นายมานะ ชายวัย 64 ปี บาดเจ็บหนักถูกกระสุนยางยิงที่ศีรษะขณะกลับบ้านที่แฟลตดินแดง เสียชีวิตแล้ว หลังป่วยติดเตียงมากว่าครึ่งปี
ภาพแทน ภาพจาก Adirach Toumlamoon / Shutterstock.com
วันที่ 6 มีนาคม 2565 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า วานนี้ (5 มีนาคม 2565) นายมานะ หงษ์ทอง ชายวัย 64 ปี ซึ่งถูกยิงด้วยกระสุนยางเข้าที่ศีรษะขณะเดินทางกลับแฟลตดินแดง ระหว่างมีชุมนุมที่ดินแดงเมื่อ 15 สิงหาคม 2564 เสียชีวิตลงแล้ว หลังป่วยติดเตียงมากว่าครึ่งปี
กรณีดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 นายมานะ ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน บริเวณแฟลตดินแดง กรุงเทพฯ โดยที่นายมานะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมในวันนั้น แต่เหตุเกิดในขณะที่นายมานะกำลังเดินทางเข้าที่พักในแฟลตดินแดง ปรากฏว่านายมานะถูกกระสุนยางยิงมาเข้าที่บริเวณศีรษะของจนได้รับอันตรายสาหัสและต้องเข้ารับการรักษาตัวนานกว่าครึ่งปี ก่อนจะมีรายงานว่า เขาเสียชีวิตลงเมื่อวานนี้ (5 มีนาคม)
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 สมาคมนักฎหมายสิทธิมนุษยชน มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมและศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิของประชาชนจากการสลายการชุมนุมของ คฝ. กรณีของมานะ ซึ่งต้องติดตามความคืบหน้าต่อไป
สำหรับ นายมานะ ถือเป็นประชาชนรายที่ 2 ที่เสียชีวิต หลังเกิดกรณี วาฤทธิ์ สมน้อย เยาวชนอายุ 15 ปี ที่ถูกยิงบริเวณย่านดินแดง ช่วงเดือนสิงหาคมปี 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
ภาพแทน ภาพจาก Adirach Toumlamoon / Shutterstock.com
วันที่ 6 มีนาคม 2565 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า วานนี้ (5 มีนาคม 2565) นายมานะ หงษ์ทอง ชายวัย 64 ปี ซึ่งถูกยิงด้วยกระสุนยางเข้าที่ศีรษะขณะเดินทางกลับแฟลตดินแดง ระหว่างมีชุมนุมที่ดินแดงเมื่อ 15 สิงหาคม 2564 เสียชีวิตลงแล้ว หลังป่วยติดเตียงมากว่าครึ่งปี
กรณีดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 นายมานะ ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน บริเวณแฟลตดินแดง กรุงเทพฯ โดยที่นายมานะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมในวันนั้น แต่เหตุเกิดในขณะที่นายมานะกำลังเดินทางเข้าที่พักในแฟลตดินแดง ปรากฏว่านายมานะถูกกระสุนยางยิงมาเข้าที่บริเวณศีรษะของจนได้รับอันตรายสาหัสและต้องเข้ารับการรักษาตัวนานกว่าครึ่งปี ก่อนจะมีรายงานว่า เขาเสียชีวิตลงเมื่อวานนี้ (5 มีนาคม)
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 สมาคมนักฎหมายสิทธิมนุษยชน มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมและศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิของประชาชนจากการสลายการชุมนุมของ คฝ. กรณีของมานะ ซึ่งต้องติดตามความคืบหน้าต่อไป
สำหรับ นายมานะ ถือเป็นประชาชนรายที่ 2 ที่เสียชีวิต หลังเกิดกรณี วาฤทธิ์ สมน้อย เยาวชนอายุ 15 ปี ที่ถูกยิงบริเวณย่านดินแดง ช่วงเดือนสิงหาคมปี 2564
ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน