พลาสติกที่ใช้แล้วอย่างช้อน ขวด และหลอด สามารถนำมาดัดแปลงทำเป็นของเล่นน่ารัก ๆ ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นช้อนตุ๊กตา เฮลิคอปเตอร์ นอกจากจะช่วยลดการทิ้งขยะพลาสติกได้แล้ว ยังถือเป็นการปลูกฝังลูก ๆ หลาน ๆ ให้รู้จักการรียูสพลาสติกไปในตัวอีกด้วย

5. โมเสกฝาขวดน้ำ สร้างจินตนาการ

I Am Plastic

          นำฝาขวดน้ำหลากสีมาเรียงเป็นภาพโมเสกสวย ๆ สร้างจินตนาการและฝึกสมาธิเหมือนการต่อจิ๊กซอว์ หรือนำมาเรียงต่อกันปูเป็นพื้นในสวนก็ยังได้
I Am Plastic

topimages / Shutterstock.com

          นี่เป็นเพียงไอเดียเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พอจะช่วยทำให้เธอหันมารียูสพลาสติกให้อยู่ในบ้านนานขึ้น แต่จะดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าฉันถูกนำไปรีไซเคิลให้มีชีวิตใหม่ที่งดงาม และยังเป็นการเพิ่มคุณค่าให้พลาสติกวนกลับมาทำประโยชน์ให้กับชาวโลกได้อีกครั้ง เช่น

ผนังแต่งร้านรูปนกมาคอว์จากแก้วกาแฟ Café Amazon

I Am Plastic

          ผนังตกแต่งร้านรูปนกมาคอว์ภายในร้าน Café Amazon Circular Living Concept at PTT Station สามย่าน ได้มาจากการนำแก้วกาแฟพลาสติกโพลีโพรพิลีน (PP) ของอเมซอน กว่า 5,000 ใบ ไปผ่านกระบวนการบดและหลอมจนเหลว แล้วใช้ความดันฉีดพลาสติกเข้าแม่พิมพ์รูปสามเหลี่ยม ก่อนนำมาจัดเรียงออกแบบเป็นผนังรูปนกมาคอว์

รีไซเคิลถุงพลาสติกกลับเข้าสู่ระบบอีกครั้ง

I Am Plastic

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Won

          ถุงหูหิ้วและฟิล์มถนอมอาหาร เป็นหนึ่งในพลาสติกที่มักจะถูกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) นอกจากจะนำถุงหูหิ้วมารียูสใช้เป็นถุงใส่ขยะได้แล้ว โครงการ “วน” ยังได้เปิดรับบริจาคนำไปรีไซเคิลกลับมาเป็นถุงพลาสติกได้ใหม่ หมุนเวียนอยู่ในระบบได้เรื่อย ๆ แทนการทิ้งให้กลายเป็นขยะออกสู่สิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สามารถเข้าไปดูรายละเอียดโครงการวน ได้ที่ เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/wontogether/
 
          โดย กลุ่ม ปตท. ได้มุ่งมั่นในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีความรับผิดชอบตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเช่นเดียวกัน จึงได้ติดตั้งจุดรับคืนถุงและฟิล์มพลาสติกสะอาด รวมทั้งหมด 6 พื้นที่ ประกอบด้วย ห้องโถงอาคาร 1 ปตท. สำนักงานใหญ่, อาคาร OR สำนักงานพระโขนง, อาคาร EnCO A และอาคาร EnCO B อาคารสโมสรพนักงาน, ศูนย์ปฏิบัติการชลบุรี และอาคาร CB สถาบันนวัตกรรม ซึ่งสามารถรวบรวมถุงและฟิล์มพลาสติกสะอาดได้กว่า 247 กิโลกรัม คิดเป็นปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 214 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าอีกด้วย (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2562)
I Am Plastic

กระเป๋าจากถุงหูหิ้วพลาสติก

I Am Plastic

          กระเป๋าใส่เหรียญจากการรีไซเคิลถุงพลาสติกโพลีเอทิลีน (PE) 100% จำนวน 2 ใบ ดีไซน์ให้มีความแตกต่างตามสีของถุงที่ใช้ และกระเป๋า Doitung x GC ส่วนผสมเส้นใยจากพลาสติกรีไซเคิลจากถุงพลาสติก 4 ใบ สานเป็นกระเป๋าลวดลายสวยงาม ทนทาน ใช้งานได้เป็นสิบปี
 
          ทั้งนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่อีกมากมายจากกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่นอกจากจะมีภารกิจในการดูแลความมั่นคงทางพลังงานแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยกันลดปัญหาขยะพลาสติก โดยการนำพลาสติกชนิดต่าง ๆ ไปรีไซเคิลกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง เช่น เฟอร์นิเจอร์และของแต่งร้าน Café Amazon Circular Living Concept at PTT Station สามย่าน, โครงการแก้วกาแฟเพาะชำกล้าไม้, การรีไซเคิลถุงพลาสติกในโครงการวน หรือการนำขยะพลาสติกมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น
 

          สัญญากันไหมว่าจะช่วยฟื้นฟูชีวิตใหม่ของพลาสติกอย่างพวกฉันให้กลับมามีประโยชน์อีกครั้ง สัญญาว่าจะไม่ทิ้งฉัน จะดูแลกันตลอดไป

ขอบคุณข้อมูลจาก
สภาอุตสาหกรรมพลาสติก, กรมควบคุมมลพิษ, I Am Plastic : ความในใจของน้องพลาสติก, I Am Plastic : คำขอร้องจากน้องพลาสติก, pttgcgroup, กรมประชาสัมพันธ์, gccircularlivingshop, เฟซบุ๊ก won, ตราสัญลักษณ์ GREEN FOR LIFE, แก้ว PLA - pttgcgroup, ฉลากรับรองผลิตภัณฑ์ GC Compostable, วิธีปลูกผักสวนครัวในน้ำ
 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
I Am Plastic : ชุบชีวิตน้องพลาสติกช่วงโควิด 19 อัปเดตล่าสุด 18 พฤษภาคม 2563 เวลา 08:55:34 13,259 อ่าน
TOP