พม่ารัฐประหาร หรือ รัฐประหารในประเทศเมียนมา นำโดย พล.อ.มิน อ่อง หล่าย มีการเข้าจับกุม ออง ซาน ซูจี แกนนำพรรค NLD ประกาศตั้ง มิน ส่วย อดีตนายพล ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราว พร้อมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 1 ปี
ภาพจาก STR / AFP
นายวิน มินต์ และ นางออง ซาน ซูจี
นายวิน มินต์ และ นางออง ซาน ซูจี
กลายเป็นกระแสข่าวร้อนที่ถูกจับตาในขณะนี้ (1 กุมภาพันธ์ 2564) สำหรับกรณี เมียนมา หรือ พม่ารัฐประหาร โดยกองทัพเข้าควบคุมตัว นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) พร้อมด้วยแกนนำคณะรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ของพรรค ซึ่งสถานการณ์ยังคงมีความคืบหน้าออกมาให้เกาะติดอย่างต่อเนื่อง ดังจะสามารถสรุปเหตุการณ์ได้ดังนี้
ภาพจาก STR / AFP
ถนนในย่างกุ้งไร้รถสัญจร หลังทหารก่อรัฐประหาร
- สัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตถูกตัดในเมียนมา
- สถานีโทรทัศน์ของรัฐถูกปิดกั้น สามารถเข้าถึงได้เฉพาะช่อง Myawaddy ของกองทัพเท่านั้น
- นายเมียว ยอน โฆษกพรรค NLD ยืนยันข่าวทหารเข้าจับกุม นางออง ซาน ซูจี พร้อมแกนนำพรรคคนอื่น ๆ โดยคาดว่าทหารอาจบีบให้ทางพรรคมอบอำนาจให้
ภาพจาก AFP PHOTO / MYANMAR RADIO AND TELEVISION VIA AFPTV
กองทัพเมียนมา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 1 ปี
กองทัพเมียนมา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 1 ปี
- มิน ส่วย มอบอำนาจแก่หัวหน้ากองทัพ โดยกองทัพจะใช้อำนาจบริหารภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นระยะเวลา 1 ปี
- สหรัฐฯ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กองทัพเมียนมาปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุม ยืนยันให้การสนับสนุนประชาธิปไตยในเมียนมา พร้อมคัดค้านความพยายามเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น โดยจะจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
- ผู้คนแห่เข้าคิว ถอนเงินจากตู้ ATM ท่ามกลางสถานการณ์รัฐประหารเมียนมา
- ประชาชนหวั่นใจไม่กล้าออกจากบ้าน ทำให้ถนนในย่างกุ้งช่วงเช้าวันจันทร์ ว่างเปล่าไร้รถสัญจร ต่างจากสถานการณ์ปกติที่มีการจราจรหนาแน่น
ภาพจาก STR / AFP
กลุ่มคนงานยืนอออยู่ข้างถนน บริเวณไซต์งานก่อสร้างที่ถูกปิดในย่างกุ้ง หลังเกิดรัฐประหาร
กลุ่มคนงานยืนอออยู่ข้างถนน บริเวณไซต์งานก่อสร้างที่ถูกปิดในย่างกุ้ง หลังเกิดรัฐประหาร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง