BTS ออกหนังสือแจงสาเหตุค่าโดยสารสายสีเขียวแพง เพราะ กทม. ติดหนี้ค่าจ้างเดินรถ 3 หมื่นล้าน ทวงแล้วยังไม่มีใครจ่าย
ภาพจาก Earth exmphoto / Shutterstock.com
วันที่ 8 เมษายน 2564 เฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ออกหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง การเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยมีใจความดังนี้
- รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาภาระหนี้สิน โดย กทม. แบกรับค่าก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและมีค่าโดยสารไม่สูงจนเกินไป รวมทั้งสิ้นกว่าแสนล้านบาท ซึ่งทางคณะกรรมการแก้ไขปัญหาได้เสนอให้เอกชนรับภาระหนี้สินทั้งหมดกว่าแสนล้านบาทไปจากรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ซึ่งข้อเสนอนี้ยื่นต่อ ครม. แล้ว แต่ยังไมได้รับความเห็นชอบ
- กทม. โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด
ไม่ได้จ่ายค่าจ้างเดินรถจนเป็นหนี้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 จำนวน 9,608
ล้านบาท และหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ 20,768 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นประมาณ 3
หมื่นล้านบาท
- บริษัทฯ ยื่นทวงถามหนี้แล้ว แต่ยังไม่มีใครชำระหนี้
- บริษัทพยายามร่วมรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา แต่เหมือนมีปัญหาภายในที่ไม่สามารถก้าวล่วงได้ ประกอบกับมีบุคคลบางกลุ่มอาจต้องการไม่ให้เรื่องดังกล่าวได้รับการแก้ไข และพยายามสร้างประเด็นขึ้นมาต่อต้านคัดค้าน โดยไม่สนใจว่าปัญหาจะสร้างความเดือดร้อนในอนาคต
- ยืนยันว่าจะทำหน้าที่ให้บริการระบบขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน แต่ปัญหาตอนนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ ลำพัง บริษัทฯ ไม่สามารถแก้ไขให้ประสบความสำเร็จได้ สุดท้ายอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส
ภาพจาก Earth exmphoto / Shutterstock.com
วันที่ 8 เมษายน 2564 เฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ออกหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง การเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยมีใจความดังนี้
- รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาภาระหนี้สิน โดย กทม. แบกรับค่าก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและมีค่าโดยสารไม่สูงจนเกินไป รวมทั้งสิ้นกว่าแสนล้านบาท ซึ่งทางคณะกรรมการแก้ไขปัญหาได้เสนอให้เอกชนรับภาระหนี้สินทั้งหมดกว่าแสนล้านบาทไปจากรัฐบาลและกรุงเทพมหานคร ซึ่งข้อเสนอนี้ยื่นต่อ ครม. แล้ว แต่ยังไมได้รับความเห็นชอบ
- บริษัทฯ ยื่นทวงถามหนี้แล้ว แต่ยังไม่มีใครชำระหนี้
- บริษัทพยายามร่วมรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา แต่เหมือนมีปัญหาภายในที่ไม่สามารถก้าวล่วงได้ ประกอบกับมีบุคคลบางกลุ่มอาจต้องการไม่ให้เรื่องดังกล่าวได้รับการแก้ไข และพยายามสร้างประเด็นขึ้นมาต่อต้านคัดค้าน โดยไม่สนใจว่าปัญหาจะสร้างความเดือดร้อนในอนาคต
- ยืนยันว่าจะทำหน้าที่ให้บริการระบบขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน แต่ปัญหาตอนนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ ลำพัง บริษัทฯ ไม่สามารถแก้ไขให้ประสบความสำเร็จได้ สุดท้ายอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชน
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก รถไฟฟ้าบีทีเอส