“วันกอด” เริ่มครั้งแรกในปี 1986 โดย เควิน ซาบอร์นีย์ (Kevin Zaborney) ซึ่งเป็นเพื่อนกับหลานสาวของเจ้าของ “Chase’s Calendar of Events” ปฏิทินบันทึกวันสำคัญแปลก ๆ ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยสาเหตุที่เขาเลือกปักวันที่ 21 มกราคม ก็เพราะเป็นช่วงระหว่างวันหยุดหน้าหนาวอย่างคริสต์มาส ปีใหม่ และวาเลนไทน์ ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกเหนื่อยหน่ายและไร้เรี่ยวแรง อีกทั้งเขายังรู้สึกว่าคนอเมริกันไม่ค่อยแสดงความรักในที่สาธารณะสักเท่าไร จึงอยากให้วันสำคัญวันนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้คนแสดงอารมณ์และรู้สึกผ่อนคลายกันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการกอดเป็นรูปแบบหนึ่งของการกระชับความสัมพันธ์และการสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ซึ่งก็แน่นอนว่าทุกอย่างเป็นไปตามที่เขาหวัง วันกอดกลายเป็นวันสำคัญยอดนิยม หลายคนชื่นชอบไอเดียนี้ โดยเฉพาะเด็กน้อยที่หลงใหลการกอดและการแสดงอารมณ์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันมีคนเข้าร่วมกิจกรรมในวันกอดกันมากมาย และมีการกอดกันในพื้นที่สาธารณะเพิ่มมากขึ้น ผู้คนใช้การกอดเพื่อทักทาย บอกลา ปลอบใจ แสดงความเข้าใจ และแสดงความยินดีกับคนอื่น นอกจากนี้ไอเดียนี้ยังถูกส่งต่อไปทั่วโลก เพราะอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ทำให้การกอดและวันกอดเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง จนมีกิจกรรมการกุศลอย่างกอดฟรี (Free Hugs) ในหลาย ๆ ประเทศเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม แม้การกอดและวันกอดจะได้รับการยอมรับในวงกว้างแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นดีเห็นงามด้วย ดังนั้น ก่อนจะกอดเพื่อแสดงความรู้สึกกับใคร ต้องขออนุญาตและได้รับการยินยอมเสมอ เนื่องจากบางคนอาจจะรู้สึกไม่สบายใจกับการกระทำนี้ได้ ทั้งนี้ หากพบว่าใครไม่สะดวกกอดก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะกอดกับเขา เปลี่ยนมาปลอบประโลมด้วยวิธีอื่น เช่น คำพูดหรือการกระทำแทน
สำหรับที่มาที่ไปของคำว่า “กอด” หรือ “Hug” ในภาษาอังกฤษ ว่ากันว่ามาจากคำว่า “Hugga” ในภาษานอร์สโบราณ (Old Norse) ที่หมายความว่า “การปลอบประโลม” ซึ่งปรากฏครั้งแรกเมื่อประมาณ 450 ปีที่แล้วนั่นเอง
- ในช่วงปี 1560 คำว่า “Hug” ถูกนำมาใช้เป็นคำศัพท์แปลว่ากอด โดยคาดว่ามาจากคำว่า “Hugga” ในภาษานอร์สโบราณ (Old Norse)
- ในปี 1986 วันกอด (National Hugging Day) ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยบริษัทประชาสัมพันธ์แห่งหนึ่งในเมืองดีทรอยต์ (Detroit) อ้างว่าถูกจัดขึ้นในวันที่ 21 มกราคม 1986 ในเมืองคลีโอ รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ในปี 2011 วันกอด (National Hugging Day) ถูกพูดถึงและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเยอรมนี
- ในปี 2012 คริสต์ คริสตีส์ (Chris Christie) และ บารัค โอบามา (Barack Obama) กอดเพื่อแบ่งปันความรู้สึกกันในการไปเยือนนิวเจอร์ซีย์ หลังพายุเฮอริเคนแซนดี้ ถือเป็นอ้อมกอดทางการเมืองที่หาดูได้ยาก
แน่นอนว่าการกอดเป็นการแสดงความรักและความห่วงใย สามารถกอดได้หลายท่าทาง กอดได้หลายคน ทั้งกอดคนรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนรัก ครอบครัว ญาติพี่น้องต่าง ๆ โดยให้คิดว่าเรารู้สึกอย่างไรกับคนที่กอด แล้วก็กอดเพื่อแสดงความรู้สึกนั้นออกไป หรือจะกอดคนแปลกหน้าผ่านการ Free Hugs เพื่อช่วยบำบัดความรู้สึกทั้งเขาและเราก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ในวันนี้ผู้คนมักจะอนุญาตและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ไม่ใช่แค่นั้น แต่ในวันสำคัญแบบนี้อย่าลืมกอดตัวเองเพื่อเป็นการชื่นชมและบอกรักตัวเองไปในตัว รวมถึงเป็นการย้ำเตือนให้เราหันมาใส่ใจดูแลตัวเอง และยังถือเป็นการกอดในแบบที่ตัวเองต้องการ ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่มีใครกอดเราแบบนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการกอดคนใกล้ตัวแล้ว หลายหน่วยงานก็ยังมีการจัดงานเกี่ยวกับการกอดและวันกอดด้วย โดยอาจจะเป็นการเชิญชวนให้เข้าร่วมเพื่อตระหนักถึงความสำคัญของการกอด หรือไม่ก็เป็นการแข่งขันกอดท่าต่าง ๆ เช่น กอดจากข้างหลัง (Back to Front Hug) กอดแบบหมี (Bear Hug) หรือกอดด้วยแก้ม (Cheek Hug) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีผู้เข้าร่วมแข่งขันจากทั่วทุกมุมโลกเลยล่ะ
1. การกอดช่วยเพิ่มความสบายใจ
2. การกอดเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ
3. การกอดช่วยบรรเทาความกลัว
1. กอด 12 ครั้งต่อวัน
2. กอดลดความเครียดได้ 32%
3. กอด 20 วินาที
“วันกอด” หรือ “วันกอดแห่งชาติของสหรัฐฯ” เป็นวันสำคัญที่ดีงามและทำตามไม่ยากเลย ซึ่งในช่วงโควิดนี้ หากใครต้องเว้นระยะห่างและไม่อยากกอดใคร ให้ลองเริ่มต้นง่าย ๆ ที่กอดตัวเองก็ได้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
daysoftheyear, nationaltoday