รู้ไว้ได้ประโยชน์ กับสัญญาณขอความช่วยเหลือแบบต่าง ๆ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเมื่อตกอยู่ในอันตราย

สัญญาณ SOS เป็นคำส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือคับขัน ใช้ในการขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยเป็นส่วนหนึ่งของรหัสมอร์ส (Morse Code) ซึ่งเป็นรหัสสัญญาณสั้น-ยาว ที่ใช้แทนตัวอักษรในการส่งข้อความหากัน แต่เดิมใช้กับเครื่องส่งโทรเลข เพื่อการส่งข้อความถึงกันในระยะทางไกล ๆ เพราะทำได้รวดเร็วกว่าการส่งจดหมาย
1. สัญญาณมือขอความช่วยเหลือ
- หงายฝ่ามือออกหาคนอื่น
- พับนิ้วโป้งเข้าฝ่ามือ
- พับนิ้วที่เหลือทั้ง 4 มากุมนิ้วโป้งไว้ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้คนสังเกตเห็น

2. สัญญาณขอความช่วยเหลือเมื่อหลงป่า
- ถ้าอยู่ในที่โล่งที่สามารถก่อกองไฟได้ ให้รีบหาไม้แห้งมาก่อกองไฟ เพื่อส่งสัญญาณควัน หรือถ้าใครมีพลุควันก็สามารถจุดเพื่อส่งสัญญาณได้

-
หากมีกระจกติดตัว และเป็นช่วงเวลากลางวัน ให้ใช้กระจกส่องสะท้อนกับแสงของดวงอาทิตย์ โดยส่องและปิดเป็นจังหวะสั้น ยาว สั้น ครั้งละ 3 ครั้ง

-
ตอนกลางคืนก็สามารถส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้ด้วยการตั้งคบเพลิงจุดไฟแล้ววางเป็นรูปสามเหลี่ยม
-
ลองหาพื้นที่โล่ง ๆ และเรียงลูกไม้ เปลือกไม้ หรือก้อนหิน เป็นตัวอักษร SOS เพื่อส่งสัญญาณว่าเรากำลังต้องการความช่วยเหลืออยู่

3. สัญญาณขอความช่วยเหลือเมื่อติดถ้ำหรืออยู่ในที่แคบ
- ผิวปาก 3 ครั้ง เพื่อส่งสัญญาณแจ้งว่าเรากำลังอยู่ตรงนี้ ไม่นิยมตะโกนส่งเสียงหรือโห่ร้อง เพราะจะยิ่งเกิดเสียงสะท้อน ทำให้ไม่สามารถระบุถึงพื้นที่ได้ชัดเจน
- ใช้หินขีดเขียนสัญลักษณ์ SOS ไว้ที่ผนังถ้ำเพื่อขอความช่วยเหลือ
- ใช้แสงไฟจากไฟฉาย หรือโทรศัพท์ โดยใช้มือบังแสงไว้ เป็นจังหวะสัญญาณสั้น ยาว สั้น จังหวะละ 3 ครั้ง

4. สัญญาณขอความช่วยเหลือเมื่อติดเกาะ

5. สัญญาณขอความช่วยเหลือกรณีรถเสียกลางทาง

6. สัญญาณขอความช่วยเหลือด้วยคำพูดรหัสลับ

ภาพจาก nationalpubwatch.org.uk
โดยแคมเปญนี้จะเป็นลักษณะของป้ายประกาศเล็ก ๆ แปะไว้ในห้องน้ำหญิงของสถานประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศอังกฤษ และแคมเปญนี้ก็ได้จุดประกายให้มีการรณรงค์ในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน ซึ่งรหัสได้เปลี่ยนไปเป็น “Angela Shot” และมีคำอื่น ๆ ต่อท้าย เช่น “Neat (เรียบร้อย” หมายถึง ให้พาไปที่รถ, “On the Rock (เหล้าออนเดอะร็อก)” หมายถึง ให้เรียกแท็กซี่ และ “With a Lime (กับมะนาว)” หมายถึง ให้เรียกตำรวจ เป็นต้น

เมื่อเกิดเหตุด่วนเหตุร้าย หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น สิ่งที่ควรทำที่สุดคือ ตั้งสติ แล้วโทรศัพท์แจ้งหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งเราได้รวบรวมเบอร์โทรศัพท์สายด่วนสำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉินมาให้ ดังนี้
เบอร์ฉุกเฉินเหตุด่วนเหตุร้าย
-
191 ติดต่อแจ้งเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ
-
192 ภัยพิบัติแห่งชาติ
-
199 ศูนย์วิทยุพระราม เพื่อแจ้งอัคคีภัย/สัตว์ร้ายบุกรุกบ้าน
-
1418 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง กทม.
-
1155 ตำรวจท่องเที่ยว (สายด่วนเหตุร้ายที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว)
-
1192 ศูนย์ปราบขโมยรถ (สตช.)
-
1193 ตำรวจทางหลวง
-
1195 กองปราบปราม (สายด่วนแจ้งเหตุอาชญากรรม คดีร้ายแรงเป็นภัยต่อประเทศ)
-
1555 ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพฯ (หน่วยประสานงานกลางเหตุฉุกเฉินในกรุงเทพฯ)
-
1300 ศูนย์ประชาบดี เพื่อแจ้งบุคคลสูญหาย
เบอร์โทร. ฉุกเฉินด้านการแพทย์
-
1196 เมื่อพบเจออุบัติเหตุทางน้ำ
-
1554 หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล
-
1646 ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์
-
1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ทั่วไทย) เมื่อเจอเหตุด่วนเหตุร้ายหรือผู้ได้รับบาดเจ็บ
-
1691 โรงพยาบาลตำรวจ
เบอร์โทร. ฉุกเฉินเกี่ยวกับการเดินทาง
-
1137 วิทยุ จส.100 (เบอร์โทร. ฉุกเฉินแจ้งเหตุด่วนบนท้องถนนเพื่อประสานงานต่อ)
-
1146 กรมทางหลวงชนบท (ติดต่อเรื่องท้องถนนเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัด)
-
1197 ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจรตำรวจ
-
1644 สวพ. FM91 (รายงานสภาพจราจรและแจ้งเหตุด่วนบนท้องถนน)
-
1356 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม (ศูนย์ประสานภารกิจด้านความปลอดภัยระบบการขนส่ง)
-
1690 การรถไฟแห่งประเทศไทย (สอบถามสายรถไฟ ตั๋ว และอื่น ๆ )
-
1584 กรมการขนส่งทางบก
-
1586 สายด่วนกรมทางหลวง
-
1543 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
-
1677 วิทยุร่วมด้วยช่วยกัน (เครือข่ายอาสาสมัคร)
-
1490 บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
-
1348 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
เบอร์โทร. ฉุกเฉินเกี่ยวกับโควิด 19
-
1668 กรมการแพทย์ ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีเตียงรักษา และรับคำแนะนำการปฏิบัติตัว
-
1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ช่วยหาเตียงให้ผู้ป่วย และรับคำแนะนำการปฏิบัติตัว หรือตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลบัตรทองและประกันสังคม
-
1323 สายด่วนสุขภาพจิต ขอคำแนะนำเมื่อเกิดภาวะเครียด
-
1111 ศูนย์บริการข้อมูลสอบถามติดตามสถานการณ์โควิด 19 และขอคำแนะนำหรือร้องเรียนในช่วงวิกฤตโควิด 19
-
1422 กรมควบคุมโรค สอบถามสถานการณ์ของการระบาดโควิด 19
-
1506 สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม และขอรับเงินชดเชยการว่างงานช่วงโควิด 19
-
1556 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หากพบผู้ประกอบการจำหน่ายเจลล้างมือ สบู่ล้างมือ หรือหน้ากากอนามัยที่ไม่ได้คุณภาพ
-
1569 กรมการค้าภายใน เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าและบริการในช่วงโควิด 19