

พลาสติกที่ขายได้ หรือพลาสติกรีไซเคิล จัดอยู่ในกลุ่มเทอร์โมพลาสติก ที่กำหนดขึ้นโดยสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งสหรัฐอเมริกา (The Society of the Plastics Industry, Inc.) มีทั้งหมด 7 ชนิด เพื่อให้ง่ายต่อการคัดแยกและนำไปแปรสภาพอย่างถูกต้องที่สุด ดังนี้
1. โพลีเอทิลีน เทอร์ฟะธาเลต (PET) : พลาสติกใส เนื้อเหนียว แข็งแรง ไม่แตกง่าย เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช
2. โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) : พลาสติกขุ่น ทึบ เนื้อหนาและเหนียว ทนกรด ทนด่าง ความหนาแน่นสูง เช่น ขวดน้ำกลั่น ขวดแชมพู ถุงพลาสติก ถุงขยะ
3. โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) : มีความแข็งแรงมาก ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอสมควร ป้องกันไขมันได้ดี เช่น ท่อประปา ฉนวนหุ้มสายไฟ
4. โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (LDPE) : โปร่งแสง มีปริมาตรสูงแต่ความหนาแน่นต่ำ เช่น ถุงใส่ของ ถุงซิปล็อก
5. โพลีโพรพิลีน (PP) : เบาที่สุด แต่มีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงกระแทก และความร้อนสูง เช่น ฝาขวด ขวดใส่ยา
6. โพลีสไตรีน (PS) : โปร่งใส เปราะบาง แต่ทนต่อกรดและด่าง ผลิตเป็นรูปต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ถ้วย จาน ชาม
7. พลาสติกอื่น ๆ (Other) : พลาสติกที่ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก เช่น โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate : PC) เป็นพลาสติกโปร่งใส มีความแข็งแรง ทนต่อความร้อน กรด และแรงกระแทกได้ดี เช่น ปากกา ขวดนมเด็ก หมวกนิรภัย
เมื่อได้รู้ว่าพลาสติกแบบไหนขายได้บ้างแล้ว ทีนี้ก็ไปดูกันต่อว่าก่อนจะนำไปขายมีขั้นตอนอย่างไร


***ข้อมูลจากสมาคมรีไซเคิลขยะและรับซื้อของเก่า ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2563***
ลองคำนวณเล่น ๆ ดูว่า หากเราเก็บพลาสติกเหล่านี้ที่มีแทบทุกบ้าน และใช้กันบ่อย ๆ เช่น เก็บแก้วใส PP ได้สัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม เดือนหนึ่งจะได้ 4 กิโลกรัม ขายได้ประมาณ 40 บาท ถ้าทำทุกเดือน ใน 1 ปี ก็จะมีเงินเข้ากระเป๋าอย่างน้อย 480 บาท หรือใครซื้อน้ำดื่มเป็นประจำ ให้ลองเก็บขวดใส PET และแกะฉลากออก สมมุติเก็บได้สัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม เดือนหนึ่งจะได้ 4 กิโลกรัม ขายได้ประมาณ 36 บาท ทำทุกเดือนเป็นเวลา 1 ปี ก็จะได้เงิน 430 บาท สะสมไปเรื่อย ๆ เก็บไว้ใช้จ่ายยามที่จำเป็นได้
งานนี้เรียกว่าได้ทั้งเงิน ได้ทั้งช่วยโลก ช่วยลดปริมาณขยะไปในตัว เพราะพลาสติกที่ขายจะถูกนำกลับไปรีไซเคิลต่อนั่นเอง ส่วนใครอยากรู้ว่าพลาสติกชนิดไหนขายได้เท่าไหร่บ้าง สามารถเข้าไปดูราคากลางได้ที่ สมาคมรีไซเคิลขยะและรับซื้อของเก่า


ภาพจาก gccircularlivingshop
เพราะการคัดแยกขยะที่ถูกต้องจะนำไปสู่การสร้างประโยชน์ได้อีกมากมายและจากหลักการ “NOTHING IS WASTED” ปตท. ได้นำเทคโนโลยี Blockchain ระบบ “SSHE TOKEN" (Touch Green) รณรงค์คัดแยกและแลกขยะรีไซเคิลลดภาวะโลกร้อน มาพัฒนาร่วมกับการจัดกิจกรรมคัดแยกขยะรีไซเคิลในพื้นที่ ปตท. ประกอบด้วย อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่, อาคารสำนักงานพระโขนง, สถาบันนวัตกรรม ปตท., ศูนย์ปฏิบัติการระบบท่อชลบุรี, โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง และคลังก๊าซเขาบ่อยา ทำให้ในปี 2562 สามารถนำขยะไปรีไซเคิลลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 16.566 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ซึ่งขยะรีไซเคิลที่ได้จะนำไปขายให้กับผู้ประกอบการรับรีไซเคิล และยังได้นำกล่องนมไปรีไซเคิลกับโครงการ "หลังคาเขียวเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก" และ ปตท. อยู่ระหว่างกำลังพัฒนาถังขยะอัจฉริยะ (Smart Bin) เพื่ออำนวยความสะดวกให้พนักงานแยกขยะได้ถูกต้อง และหากโครงการเหล่านี้ประสบความสำเร็จและถูกหยิบยกมาใช้ได้ในวงกว้าง เชื่อว่าจะสามารถนำมาต่อยอดให้คนไทยได้หันมาใส่ใจการแยกขยะมากขึ้นอย่างแน่นอน

ภาพตัวอย่างกิจกรรมรณรงค์คัดแยกและแลกขยะรีไซเคิลลดภาวะโลกร้อนของ ปตท. ในปีที่ผ่านมา


นวัตกรรมถังขยะอัจฉริยะ (Smart Bin) ต้นแบบ (ขอขอบคุณภาพจากทีมพัฒนาบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน))
เรียกได้ว่าเป็นการสร้างรายได้เสริมแบบง่าย ๆ ที่ควรค่าแก่การทดลอง เพราะน้องพลาสติกอยู่รอบ ๆ ตัวเรา หากรู้จักใช้เขาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็จะถือเป็นการช่วยโลก ช่วยลดปริมาณขยะ และช่วยให้ “มีเงิน” ติดกระเป๋าไปด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมควบคุมมลพิษ, กรมวิทยาศาสตร์บริการ, กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก, สมาคมรีไซเคิลขยะและรับซื้อของเก่า,
กรมควบคุมมลพิษ, GCcircularlivingshop, pttgcgroup, enchemcom1po, inno2u