จีนรายงานยืนยันเคสผู้ป่วย ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H10N3 ในมนุษย์รายแรกของโลก เป็นชายวัย 41 ปี ชี้ ไม่ใช่สายพันธุ์รุนแรง
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ภาพจาก Fotokon / Shutterstock.com
วันที่ 1 มิถุนายน 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า คณะกรรมการสาธารณสุขแห่งชาติปักกิ่ง (National Health Commission หรือ NHC) ของประเทศจีน รายงานว่า ชายวัย 41 ปี จากเมืองเจิ้นเจียง ในมณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน ได้รับการยืนยันว่า เป็นผู้ป่วยรายแรกของโลก ที่ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H10N3
- ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H10N3 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
- ผู้ที่มีการติดต่อหรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยอยู่ระหว่างการสังเกตอาการ แต่ไม่พบว่ามีการติดเชื้อเพิ่มเติม
- ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนอาการทรงตัว และพร้อมที่จะออกจากโรงพยาบาล
- NHC ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ชายผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อมาได้อย่างไร
- ไข้หวัดนกในประเทศจีนมีอยู่หลายสายพันธุ์ และพบว่ามีการติดเชื้อในคนเป็นระยะ ๆ
- ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า H10N3 สามารถแพร่กระจายได้ง่ายในมนุษย์
- ไข้หวัดนก H10N3 ไม่ใช่สายพันธุ์รุนแรง
- H10N3 เป็นสายพันธุ์ไวรัสในสัตว์ปีกที่ทำให้เกิดโรคในระดับต่ำ หรือค่อนข้างรุนแรงน้อย
- NHC ระบุว่า H10N3 ไม่ใช่ไวรัสสายพันธุ์ทั่วไป และความเสี่ยงที่จะแพร่ระบาดในวงกว้างนั้นต่ำมาก
- มีรายงานพบเชื้อไวรัส H10N3 ในสัตว์ปีก เพียง 160 ตัว ในช่วง 40 ปี จนถึงปี 2561 ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในนกป่าหรือนกน้ำ ฝั่งเอเชียและบางส่วนของอเมริกาเหนือ
- จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการตรวจพบในสัตว์ประเภทไก่
- จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม เพื่อตรวจสอบว่าไวรัสชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับไวรัสตัวเก่า หรือเป็นการผสมผสานของไวรัสที่แตกต่างกัน
- ก่อนหน้านี้มีการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ในมนุษย์ คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 300 ราย ในช่วงปี 2559-2560
ขอบคุณข้อมูลจาก reuters, mothership
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ภาพจาก Fotokon / Shutterstock.com
ไข้หวัดนก H10N3 ติดเชื้อได้อย่างไร ไม่เผยแน่ชัด
- ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านมา หลังจากมีไข้และมีอาการอื่น ๆ ตามมา
- ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H10N3 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
- ผู้ที่มีการติดต่อหรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยอยู่ระหว่างการสังเกตอาการ แต่ไม่พบว่ามีการติดเชื้อเพิ่มเติม
- ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนอาการทรงตัว และพร้อมที่จะออกจากโรงพยาบาล
- NHC ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ชายผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อมาได้อย่างไร
ที่มาของไข้หวัดนก H10N3
- ผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนก H10N3 รายนี้ เป็นกรณีการติดเชื้อในมนุษย์รายแรกของโลก ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีรายงาน
- ไข้หวัดนกในประเทศจีนมีอยู่หลายสายพันธุ์ และพบว่ามีการติดเชื้อในคนเป็นระยะ ๆ
- ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า H10N3 สามารถแพร่กระจายได้ง่ายในมนุษย์
ไข้หวัดนก H10N3 คือ
- ไข้หวัดนก H10N3 ไม่ใช่สายพันธุ์รุนแรง
- H10N3 เป็นสายพันธุ์ไวรัสในสัตว์ปีกที่ทำให้เกิดโรคในระดับต่ำ หรือค่อนข้างรุนแรงน้อย
- NHC ระบุว่า H10N3 ไม่ใช่ไวรัสสายพันธุ์ทั่วไป และความเสี่ยงที่จะแพร่ระบาดในวงกว้างนั้นต่ำมาก
- มีรายงานพบเชื้อไวรัส H10N3 ในสัตว์ปีก เพียง 160 ตัว ในช่วง 40 ปี จนถึงปี 2561 ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในนกป่าหรือนกน้ำ ฝั่งเอเชียและบางส่วนของอเมริกาเหนือ
- จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการตรวจพบในสัตว์ประเภทไก่
- จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม เพื่อตรวจสอบว่าไวรัสชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับไวรัสตัวเก่า หรือเป็นการผสมผสานของไวรัสที่แตกต่างกัน
- ก่อนหน้านี้มีการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ในมนุษย์ คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 300 ราย ในช่วงปี 2559-2560