วิษณุ ชี้ชัดตราครุฑพ่าห์ มีกฎหมายคุ้มครอง หลังต่างชาติโฆษณาขายรองเท้าแปะตราครุฑ-แผนที่ลายธงชาติไทย จนเกิดดราม่าสนั่นโซเชียล
จากกรณีโซเชียลเผยภาพรองเท้าของแบรนด์เสื้อผ้าดังทำคอลเล็กชั่นใหม่ รองเท้าลายแผนที่ประเทศไทย พร้อมมีรูปพญาครุฑที่รองเท้า ซึ่งทำให้หลายคนมองว่าไม่เหมาะสม จนเกิดกระแสการถกเถียงเป็นวงกว้างในโลกออนไลน์ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
อ่านข่าว : ระอุ.. แฉร้านค้าขายรองเท้ามีตราครุฑ ลายธงชาติไทย จวกสนั่นไม่เหมาะสม
ภาพจาก รัฐบาลไทย
ล่าสุด วันที่ 16 มีนาคม 2564 สำนักข่าวไทย รายงานว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ให้สัมภาษณ์กระแสดราม่าบนโลกออนไลน์ที่แบนรองเท้ายี่ห้อหนึ่งที่มี "ตราครุฑพ่าห์" ติดอยู่ว่า หากนำมาเผยแพร่ในประเทศไทยก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายครุฑพ่าห์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่คุ้มครองและมีผลบังคับใช้สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า ใครที่จะใช้เครื่องหมายครุฑพ่าห์ หากไม่ใช่หน่วยราชการจะต้องขออนุญาตจากสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะมีคณะกรรมการพิจารณาอนุญาตโดยเฉพาะ
ส่วนกรณีที่ผู้กระทำผิดอยู่ต่างประเทศนั้น เป็นลักษณะเดียวกับการกระทำความผิดในต่างประเทศ หากได้ตัวมาจึงจะดำเนินคดี แต่ที่ดูจากข่าวก็ยังไม่มีความชัดเจนว่ามีการผลิตสินค้าออกมาจริง หรือทำเป็นตัวอย่างเล่น ๆ เพียง 1 ชิ้น แต่สุดท้ายไม่ส่งของให้ผู้ซื้อจริง ๆ เหมือนการหลอกเอาเงิน ทั้งนี้ หากมีผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวแล้วนำมาใส่ในประเทศไทยก็ไม่มีความผิด ผิดเฉพาะผู้ทำขึ้นมาเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย
จากกรณีโซเชียลเผยภาพรองเท้าของแบรนด์เสื้อผ้าดังทำคอลเล็กชั่นใหม่ รองเท้าลายแผนที่ประเทศไทย พร้อมมีรูปพญาครุฑที่รองเท้า ซึ่งทำให้หลายคนมองว่าไม่เหมาะสม จนเกิดกระแสการถกเถียงเป็นวงกว้างในโลกออนไลน์ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
อ่านข่าว : ระอุ.. แฉร้านค้าขายรองเท้ามีตราครุฑ ลายธงชาติไทย จวกสนั่นไม่เหมาะสม
ภาพจาก รัฐบาลไทย
ล่าสุด วันที่ 16 มีนาคม 2564 สำนักข่าวไทย รายงานว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ให้สัมภาษณ์กระแสดราม่าบนโลกออนไลน์ที่แบนรองเท้ายี่ห้อหนึ่งที่มี "ตราครุฑพ่าห์" ติดอยู่ว่า หากนำมาเผยแพร่ในประเทศไทยก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายครุฑพ่าห์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่คุ้มครองและมีผลบังคับใช้สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า ใครที่จะใช้เครื่องหมายครุฑพ่าห์ หากไม่ใช่หน่วยราชการจะต้องขออนุญาตจากสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะมีคณะกรรมการพิจารณาอนุญาตโดยเฉพาะ
ส่วนกรณีที่ผู้กระทำผิดอยู่ต่างประเทศนั้น เป็นลักษณะเดียวกับการกระทำความผิดในต่างประเทศ หากได้ตัวมาจึงจะดำเนินคดี แต่ที่ดูจากข่าวก็ยังไม่มีความชัดเจนว่ามีการผลิตสินค้าออกมาจริง หรือทำเป็นตัวอย่างเล่น ๆ เพียง 1 ชิ้น แต่สุดท้ายไม่ส่งของให้ผู้ซื้อจริง ๆ เหมือนการหลอกเอาเงิน ทั้งนี้ หากมีผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวแล้วนำมาใส่ในประเทศไทยก็ไม่มีความผิด ผิดเฉพาะผู้ทำขึ้นมาเท่านั้น