บอร์ด สปสช. อนุมัติ เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ใช้สิทธิบัตรทองอีก 6 รายการ ครอบคลุม ปลูกถ่ายตับ-ตรวจยีนเกาต์-อุปกรณ์ปอด-หัวใจเทียม-ตรวจแล็บวัณโรค-คัดกรองการได้ยินเด็กแรกเกิด-ประสาทหูเทียม
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. เป็นประธาน มีมติเห็นชอบเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) อีก 6 รายการ ประกอบด้วย
1. การผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะสุดท้าย
คาดการณ์ความต้องการของผู้ป่วยอยู่ที่ปีละ 50 ราย แต่เบื้องต้นบอร์ด สปสช. ตั้งเป้านำร่องให้บริการปีละ 25 รายก่อน คิดเป็นงบประมาณ 17.5 ล้านบาท
2. การตรวจยีน HLA-B* 5801 ก่อนให้ยา Allopurinol ในผู้ป่วยโรคเกาต์รายใหม่
ซึ่งไทยมีผู้ป่วยเกาต์รายใหม่ปีละ 8,200 ราย คาดใช้งบประมาณสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการ ปีละ 8.2 ล้านบาท
3. รายการอุปกรณ์ Extracorporeal Membrane Oxygenator (ECMO) ในการรักษาภาวะหัวใจ และ/หรือ ปอดล้มเหลวเฉียบพลัน
คาดการณ์จำนวนผู้รับบริการตั้งต้นปีที่ 1 จำนวน 300 ราย ขณะที่ค่าใช้จ่ายในปีแรกคาดอยู่ที่จำนวน 26 ล้านบาท
4. การคัดกรองและวินิจฉัยวัณโรคด้วยการตรวจเอกซเรย์ปอดในทุกกลุ่มเสี่ยง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ได้แก่ ผู้สัมผัสวัณโรค ผู้ต้องขัง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุ จำนวน 1.098 ล้านราย คาดใช้งบประมาณทั้งสิ้น 725 ล้านบาท
5. การตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง
โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ที่ 30,434 คน ประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายไว้ 12.33 ล้านบาท
6. รายการอุปกรณ์ประสาทหูเทียมชนิด Rechargeable สำหรับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ที่มีระดับการได้ยิน 90 dB ขึ้นไป และไม่เคยฝึกภาษามือ
โดยคาดว่ามีกลุ่มเป้าหมายราว 33 คน ขณะนี้ สปสช. อยู่ระหว่างต่อรองราคาค่าประสาทหูเทียมให้ต่ำกว่าชุดละ 6 แสนบาท
นอกจากสิทธิประโยชน์ 6 รายการแล้ว บอร์ด สปสช. ได้เห็นชอบหลักการกรณีใช้น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน และสารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชัก และมะเร็งระยะท้าย วงเงิน 58.3 ล้านบาท ซึ่งจะนำเข้าสู่คณะกรรมการพัฒนายาหลักแห่งชาติต่อไป
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเหมือนของขวัญเพิ่มเติมสำหรับประชาชน นอกจากนโยบายยกระดับบัตรทองใน 4 บริการ ที่จะเริ่มใช้พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม 2564 ที่เป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลตั้งใจมอบให้ประชาชน วงเงิน 1,453 ล้านบาท
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. เป็นประธาน มีมติเห็นชอบเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) อีก 6 รายการ ประกอบด้วย
1. การผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะสุดท้าย
คาดการณ์ความต้องการของผู้ป่วยอยู่ที่ปีละ 50 ราย แต่เบื้องต้นบอร์ด สปสช. ตั้งเป้านำร่องให้บริการปีละ 25 รายก่อน คิดเป็นงบประมาณ 17.5 ล้านบาท
2. การตรวจยีน HLA-B* 5801 ก่อนให้ยา Allopurinol ในผู้ป่วยโรคเกาต์รายใหม่
ซึ่งไทยมีผู้ป่วยเกาต์รายใหม่ปีละ 8,200 ราย คาดใช้งบประมาณสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการ ปีละ 8.2 ล้านบาท
3. รายการอุปกรณ์ Extracorporeal Membrane Oxygenator (ECMO) ในการรักษาภาวะหัวใจ และ/หรือ ปอดล้มเหลวเฉียบพลัน
คาดการณ์จำนวนผู้รับบริการตั้งต้นปีที่ 1 จำนวน 300 ราย ขณะที่ค่าใช้จ่ายในปีแรกคาดอยู่ที่จำนวน 26 ล้านบาท
4. การคัดกรองและวินิจฉัยวัณโรคด้วยการตรวจเอกซเรย์ปอดในทุกกลุ่มเสี่ยง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยกลุ่มเสี่ยงวัณโรค ได้แก่ ผู้สัมผัสวัณโรค ผู้ต้องขัง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุ จำนวน 1.098 ล้านราย คาดใช้งบประมาณทั้งสิ้น 725 ล้านบาท
5. การตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง
โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ที่ 30,434 คน ประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายไว้ 12.33 ล้านบาท
6. รายการอุปกรณ์ประสาทหูเทียมชนิด Rechargeable สำหรับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ที่มีระดับการได้ยิน 90 dB ขึ้นไป และไม่เคยฝึกภาษามือ
โดยคาดว่ามีกลุ่มเป้าหมายราว 33 คน ขณะนี้ สปสช. อยู่ระหว่างต่อรองราคาค่าประสาทหูเทียมให้ต่ำกว่าชุดละ 6 แสนบาท
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเหมือนของขวัญเพิ่มเติมสำหรับประชาชน นอกจากนโยบายยกระดับบัตรทองใน 4 บริการ ที่จะเริ่มใช้พร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 มกราคม 2564 ที่เป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาลตั้งใจมอบให้ประชาชน วงเงิน 1,453 ล้านบาท